fbpx

Author Archives: GRANTScreativeWe40

EXION OFFICE BUILDING สถาปัตยกรรมเคลื่อนที่ ด้วยไดนามิกจากเส้นสายโฉบเฉี่ยว

EXION OFFICE BUILDING สถาปัตยกรรมเคลื่อนที่ ด้วยไดนามิกจากเส้นสายโฉบเฉี่ยว

Location : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย Owner : บริษัท เอ็กซิออน (ประเทศไทย) จำกัด Architect : I Like Design Studio โดย คุณณฤชา คูวัฒนาภาศิริ

แน่นอนว่าหนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำงานให้มีประสิทธิภาพนั้นเกิดจากบรรยากาศในที่ทำงานที่เอื้อต่อการทำงาน ทั้งเรื่องของสภาพแวดล้อม อาคารที่มีความสวยงาม ฟังก์ชันที่ถูกออกแบบอย่างเป็นสัดส่วน ความปลอดภัยไปจนถึงพื้นที่สีเขียวที่สร้างความผ่อนคลายให้กับพนักงาน ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทเอ็กซิออน (ประเทศไทย) จำกัด จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วในการขยายสำนักงานเพื่อสร้างพื้นที่และบรรยากาศที่ดีสำหรับพนักงาน รวมไปถึงยังตั้งใจให้เป็นอาคารสำหรับต้อนรับและติดต่อธุรกิจ ด้วยวัตุประสงค์นี้ทำให้การออกแบบอาคารจึงเน้นไปที่ความสวยงามไปพร้อมๆ กับฟังก์ชัน

คุณณฤชา คูวัฒนาภาศิริ ผู้ออกแบบจาก I Like Design Studio จึงนำความต้องการของทางลูกค้าและปัจจัยทางออกแบบมาตีความในเชิงออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งรวมไปถึงผสมผสานหลักความเชื่อของซินแส โดยเริ่มจากการวางตำแหน่งอาคารตามลักษณะที่ดินซึ่งประกอบด้วยสี่เหลี่ยมจัตุรัสและสี่เหลี่ยมคางหมูมาต่อกัน ตัวอาคารที่เกิดขึ้นจากลักษณะที่ดินจึงแบ่งออกเป็นสองก้อน ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยรวมกันกว่า 2,000 ตร.ม. และแบ่งพื้นที่ชั่น 1 สำหรับจอดรถโดยเฉพาะ ส่วนตัวอาคารก็ออกแบบให้เชื่อมต่อกันด้วยคอร์ทขนาดใหญ่บริเวณชั้นสอง ซึ่งผู้ออกแบบได้คำนึงถึงฟังก์ชั่นและขนาดพื้นที่ไปพร้อมๆ กัน จึงลงตัวที่ที่อาคาร A (อาคารที่สูงกว่า) จะเป็นส่วนของสำนักงาน ห้องประชุมย่อยและพื้นที่ของผู้บริหาร ส่วนทางด้านอาคาร B จะเป็นห้องสัมนาขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถรับวิวคอร์ทส่วนกลางได้ชัดเจน ห้องสันทนาการต่างๆ ของพนักงาน ทั้งห้องดนตรีไปจนถึงฟิตเนสขนาดใหญ่ที่ทางบริหารเล็งเห็นว่าฟังก์ชั่นเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพนักงานในการพักผ่อน

เมื่อขนาดพื้นที่และฟังก์ชั่นลงตัวแล้ว ผู้ออกแบบจึงออกแบบให้ภายนอกอาคารเสมือนถูกเส้นเฉียงสุดโฉบเฉี่ยวห่อหุ้มเอาไว้ และบิดลดทอนอาคาร B ทางด้านหน้าเล็กน้อย เพื่อสร้างมุมมองที่สวยงามให้อาคาร A อีกทั้งยังเพื่อให้เส้นเฉียงที่เกิดขึ้นเป็นสัญลักษณ์และแสดงถึงไดนามิกที่กำลังเคลื่อนไหว โดยแต่ละเส้นจะทำมุมและเชื่อมต่อกันทั้งสองอาคาร เพื่อสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อ โดยทางผู้ออกแบบตั้งใจเว้นจังหวะของเส้นเฉียงบริเวณมุมทางเข้าอาคาร เพื่อเป็นจุดนำสายตาและเป็นการดึงแสงธรรมชาติเข้ามาใช้บริเวณโถงขนาดใหญ่ สร้างความรู้สึกผ่อนคลายสำหรับผู้ใช้พื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันหากมองจากภายนอกก็จะตื่นตาตื่นใจกับตัวอาคารและสเปซที่มองทะลุได้จากภายใน

