fbpx

Author Archives: GRANTScreativeWe40

5 INTERIOR DOOR TIPS ข้อควรรู้ก่อนกั้นห้องใหม่

5 INTERIOR DOOR TIPS ข้อควรรู้ก่อนกั้นห้องใหม่

หลากหลายเหตุผลที่ทำให้คนเราอยากปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในบ้านไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่จะเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งาน การมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น หรือการเปลี่ยนพื้นที่การอยู่อาศัยเดิมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น การกั้นพื้นที่หรือกั้นห้องเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มักเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพราะการกั้นห้องจะช่วยแบ่งขอบเขตของพื้นที่ให้มีสัดส่วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยภายในบ้านอีกด้วย ซึ่ง INTERIOR DOOR เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการนำมาใช้กั้นห้องเพราะนอกจากจะช่วยจัดสรรพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนแล้ว ยังทำให้บ้านดูโปร่งสบายไม่ทึบตันเหมือนการก่อผนังทึบหรือกั้นด้วยผนังเบา แต่จะมีสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการกั้นห้องอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีความรู้ดีๆมาฝากกัน1. GOOD VENTILATION

กั้นแล้วยังต้องระบายอากาศได้ดี

ห้องที่ดีควรมีการไหลเวียนหรือการถ่ายเทของอากาศที่ดี โดยการเลือกวัสดุที่นำมาใช้สำหรับกั้นห้องก็ควรเลือกตัวบานที่เป็นบานเลื่อนแบบกระจก  เพราะนอกจากจะช่วยให้ภายในห้องดูโปร่งโล่งมากกว่าการกั้นห้องแบบทึบแล้วยังสามารถเปิดรับลมได้ง่ายให้อากาศร้อนหรืออากาศเสียภายในห้องได้มีการถ่ายเทสู่ภายนอกและเปิดรับอากาศที่บริสุทธิ์กว่าเข้าไปแทนที่

Photo by Alex Perz on Unsplash  

2. GOOD NATURAL LIGHT

มีแสงธรรมชาติที่ยังคงส่องถึง

สำหรับแสงสว่างในห้องนั้นเป็นอีกส่วนสำคัญที่เราควรใส่ใจเวลาจะกั้นห้อง เพราะแสงสว่างสามารถสร้างบรรยากาศของห้องให้น่าอยู่มากขึ้น  โดยแสงที่นำมาใช้ภายในห้องไม่ได้มีเพียงแสงจากหลอดไฟหรือดวงโคมต่าง ๆ เท่านั้น แต่แสงจากธรรมชาติก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการทำให้บรรยากาศภายในห้องน่าอยู่มากขึ้น การเลือกใช้วัสดุที่นำมากั้นห้องจึงต้องมีลักษณะโปร่งแสงเพื่อที่จะทำให้มีแสงจากภายนอกส่องเข้ามาในตอนกลางวันอย่างเพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งหลอดไฟ ซึ่งถือเป็นการช่วยประหยัดไฟได้มากขึ้นอีกด้วย

Photo by Western Window Systems  

3. GOOD CIRCULATION

เว้นพื้นที่ทางเดินให้เหมาะสม

  โดยขนาดของทางเดินในบ้านโดยทั่วไปจะมีขนาดความกว้างไม่ต่ำกว่า 1 เมตร แต่ในห้องที่มีขนาดเล็กอาจต้องเว้นทางเดินให้มีขนาดตามความเหมาะสมของขนาดห้อง  แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ควรเว้นพื้นที่ให้แคบเกินไป เพราะจะทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกติดขัดหรืออึดอัดเวลาเข้าไปใช้งานจริง  ดังนั้นหน้าบานที่นำมากั้นห้องจึงควรเลือกใช้บาน INTERIOR ที่เป็นกระจกเพื่อทำให้ทางเดินรู้สึกกว้างขึ้นและสามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอกได้อย่างลงตัว