ส่วนทางด้านวัสดุที่ทางลูกค้าชัดเจนมาตั้งแต่ต้นว่าให้เน้นไปทางสัจจะวัสดุ เพื่อความเรียบง่ายและดูสุขุม ทางผู้ออกแบบจึงเลือกใช้ปูนเปลือย เหล็ก กระจกและไม้บางส่วนสำหรับการออกแบบภายใน ภาพรวมของอาคารจึงสุขุม เน้นความเรียบง่ายจากสีสันที่แท้จริงของวัสดุเป็นสำคัญ ซึ่งความตรงไปตรงมาของวัสดุนี้เองที่ไปขับเน้นให้เส้นสายทางสถาปัตยกรรม

รวมไปถึงช่องเปิดของอาคารโดดเด่นขึ้นมา เกิดเป็นองค์ประกอบที่ลงตัวซึ่งกันและกันโดยเฉพาะกับมุมมองบริเวณมุมอาคารที่พื้นที่ด้านในเป็นโถงสูง ส่วนภายนอกเลือกใช้การกรุกระจกในวงกบอะลูมิเนียมสีดำเต็มความสูง เพื่อประโยชน์ทางด้านฟังก์ชั่นและความสวยงามในเวลาเดียวกัน ซึ่งทางผู้ออกแบบเองตั้งใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ TOSTEMด้วยกันสองรุ่น คือ WE70 และ WE PLUSเนื่องจากมั่นใจถึงคุณภาพเป็นสำคัญ

“สินค้าแบรนด์ TOSTEM คุณภาพดีอยู่แล้ว หากมีโอกาสได้ใช้ก็อยากใช้ นอกจากเรื่องกระจกแล้วดีเทลของเฟรมอะลูมิเนียมก็ดี ใครมาเห็นก็สัมผัสได้ว่าของดีคุณภาพสมราคา ตอนนำเสนอ TOSTEM กับลูกค้าครั้งแรก ลูกค้าก็ถูกใจเลย อย่างโปรเจกต์ XION OFFICE BUILDING นี้บริเวณภายนอกเราก็เลือกใช้ TOSTEM ด้วยรูปแบบของการออกแบบและเส้นสายที่พิเศษเนื่องจากเป็นมุมมองสำคัญของโครงการทาง TOSTEM ก็ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคมาให้คำปรึกษาที่หน้างานเลย ดูแลทั้งเรื่องของการออกแบบและติดตั้งจนโครงการแล้วเสร็จไปได้ด้วยดี ” คุณณฤชา คูวัฒนาภาศิริ สถาปนิกจาก I Like Design Studio ผู้ออกแบบโครงการ

ขอขอบคุณ

บริษัท เอ็กซิออน (ประเทศไทย) จำกัด

คุณณฤชา คูวัฒนาภาศิริ สถาปนิกจาก I Like Design Studio

หลากรูปแบบประตูหน้าบ้าน ตอบความต้องการดีไซน์-ฟังก์ชั่น

หลากรูปแบบประตูหน้าบ้าน ตอบความต้องการดีไซน์-ฟังก์ชั่น

“เปิดประตูบ้านต้อนรับแขกผู้มาเยือน” คำติดหูตั้งแต่ยังเด็ก แต่ซ่อนความหมายไว้หลายอย่าง ประตูบ้านแห่งนี้จึงเป็นทั้งหน้าตาลำดับแรกๆ ของบ้าน และยังหมายถึงความเอาใจใส่ต่อแขกผู้มาเยือนอีกด้วย งานดีไซน์ประตูบ้านจึงสะท้อนได้ถึงดีไซน์ของบ้านโดยรวม และยังสำคัญต่อฟังก์ชั่นการใช้งาน เพราะเราสามารถแบ่งประเภทของประตูบ้านได้หลายรูปแบบทั้งจากประเภทของวัสดุ ขนาดของหน้าบานประตู รูปแบบการเปิดหน้าบาน ไปจนถึงเรื่องระดับความเป็นส่วนตัว ถ้าจะแบ่งประเภทได้มากมายหลากหลายขนาดนี้ เราจึงขอหยิบไอเดียประตูบ้านมาฝาก แล้วลองดูสิว่าแบบไหนที่ตรงกับความชื่นชอบและความต้องการใช้งานของสมาชิกในบ้านที่สุด (ภาพ interiordesign-addict)