Photo by Nastuh Abootalebi on Unsplash

4. GOOD FUNCTION

ฟังก์ชัน การใช้งานต้องดีขึ้น

การใช้วัสดุในการกั้นห้องควรคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้ใช้งานเป็นหลัก  ตัวบาน INTERIOR มีฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะกับผู้อยู่อาศัยทุกเพศทุกวัย โดยตัวบานเลื่อนมีชุดล้อแขวนด้านบน ทำให้ไม่มีรางบนพื้นมาขวางทางในการเดินเข้าออกห้อง  เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ภายในห้องและยังสามารถตอบสนองการใช้งานได้กับทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ  เด็กเล็ก หรือรวมไปถึงผู้พิการที่ต้องใช้ไม้เท้าหรือรถเข็นในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน  

5. GOOD PRIVACY

เพิ่มความเป็นส่วนตัวภายใน

การกั้นห้องนอกจากจะช่วยแบ่งสัดส่วนภายในบ้านให้ชัดเจนขึ้นแล้วยังสามารถสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยภายในห้องได้ ซึ่งการใช้บาน INTERIOR ในการกั้นห้องเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สามารถเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยได้ดี โดยมีอุปกรณ์เสริมอย่างซอฟต์โคลสที่ช่วยให้การเปิดปิดประตูไม่เกิดเสียงดังรบกวนผู้อยู่อาศัย และยังมีตัวล็อคที่ฝังอยู่ในเฟรม ช่วยให้พื้นที่ส่วนตัวนี้มีความปลอดภัยมากขึ้นจากการรบกวนของบุคคลภายนอก และตัวกระจกที่มีความโปร่งใสยังสามารถสร้างบรรยากาศพื้นที่ในบ้านให้เชื่อมต่อกันและสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี

รู้จัก GRANTS ให้มากขึ้น ด้วยโครงสร้างภายในที่ทำให้แข็งแรง

รู้จัก GRANTS ให้มากขึ้น ด้วยโครงสร้างภายในที่ทำให้แข็งแรง

ถ้าพูดถึง GRANTS โปรดักต์รุ่นเรือธงของทอสเท็ม สิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงคือเรื่องความแข็งแรง เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า หากเป็นอาคารสูงที่ต้องทนกับการปะทะกับแรงลมและสภาพอากาศบนที่สูงก็จะแนะนำให้ใช้รุ่น GRANTS เป็นหลัก รวมทั้งอาคารที่อยู่ท่ามกลางสภาวะอากาศแปรปรวนอย่างริมทะเล หรือจะเป็นบ้านเรือนปกติก็เลือกใช้รุ่นนี้ได้ด้วยข้อดีในเรื่องความแข็งแรงทนทาน เราจึงอยากพาคุณมาทำความรู้จักกรอบบานอะลูมิเนียมรุ่น GRANTS ให้มากขึ้น ว่าอะไรคือโครงสร้างที่อยู่เบื้องหลังความแข็งแรง พร้อมความสวยงาม จนได้รับความไว้วางใจเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในงานสถาปัตยกรรมของอาคารที่อยู่อาศัยหลายแห่งในเมืองไทย

Overlapping Meeting Stile

คู่ชนกลางบานเลื่อนแบบสลิม

ด้วยดีไซน์เพื่อความแข็งแรงในส่วนคู่ชนกลางบานเลื่อนโดยยังคงรูปลักษณ์ที่สวยงามให้กับกรอบบานประตูหน้าต่างแบบบานเลื่อน จึงถูกออกแบบให้ซ้อนตัวเข้าหากันแบบสลิม เมื่อประกบเข้าหากันแล้วจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ไปพร้อมกับความแข็งแรงจากโครงสร้างภายในที่ถูกออกแบบมาอย่างดี  