01 บานประตูปิดทึบ โชว์ดีเทลหน้าบาน ประตูหน้าบ้านที่ต้องการรักษาความเป็นส่วนตัวไว้ได้มากที่สุด ด้วยการปิดทึบตั้งแต่หน้าบานประตูไปจนถึงผนังของบ้าน ประตูแบบนี้มีดีที่ความปลอดภัย แนะนำให้เลือกสรรวัสดุสำหรับประตูที่มีรายละเอียด ตัวอย่างในภาพที่โชว์ดีเทลการเซาะร่องของบานประตูบานสูงแนบเนียนไปกับมือจับ ทำให้บานประตูโดดเด่นด้วยงานคราฟต์บนวัสดุไม้และดูสูงโปร่งท่ามกลางแนวผนังเซาะร่องตามขวาง (ภาพ the wow decor)

02 ประตูบานปิดทึบ กับบานฟิกซ์ขนาบข้าง ประตูหน้าบ้านใช้แบบบานทึบ เพิ่มความโปร่งโล่งจากแสงธรรมชาติด้วยการติดตั้งบานฟิกซ์ อาจเป็นแค่ด้านเดียว หรือขนาบทั้งสองข้างก็ได้ แนะนำให้ใช้ระดับบานฟิกซ์สูงเท่ากับประตูบานหลักเพื่อให้ได้สัดส่วนที่สวยงาม หากต้องการเพิ่มความเป็นส่วนตัวอาจเลือกติดตั้งบานฟิกซ์ด้วยกระจกมองด้านเดียว เป็นกระจกใสติดตั้งม่านโปร่ง หรือม่านโปร่งซ้อนด้วยม่านทึบ รวมทั้งอาจติดตั้งเหล็กดัดดีไซน์เก๋เพื่อรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งก็ได้ (ภาพ interiornew.club)

03 ประตูบานปิดทึบ กับบานฟิกซ์ด้านบน ใครที่อยากเปิดรับแสงธรรมชาติที่โถงทางเข้าบ้าน แต่ยังคงรักความเป็นส่วนตัว แนะนำประตูหน้าบ้านบานทึบแบบที่มีบานฟิกซ์กระจกเหนือประตู เป็นการใช้ทรัพยากรแสงแดดอย่างคุ้มค่าทีเดียว จะเป็นประตูบานเปิดบานเดียวกับหน้าต่างบานฟิกซ์หนึ่งบาน หรือเป็นแบบประตูบานคู่กับบานฟิกซ์สองบานแบบในภาพก็ได้ แต่ที่สำคัญคือต้องสมดุลกันระหว่างบานประตูและหน้าต่าง เพื่อให้ได้สัดส่วนที่สวยงาม (ภาพ hunker.com)

04 บานประตูคลาสสิค บานประตูกรุกระจกด้านบนแบบคลาสสิค หน้าบานประตูเป็นบานลูกฟัก กรุกระจกใสด้านบน ส่วนสำคัญอยู่ที่สัดส่วนของพื้นที่หน้าบานกระจกภายในหน้าบานประตู เคล็ดลับงานดีไซน์หน้าบนจึงอยู่ที่การแบ่งระบบกริดของหน้าบานก่อน แล้วค่อยสวมกระจกลงบนพื้นที่ที่ต้องการ และหากข้างประตูสองด้านยังมีพื้นที่ว่างสำหรับหน้าต่างบานฟิกซ์ ก็อาจใช้หน้าบานลูกฟักแบบเดียวกันทำเป็นหน้าบานตกแต่งก็ได้ (ภาพ flickr.com)