Double Barrier Drainage System

ระบบป้องกันน้ำ ชั้น

กรอบบานทุกส่วนถูกออกแบบเพื่อให้ความแข็งแรงและคงรูปมาพร้อมกับประสิทธิภาพการใช้งานที่เต็มที่ ส่วนโปรไฟล์ล่างก็เช่นเดียวกัน งานออกแบบระบบกันน้ำสองชั้นที่ซ่อนอยู่ภายในตัวกรอบบานด้านล่างช่วยให้การระบายน้ำทำได้ดีกว่า โดยยังคงรูปลักษณ์ที่เรียบร้อยสวยงาม

กำลังสร้างบ้าน……ควรเลือกประตูหน้าต่างตอนไหน?

กำลังสร้างบ้าน……ควรเลือกประตูหน้าต่างตอนไหน?

การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังหนึ่งนอกจากจะต้องมีความพร้อมเรื่องงบประมาณแล้ว ขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างบ้านก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทางเจ้าของบ้านไม่ควรละเลยเพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบจากผู้รับเหมา การเลือกประตูและหน้าต่างก็เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่เจ้าของบ้านก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกใช้วัสดุ สี หรือลักษณะต่าง ๆ ของประตูและหน้าต่างให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ โดยความจริงแล้วการเลือกประตูหน้าต่างไม่ได้มีขั้นตอนที่ตายตัวเจ้าของบ้านสามารถเลือกประตูหน้าต่างได้ตั้งแต่ขั้นตอนไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นตอนที่มีแพลนว่ากำลังจะสร้างบ้าน ตอนออกแบบ หรือจะเป็นตอนที่โครงสร้างบ้านเสร็จเกือบหมดแล้วก็สามารถเลือกได้แล้วแต่ความสะดวกของเจ้าของบ้าน โดยแต่ละขั้นตอนจะมีข้อดีและข้อควรพิจารณาที่ต่างกันไป

Photo by Milivoj Kuhar on Unsplash

เลือกระหว่างออกแบบ

การเลือกประตูและหน้าต่างระหว่างการออกแบบบ้านคือการเลือกขนาดประตูหน้าต่างให้มีความเหมาะสมหรือให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ เพื่อให้ช่างหรือผู้รับเหมาสามารถเว้นช่องเปิดเพื่อติดวงกบได้ตามขนาดที่กำหนดไว้ โดยขนาดประตูบานเดี่ยวตามมาตรฐานจะมีความสูง 200 cm. และความกว้างอยู่ที่ 80 , 90 cm. และหน้าต่างจะมีขนาดบานคู่ตามตราฐานอยู่ที่ความสูง 100 cm. และความกว้างอยู่ที่ 60 cm.

Photo by Sven Mieke on Unsplash

เมื่อโครงสร้างบ้านเสร็จและเว้นช่องเปิดไว้

ในกรณีนี้สำหรับบานประตูหน้าต่างที่เป็นอะลูมิเนียม อย่างบานประตูหน้าต่างของ Tostem ที่เป็นระบบ Prefabrication คือทำเสร็จจากโรงงาน พร้อมนำมาประกอบที่หน้างานได้เลย  โดยเมื่อวัดขนาดพื้นที่เสร็จและเจ้าของบ้านก็ทำการเลือกรูปแบบการใช้งานว่าจะเป็นบานเลื่อน บานเปิด หรือบานกระทุ้งรวมไปถึงการเลือกรุ่นให้เหมาะสมกับการใช้งานและงบประมาณ  เมื่อเลือกครบแล้วผู้แทนจำหน่ายก็จะส่งข้อมูลไปที่โรงงานให้ทำการผลิตเป็นเวลา 30-45 วัน และพร้อมติดตั้งหน้างานได้เลยโดยไม่ต้องรอให้ติดตั้งวงกบเสร็จ  