05 บานประตูเป็นมิตรแบบโมเดิร์น ไอเดียบานประตูกรุกระจกมีให้เห็นเช่นกันในงานแบบโมเดิร์น ด้วยเคล็ดลับเดียวกันในการแบ่งกริดให้กับหน้าบานก่อน แล้วค่อยกรุกระจกในบริเวณที่ต้องการ เพิ่มความสนุกขึ้นได้อีกด้วยกระจกลอนแก้ว เกิดเป็นดีไซน์ที่แปลกใหม่ขึ้นอีก และอย่าลืมว่า ความสัดส่วนที่สมดุลเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ทั้งสัดส่วนระหว่างกระจกภายในตัวหน้าบานเอง และสัดส่วนของตัวบานประตูกับพื้นผิวผนังตกแต่งที่อยู่รายรอบ (ภาพ Benjamin Benschneider)

06 บานเปิดแบ่งครึ่ง บานเปิดแบ่งครึ่งแบบนี้อาจไม่ค่อยเห็นนักในเมืองไทย เพราะนี่เป็นไอเดียบานเปิดดั้งเดิมแบบดัตช์ที่ใช้กันมาเป็นศตวรรษ จุดเด่นอยู่ที่การแบ่งครึ่งบานเปิดในแนวตามขวาง จุดประสงค์ก็เพื่อเปิดบานด้านบนบ้านให้ระบายอากาศ ในเวลาเดียวกัน บานด้านล่างก็ช่วยป้องกันเด็กและสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้านอีกด้วย แม้จะเป็นไอเดียแบบดั้งเดิม แต่ก็ถูกปรับลุคให้ทันสมัยได้ผ่านดีไซน์และวัสดุในแบบปัจจุบัน (ภาพ Tostem Thailand)

07 แข็งแรง ปลอดภัย ดีไซน์สวย ฟังก์ชั่นของประตูหน้าบ้านนอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ที่สำคัญยังเป็นเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างบานประตูเอง เพราะเป็นส่วนที่ต้องใช้งานบ่อย รวมทั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา ทางที่ดีควรมีระบบล็อกทั้งแบบกุญแจสำหรับไขจากด้านนอก และแบบแมนนวลสำหรับคนในบ้านเพื่อป้องกันการบุกรุกจากด้านนอก รวมทั้งดีไซน์ในรายละเอียดเพื่อช่วยให้ปลอดภัยกับผู้ใช้งาน อย่างเช่นการติดตั้งยางระหว่างวงกบกับประตู ซึ่งนอกจากช่วยกันการรั่วซึมแล้ว ยังปกป้องผู้ใช้งานจากอุบัติเหตุประตูหนีบที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ

พาชม TOSTEM Showroom at Crystal Design Center

พาชม TOSTEM Showroom at Crystal Design Center

วันนี้เราจะพาทุกคนชม TOSTEM Showroom at Crystal Design Center กันครับ อาณาจักรแห่ง TOSTEM ที่ทั้งให้แรงบันดาลใจ และข้อมูลเรื่องประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมที่ครบที่สุดครับ

จากทางเข้า 2 (ทางเข้าวงเวียน) ของ Crystal Design Center เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา อาคารสีส้มสะดุดตาเห็นเด่นชัดอยู่ทางซ้ายมือ ที่นี่คือพื้นที่รวบรวมโปรดักต์ของ TOSTEM นับเป็นการเปิดมุมมองให้คุณมองเห็นความเป็นไปได้ในการใช้งานผลิตภัณฑ์ของ TOSTEM ในบ้าน และเป็นไอเดียต่อยอดให้นำกลับไปปรับใช้ได้กับบ้านของคุณเอง เพราะนอกจากจะเห็นความสวยงามด้วยสายตาแล้ว ยังสามารถทดลองใช้งานทุกชิ้นได้กับมือ เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ TOSTEM ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมอันดับ 1 ในญี่ปุ่น