เมื่อมีแพลนจะสร้างบ้าน

การเลือกประตูหน้าต่างสามารถเลือกได้ตั้งแต่ตอนที่มีแพลนที่สร้างบ้านได้เลยโดยสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลของแบบประตูหน้าต่างได้ที่โชว์รูม ข้อดีของการไปที่โชว์รูมนอกจากจะมีรูปแบบที่หลากหลายให้เลือกแล้ว เรายังได้เห็นและสัมผัสกับวัสดุจริงที่นำมาทำเป็นประตูหน้าต่างช่วยเพิ่มจินตนาการให้เจ้าของบ้านได้ว่าประตูแบบนี้ทำจากวัสดุนี้จะเหมาะกับบ้านท่านไหม นอกจากนั้นยังมีเวลาในการศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาของประตูหน้าต่างแต่ละรุ่นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

สะดวก ปลอดภัย ใช้พื้นที่ได้เต็มประสิทธิภาพ ด้วยธรณีประตูแบบเรียบ

สะดวก ปลอดภัย ใช้พื้นที่ได้เต็มประสิทธิภาพ ด้วยธรณีประตูแบบเรียบ

ประตู คือส่วนประกอบสำคัญของบ้านที่ใช้กั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนเพิ่มความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ด้วยลักษณะการใช้งานที่หลากหลาย การออกแบบประตูจึงมีให้เลือกหลายประเภท เช่น ประตูบานพับ ประตูบานม้วน ประตูบ้านเฟี้ยม ประตูบานเลื่อน ฯลฯ สำหรับประตูประเภทหนึ่งที่ใช้กันมากในบ้าน คอนโด รวมถึงร้านขายของ ออฟฟิศ และสำนักงาน ก็คือ ประตูบานเลื่อนรางแขวน ซึ่งเป็นประตูเลื่อนที่ไม่ธรณีประตู ไม่มีรางขวางบนพื้น ทำให้พื้นเรียบไร้สิ่งกีดขวาง ประตูแบบนี้มีข้อดีอย่างไร ทำไมจึงเป็นตัวเลือกยอดนิยม วันนี้ทอสเท็ม (TOSTEM) มีคำตอบมาให้

ทำความสะอาดง่าย 

ห้องที่ใช้ประตูบานเลื่อนรางแขวน นอกจากจะลดการสะสมของสิ่งสกปรกบริเวณรางเลื่อนลงได้แล้ว ยังทำความสะอาดพื้นได้ง่ายกว่าห้องที่ใช้ประตูบานเลื่อนทั่วไปอีกด้วย เพราะไม่มีบานเลื่อนมากั้นให้การกวาดถูไม่ต้องสะดุด และในส่วนรางเลื่อนซึ่งมักทำจากวัสดุอลูมิเนียม ก็สามารถทำความสะอาดง่าย ใช้แค่น้ำยาเช็ดกระจกก็เพียงพอแล้ว  

ปลอดภัยกับเด็กและผู้สูงอายุ

หมดปัญหาการเดินสะดุดธรณีประตู หากคุณใช้ประตูบานเลื่อนรางแขวน และที่สำคัญ ยังเหมาะกับการใช้งานในห้องที่มีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ เพราะสามารถเข็นรถเข็นหรือเข็นเตียงได้สะดวก ไร้รอยต่อ ไม่ต้องกลัวสะดุดล้ม  

ใช้พื้นที่ได้เต็มประสิทธิภาพ 

หากใช้ประตูบานเลื่อน เราจะไม่เสียพื้นที่ในการเปิด-ปิดประตู เหมือนกับการใช้ประตูที่มีลักษณะแบบบานสวิง ซึ่งจะกินพื้นที่ในขณะใช้งานอย่างน้อย 80 เซนติเมตร แต่กับประตูบานเลื่อน เราสามารถใช้พื้นที่ใกล้ประตูในการจัดเก็บหรือจัดวางสิ่งอื่นๆ ได้ ยิ่งเป็นแบบบานเลื่อนรางแขวน ยิ่งให้พื้นที่ที่กว้างขวางกว่าเดิม

7 ข้อควรรู้ ก่อนทำประตูบานเลื่อนแบบเปิดสุด

7 ข้อควรรู้ ก่อนทำประตูบานเลื่อนแบบเปิดสุด

เรื่องของการวัดขนาดความกว้างของช่องเปิดที่ต้องการเปิดออกให้สุด เพื่อจะได้เลือกขนาดและบานเลื่อน เป็นรูปแบบของกรอบบานประตูในฝันของหลายๆ คน นั่นก็เพราะข้อดีในเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าด้วยกันได้สมบูรณ์ และเรียบร้อยสวยงาม เช่นนั้นแล้ว ก่อนที่จะเลือกบานเลื่อนแบบเปิดสุดมาใช้ มีเรื่องไหนที่ควรรู้เกี่ยวกับตัวบาน และการจะติดตั้งบานแบบนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องไหนบ้าง เรารวบรวมมาให้เรียบร้อยแล้วในบทความนี้

1 ระบบรางยึดที่มั่นคง

เพราะบานประตูหน้าต่างของบานเลื่อนแบบเปิดสุดส่วนใหญ่มีระยะทางที่ต้องเลื่อนสำหรับเปิดปิดที่ยาว ข้อควรคิดถึงอย่างแรกเลยคือ อุปกรณ์ประกอบหน้าบานจะต้องแข็งแรงทุกส่วน ตั้งแต่ส่วนนอกบานอย่างรางเลื่อนบน-ล่าง ไปจนถึงการยึดตรึงหน้าบานเข้ากับส่วนประกอบต่างๆ อย่างมั่นคง เพียงพอที่จะรับน้ำหนักของหน้าบานและแรงของการเลื่อนเปิด-ปิดได้ หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การเลือกอุปกรณ์หน้าบานและการติดตั้งที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อรองรับการใช้งานได้ตลอดอายุของบาน  

2 รางเลื่อนส่วนล่าง เปิดกว้างในระดับดีเทล

Photo by Michael Browning on Unsplash

รายละเอียดเล็กน้อยอย่างรางเลื่อนส่วนล่างก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้บานเลื่อนแบบเปิดสุดสามารถเปิดกว้างทั้งทางมุมมองการมองเห็นและฟังก์ชันการใช้งาน โดยการทำให้พื้นทั้งสองฝั่งเรียบเสมอกัน ไม่มีสิ่งใดสะดุดหรือขวางกั้น อาจจะใช้การฝังรางเลื่อนลงในพื้น หรือจะใช้เป็นการแขวนกับรางบนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงของอุปกรณ์ที่สามารถรับน้ำหนักของหน้าบานทั้งบานบวกกับแรงกระแทกจากการเปิดปิดได้ รวมทั้งตัวรางที่จะต้องลื่น รวมทั้งรางบน-วงกบ-เสาเอ็น ทำระนาบขนานกับพื้น และเข้ามุมฉากพอดี  

3 ระนาบหัวใจสำคัญของบานเลื่อน

การเลื่อนเปิดปิดหน้าบานประตูนั้น สมดุลเป็นเรื่องสำคัญ การเตรียมพื้นที่หน้างานก่อนการติดตั้งให้ได้ระนาบในทุกมิติจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งระนาบในแนวดิ่ง แนวราบ มุมฉาก 90 องศาครบทุกมุม โดยเฉพาะการเลื่อนเปิดปิดแบบสุดที่จะต้องเลื่อนเป็นระยะทางยาว ระนาบที่ได้ระดับจะช่วยถนอมรักษารางเลื่อนและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ให้ยาวนานตลอดอายุการใช้งาน  