ชั้นล่าง คือภายในบ้านที่ใช้งาน TOSTEM ตัวอาคารแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงกรอบบานประตูหน้าต่าง ผลิตภัณฑ์ของ TOSTEM แบบเต็มรูปแบบ เพื่อให้ลูกค้าเห็นชัดเจนว่า เมื่อนำไปกรอบบานไปติดกับตัวบ้านแล้วหน้าตาจะออกมาเป็นแบบไหน หลังบานประตูเหล็กลายไม้ คือพื้นที่ภายในบ้านที่ใช้งาน TOSTEM กับช่องเปิดทุกส่วน ตั้งแต่บานเฟี้ยมกรอบอะลูมิเนียมบานใหญ่ที่เชื่อมต่อระเบียงและบรรยากาศภายนอกสู่ในบ้าน หรือการใช้งานแบบผสมผสานระหว่างกรอบหน้าต่างแบบบานฟิกซ์กับบานเปิด สร้างรูปแบบใหม่ๆ ในการติดตั้งบานหน้าต่างให้สัมพันธ์กับทั้งเรื่องความสวยงามและฟังก์ชั่น

เข้าสู่ชั้นสอง ได้สองทาง ส่วนชั้นสองสามารถเข้าได้ 2 ทาง นั่นคือจากทางลิฟต์หรือบันไดโดยตรงจากภายในร้านชั้น 1 และจากบันไดส่วนกลางของอาคาร สังเกตเห็นทางเข้าด้านหน้าสีส้มโดดเด่นพร้อมโลโก้ของ TOSTEM ก็เดินตรงเข้ามาได้เลย

ชั้นสอง สนุกกับโปรดักต์ของ TOSTEM นอกจากดีไซน์ของบ้านที่ได้เห็นกับการจำลองงานอินทีเรียร์แล้ว มาถึงชั้นบนก็เป็นพื้นที่รวบรวมกรอบบานประตูทุกรุ่นทุกแบบของ TOSTEM ติดตั้งอยู่บนผนังเหมือนจริง เพื่อโชว์หน้าตาของกรอบบานหน้าต่างหลังการติดตั้ง เลือกหาสี-รุ่นที่ถูกใจ และลงมือทดสอบได้เองทั้งเรื่องการเปิด-ปิด ระดับการติดตั้ง และเช็คผลงานทุกชิ้นได้อย่างใกล้ชิด

บานประตู ก็ดึงออกมาดูได้เลย ! เดินตรงเข้าไปในสุด เป็นพื้นที่รวบรวมส่วนหน้าบานประตูทุกแบบเอาไว้ ซึ่งสามารถดึงออกมาตรวจสอบคุณภาพของวัสดุและชิ้นงานได้เลย ตัวอย่างประตูระบายอากาศชิ้นนี้ ให้ลูกค้าสามารถทดลองรูปแบบการสร้างการระบายอากาศ ซึ่งเมื่อปิดสนิทก็เป็นบานประตูกระจกที่รับแสงธรรมชาติจากด้านนอกเข้าภายในแต่เมื่อเลื่อนเปิดบานจะเป็นการเปิดฟัก์ชันการระบายอากาศและความร้อนออกจากห้องและดึงอากาศเย็นเข้าภายในห้องได้อีกด้วย

ทดสอบคุณสมบัติ ด้วยการจำลองห้องทดลองขนาดย่อม พื้นที่ห้องโถงส่วนกลาง นอกจากจะจัดแสดงกรอบบานประตูและหน้าต่างแล้ว ยังเป็นพื้นที่ห้องทดลองประสิทธิภาพของกรอบอะลูมิเนียมของ TOSTEM อีกด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ห้อง คือ ห้องทดสอบประสิทธิภาพการลดเสียงรบกวน และการทดสอบการป้องกันน้ำรั่ว การทดสอบการป้องกันความร้อน โดยภายในห้องจะติดตั้งเครื่องมือทำการทดสอบในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ลูกค้าสามารถทดสอบการคุณสมบัติเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง ตัวอย่างเช่น ห้องทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันเสียง ก็จะมีหน้าจอสัมผัสเพื่อให้ทดลองเสียงรบกวนรูปแบบต่างๆ กันไป รวมทั้งเปรียบเทียบระดับความดังของเสียงภายในและภายนอกห้อง ซึ่งเรื่องเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกเมื่อได้ยินเสียงของผู้ใช้งาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าการลดเสียงรบกวนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่สบายภายในบ้าน

เปิดบริการทุกวัน ที่ CDC อาคาร D อัพเดตผลิตภัณฑ์ล่าสุด พร้อมกับการทดลองใช้งานจริงที่โชว์รูม TOSTEM ที่ Crystal Design Center ถ.ประดิษฐ์มนูธรรม อาคาร D เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 19.00 น. หรือโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2102-2222

Why Aluminium Door & Window ทำไมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ถึงน่าใช้งาน?

Why Aluminium Door & Window ทำไมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ถึงน่าใช้งาน?

ก่อนจะพูดถึงวัสดุอะลูมิเนียม เราอาจจะต้องขอกล่าวถึงวัสดุทั่วไปที่นำมาใช้ทำเป็นกรอบบานประตูหน้าต่างกันก่อนครับว่ามีวัสดุอะไรบ้าง โดยเริ่มจาก “ไม้” วัสดุดั้งเดิมที่ปัจจุบันนั้นเริ่มถูกนำมาใช้งานน้อยลง โดยวัสดุไม้นั้นแม้มีความสวยงามเฉพาะตัวที่หาตัวแทนยาก แต่เรื่องของความทนทานต่อสภาพแดดฝน แมลงต่างๆ รวมถึงการบิดงอตามธรรมชาติของตัววัสดุเอง ก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทุกคนต่างไม่อยากพบเจอ

ต่อมาคือวัสดุ “เหล็ก” ส่วนใหญ่เป็นการนำเหล็กมาเชื่อมต่อหรือประกอบให้ได้ขนาดและรายละเอียดที่ต้องการ มีข้อดีที่แข็งแรง หนักแน่น แต่ไม่ทนสนิม และมีน้ำหนักมาก ไม่เหมาะสำหรับการใช้ภายนอกกันฝนสาดเท่าใดนักเพราะไม่มีรายละเอียดของหน้าตัดกรอบบาน ที่สามารถป้องกันน้ำฝนได้ดีพอนั่นเอง ส่วน “PVC” หรือ Poly vinyl chloride นั้นเป็นวัสดุรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นไม่นานนัก แต่ด้วยตัววัสดุมีข้อจำกัดเรื่องความแข็งแรง และเรื่องของสีที่มีเพียงสีขาว ความหลากหลายในการใช้งานจึงไม่มากนัก รวมถึงการที่ PVC มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับกรอบบานวัสดุอื่นๆ โดยที่ตัวมันเองไม่สามารถทำประตูหน้าต่างบานใหญ่พิเศษได้ เพราะไม่แข็งแรงพอนั่นเอง และสุดท้ายกับวัสดุที่ยังคงมาตรฐาน ทั้งเรื่องความงามและความทนทานอย่าง “อะลูมิเนียม” คือวัสดุที่ตอบทุกโจทย์และลบข้อด้อยของทุกวัสดุที่กล่าวมาข้างต้นได้เป็นอย่างดี โดยจะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ลองไปชมกัน…

1. ทนทาน สวยนาน วัสดุอะลูมิเนียม เป็นวัสดุธรรมชาติที่ได้มาจากการสกัดแร่อะลูมินา เป็นวัสดุที่ทนความร้อนสูง แผ่ความร้อนต่ำ เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานมากที่สุดในกลุ่มโลหะทั้งหมด เพราะอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติ ที่โดดเด่นหลายประการเช่น อะลูมิเนียมทนทานต่อการเกิดสนิม และการผุกร่อน ซึ่งทำให้อาคารที่ใช้ประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมนั้นมีทั้งความทนทานและความงามควบคู่กันไป

2. บวกกับการออกแบบที่ดี อะลูมิเนียมจะเป็นวัสดุที่ทำบานประตูหน้าต่างดีที่สุด วัสดุที่แข็งแรงทนทานอย่างอะลูมิเนียม บวกกับการออกแบบที่คิดและใส่ใจทุกรายละเอียดจะทำให้ได้ประตูหน้าต่างที่สวยงามและแข็งแรงที่สุด เพราะด้วยตัววัสดุเองเอื้อต่อการออกแบบรายละเอียดภายในที่ซับซ้อนได้ รวมถึงการจบงานเก็บรายละเอียดที่เรียบร้อย ลงตัว

3. มีความทนทานต่อสภาพอากาศเมืองไทย เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพอากาศของไทยนั้นมีความรุนแรงเพียงใด ทั้งลม ฝน แสงแดด และวัสดุอะลูมิเนียมก็มีคุณสมบัติที่สามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี สีไม่ซีดจาง ไม่มีการบิด งอ รวมถึงฝนนั้นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะอะลูมิเนียมนั้นทนทานต่อการเกิดสนิม และป้องกันน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาภายในอาคารได้ดีเยี่ยม