4 ความกว้างของช่องเปิด กับหน้าบานที่เหมาะสม

ต่อมาก็เป็นเรื่องของการวัดขนาดความกว้างของช่องเปิดที่ต้องการเปิดออกให้สุด เพื่อจะได้เลือกขนาดและจำนวนของหน้าบานประตูที่ต้องใช้ได้อย่างพอเหมาะพอดี เพราะหากบานกว้างไปก็จะมีเรื่องการรับน้ำหนักและแรงกระแทก หรือหากบานแคบไป ก็อาจดูอึดอัดไม่สบายตา หากความกว้างของช่องเปิดอยู่ที่ไม่เกิน 3.5 เมตร สามารถใช้บานเลื่อนแบบ 2 บานบน 2 ราง, ความกว้างของช่องเปิดไม่เกิน 5.5 เมตร สามารถใช้แบบ 3 บานบน 3 รางหรือ 4 บานบน 2 รางได้ และที่ความกว้างของช่องเปิดไม่เกิน 6 เมตร ควรใช้แบบ 6 บาน บน 3 ราง  

5 บานประตูแบบซ่อนในผนัง

ภาพจาก thespruce.com / decorpad.com

สำหรับคนที่วางแผนอยากทำบานที่เลื่อนเปิดแล้วซ่อนในผนังหรือ Pocket Door แนะนำให้คิดตั้งแต่ช่วงขั้นตอนการออกแบบ ก่อนเริ่มวางแผนก่อสร้าง เพราะมีเรื่องต้องคำนึงถึงตั้งแต่เรื่องการเบิ้ลผนังให้ได้ความหนาและความกว้างของช่องผนังกับของบานประตูที่จะต้องซ่อนเข้าไป การซ่อนวงกบเข้าไปในผนัง หรือการซ่อนฝังรางเลื่อนบนให้แนบเนียนไปกับพื้นผิวรอบข้าง เพื่อให้เก็บหน้าบานและเก็บงานได้เรียบร้อยสวยงาม รวมไปถึงการติดตั้งตัวหยุดบานในพื้นที่การหยุดหน้าบานที่เหมาะสม  

6 หลายบานเลื่อนรวบไปเก็บทีเดียว

วิธีการเปิดหน้าบานให้สุดอีกแบบ คือการเลื่อนหน้าบาน ไม่ว่าจะเป็น 2, 3, 4 หรือ 6 หน้าบานเข้าไปเก็บที่ผนังด้านใดด้านหนึ่ง สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือรูปแบบของรางล่างที่ต้องจำนวนรางต้องรองรับกับจำนวนหน้าบาน จึงควรเลือกรูปแบบรางล่างตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง ว่าจะเป็นรางล่างแบบฝังลงในพื้น หรือแบบวางบนพื้น แต่ที่สำคัญคือต้องทำความสะอาดง่าย ระบายน้ำฝนได้ดี เพราะรางล่างมักมีปัญหาของฝุ่นหรือน้ำฝนลงไปกักขัง ยิ่งจำนวนรางมาก ก็ต้องทำความสะอาดมากขึ้นด้วย  

7 บานเลื่อนคู่เข้ามุม

ภาพ Bob Gundu

เปิดรับทัศนวิสัยให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ด้วยการใช้บานเลื่อนเปิดออกจากมุมไปเก็บกับด้านผนัง โครงสร้างของเสาเอ็นและทับหลังของกรอบบานจะต้องคำนวณสำหรับการติดตั้งบานเลื่อนเข้ามุมโดยเฉพาะ จุดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือจุดที่ชนกันตรงมุมของบานประตูทั้งสอง อุปกรณ์ประกอบจะต้องแข็งแรง และควรติดตั้งยางกันกระแทกเพื่อลดแรงลง พร้อมกับเพื่อปิดซีลหน้าบานให้แน่นสนิท รวมทั้งตัวรางควรเลือกให้เหมาะสมพอดีกับประตู เพื่อที่หน้าบานจะได้ไม่แกว่งเวลาเลื่อนเปิด หรือกระแทกกันแรงเกินไปเมื่อเลื่อนปิด