4. สีสันที่คงทน ไม่ซีดจาง ปัจจุบันมีวิธีการทำสีอะลูมิเนียมที่เป็นที่นิยมอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ 1. อะโนไดซ์ (Anodize) 2. พาวเดอร์โค้ท (Powder Coat) แต่วิธีที่ทำให้สีติดทนทานคือวิธีการทำอะโนไดซ์ ซึ่งเป็นการทำปฏิกิริยาทางเคมี ให้เนื้อสีนั้นเข้าไปอยู่ในเนื้อของอะลูมิเนียมและเคลือบที่ผิวได้ติดทนนานกว่าการทำสีแบบพาวเดอร์โค้ท ที่เปรียบเสมือนการพ่นหรือทาสีเท่านั้น

5. แข็งแรงแต่น้ำหนักเบา เนื่องจากอะลูมิเนียมมีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา แต่กลับมีความแข็งแรงสูง สามารถรับแรงดึงและนำมาทำเป็นกรอบประตูหน้าต่างได้อย่างแข็งแรงทนทาน ไม่จำเป็นต้องมีแกนเหล็กเสริมเหมือนอย่าง PVC ที่หากต้องการทำบานเปิดที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีการเสริมเหล็กภายในบานวงกบและทำให้น้ำหนักโดยรวมนั้นเพิ่มมากขึ้น เป็นภาระให้กับโครงสร้างอาคารได้ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดสนิมของเหล็กภายใน

6. ป้องกันเสียงรบกวนได้ดี หน้าที่หลักของประตูหน้าต่างอีกอย่างหนึ่งคือการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกให้ได้มากที่สุด ซึ่งนั่นทำให้อะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่ชนะวัสดุอื่นๆ เพราะสามารถออกแบบหน้าตัดของวงกบและตัวบานให้ปิดได้สนิท ให้สามารถป้องกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องมีอุปกรณ์กันเสียงอื่นๆที่ได้คุณภาพ เช่นระบบล็อค ยางกันน้ำ หรือแม้แต่แผ่นกระจกที่นำมาติดตั้งต้องเสริมประสิทธิภาพการป้องกันเสียงได้ด้วยเช่นกัน จึงจะทำให้บานประตูหน้าต่างนั้นเป็นบานที่สามารถกันเสียงรบกวนได้ดีที่สุด

7. สามารถออกแบบให้ดูสลิม โมเดิร์นได้ ด้วยตัวของอะลูมิเนียมเองที่มีความแข็งแรงในเนื้อวัสดุรองรับการออกแบบให้มีความหนาและบางได้ตามต้องการตามความเหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักและการต้านทานแรงลมนั้น รูปแบบของบานอะลูมิเนียมจึงสามารถออกแบบให้ดูเรียบหรู บาง และดูเบาได้ง่ายกว่าวัสดุอื่นๆ

8. ความรู้สึกถนัดมือและมั่นใจเวลาใช้งาน ไม่เบาไม่หนักเกินไป เมื่อรวมน้ำหนักบานทั้งหมด ทั้งกระจก อุปกรณ์บานพับ มือจับ ต่างๆแล้ว บานจากวัสดุอะลูมิเนียมจะมีน้ำหนักที่พอดี กล่าวคือไม่เบาและไม่หนักเกินไป ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อความรู้สึกตอนใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะหากเบาไปจะรู้สึกไม่แข็งแรง ไม่ปลอดภัย หากหนักไปก็ใช้งานยากลำบากนั่นเอง

จากโรงงานเมืองไทย คุณภาพส่งออกสู่ญี่ปุ่น

จากโรงงานเมืองไทย คุณภาพส่งออกสู่ญี่ปุ่น

TOSTEM คือผลิตภัณฑ์สินค้าจากญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับทั้งในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากลเป็นเวลากว่า 90 ปี การที่ TOSTEM มาเปิดโรงงานและสายการผลิตที่ประเทศไทย และที่สำคัญคือ สินค้าจากโรงงาน TOSTEM ในประเทศไทยยังถูกส่งออกไปยังผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นด้วย จึงนับว่าเป็นการยืนยันถึงศักยภาพของสินค้าที่ผลิตจากโรงงานไทยว่ามีมาตรฐานเทียบเท่ากับสินค้าที่ผลิตจากญี่ปุ่น เราจึงขอพาไปคุยในเรื่องการควบคุมมาตรฐานจนได้รับความไว้วางใจจากทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น