HOW-TO เช็คกรอบบานประตูหน้าต่างด้วยตัวเองหลังงานติดตั้ง

HOW-TO เช็คกรอบบานประตูหน้าต่างด้วยตัวเองหลังงานติดตั้ง

การติดตั้งกรอบบานประตูหน้าต่างเป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านรอคอย นั่นก็เพราะสิ่งที่เราเลือกสรรถูกติดตั้งลงบนพื้นที่จริงพร้อมใช้งาน ดังนั้น ก่อนทำการส่งมอบงานหลังการติดตั้ง หากเจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบเช็ครายละเอียดได้ด้วยตัวเองแล้ว ก็เป็นการรีเช็คอีกครั้งหนึ่งให้แน่ใจ หากพบข้อผิดพลาดตรงไหนจะได้รีบแก้ไขซ่อมแซมก่อนที่กรอบบานประตูหน้าต่างจะถูกใช้งานจริง เราจึงทำเช็คลิสต์ง่ายๆ สำหรับเช็คกรอบบานประตูหน้าต่างหลังงานติดตั้ง ที่เจ้าของบ้านสามารถเช็คได้ด้วยตัวเองมาฝากกัน

ตรวจสอบกรอบบาน

ขั้นตอนแรกที่ควรทำตั้งแต่ก่อนทำการติดตั้งกรอบบานประตูหน้าต่างก่อนติดตั้งบนพื้นที่งานจริง นั่นคือการเช็คสภาพของกรอบ โดยทั่วไปแล้วกรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็มจะมีการติดฟิล์มป้องกันรอยบนผิวของกรอบบานก่อนการติดตั้ง และจะทำการลอกออกหลังจากการส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัสดุกรอบบานมาตรฐานจากโรงงานส่งถึงมือผู้ใช้งานในคุณภาพสากลระดับเดียวกัน  

ตรวจสอบรอยต่อ

ทั้งการตรวจสอบรอยยาแนว รอยต่อต่างๆ ของตัวกรอบบานเอง

– ยาแนวเช็คดูว่ารอยต่อระหว่างกรอบบานหน้าต่างกับผนัง เรียบร้อยเสมอกันทั้งหมด ไม่มีรอยช่องว่างอากาศหรือเส้นยาแนวที่ขาดช่วง

– รอยต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของกรอบบานประตูหน้าต่าง ตรวจเช็คว่าประกบกันแน่นสนิทหรือไม่ น็อตหรือสกรูของแต่ละส่วนขันแน่นแข็งแรงดี ติดอุปกรณ์ประกอบครบทุกชิ้นส่วน  

ตรวจสอบการใช้งาน

หลังจากตรวจงานภายนอกเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องทดลองใช้งานกรอบบานประตูหน้าต่างจริงๆ ส่วนที่จำเป็นต้องเช็ค ได้แก่

– การใช้งานได้เปิดปิดได้สะดวก หรือติดขัดฝืดตรงไหน

– เช็คดูมือจับ บานพับ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ว่าติดตั้งเรียบร้อยครบถ้วนทุกจุด

– หน้าบานกับกรอบบานเปิด-ปิด สนิทกันลงตัวพอดีหรือไม่

ตรวจสอบความสะอาด

ขั้นตอนท้ายสุดก่อนทำการส่งมอบงานจากช่างถึงมือลูกค้า นั่นคือการตรวจสอบความสะอาดบริเวณโดยรอบพื้นที่ติดตั้งว่ามีการทำความสะอาดดี หรือสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ส่วนอื่นของบ้านหรือไม่ ทำการตรวจสอบตั้งแต่จุดเล็กที่สุดอย่างความสะอาดของพื้นผิวรอยต่อ ไปจนถึงพื้นและผิวผนังบริเวณพื้นที่หน้างาน รวมทั้งการทำความสะอาดกรอบบานประตูหน้าต่างหลังการติดตั้งเรียบร้อย จึงสามารถส่งมอบงานได้อย่างสบายใจทั้งตัวช่างเองและเจ้าของบ้าน