มาตรฐานและคุณภาพ มาตรฐานและคุณภาพคือหัวใจสำคัญของ TOSTEM และประเทศญี่ปุ่นก็ขึ้นชื่อเรื่องความเข้มงวดในการควบคุมมาตรฐาน ด้วยระบบ Quality Assurance การรับประกันคุณภาพ และ Quality Control การควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในระดับสากล จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าทุกชิ้นจากโรงงานของ TOSTEM ในประเทศไทยมีคุณภาพสูง ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์เอง ระบบการประกอบ และระบบการติดตั้งที่หน้างาน

มาตรฐานเต็มรูปแบบเทียบเท่าญี่ปุ่น โรงงานผลิตของ TOSTEM ในประเทศไทยพิเศษตรงที่เป็นโรงงานผลิตสินค้าเต็มรูปแบบตามมาตรฐานเทียบเท่าโรงงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมี R&D Center ผู้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ Testing Center ศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานทั้ง JIS ของประเทศญี่ปุ่น และ ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้มั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่ผลิตจากโรงงาน TOSTEM แห่งนี้ จะคงคุณภาพเดียวกันทั้งหมด

ผลดีกลับคืนสู่ผู้บริโภค ผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนของส่วนประกอบทุกชิ้นที่ออกจากโรงงาน TOSTEM ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย มีความแม่นยำสูง อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ บุคลากรผู้ควบคุมการผลิต ที่มีระบบการทำงานด้วยคู่มือเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารคุณภาพแบบญี่ปุ่นในโรงงานประเทศไทยเอง ข้อดีคือการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดประเทศไทย เนื่องด้วยเรื่องของต้นทุนการผลิต และยังเป็นผลดีกับผู้บริโภคเองที่ได้รับการบริการหลังการขายที่รวดเร็วขึ้น

ทำไมจึงเลือกตั้งโรงงานที่ประเทศไทย? ช่างฝีมือคือข้อได้เปรียบของประเทศไทยในสายงานการผลิตเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเหตุผลในเรื่องทางภูมิศาสตร์ ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของประเทศในกลุ่มอาเซียน จึงเกิดข้อได้เปรียบในเรื่องการขนส่งทั้งภาคพื้นดิน และการขนส่งทางเรือ ทาง TOSTEM จึงเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตใหญ่ที่สำคัญ

BAAN Chaichucherd บ้านที่มีคอร์ทยาร์ดเพื่อสร้างโลกส่วนตัว

BAAN Chaichucherd บ้านที่มีคอร์ทยาร์ดเพื่อสร้างโลกส่วนตัว

Location: เชียงราย ประเทศไทย Owner: คุณ ธนาทิต ชัยชูเชิด Architect: Materior Studio แมททีเรีย สตูดิโอ คุณสุเมธ กล้าหาญ, คุณพงศกร ณ พัทลุงและคุณพิสิฐ ฟุ้งสุข Photograph: ศุภกร ศรีสกุล Contractor: ธนานันต์ นัยนา

สำหรับบ้านหลังสีขาวที่ดูภายนอกเรียบง่ายและสะอาดตาขนาด 2 ชั้นอย่าง ‘บ้านชัยชูเชิด’ หลังนี้ แต่ใครจะรู้ว่าภายในบ้านกลับซุกซ่อนสเปซเฉพาะตัวเอาไว้อย่างแยบยล ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 600 ตารางเมตรสถาปนิกจาก Materior Studio นำโดย คุณสุเมธ กล้าหาญ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของบ้านหลังนี้ที่ใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างไว้อย่างน่าสนใจว่า

“บ้านชัยชูเชิดเริ่มต้นมาจากทางเจ้าของบ้านต้องการสร้างบ้านที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ภายนอกเราจึงออกแบบช่องเปิดเท่าที่จำเป็น และเปิดมุมมองจากภายในเป็นสำคัญ โดยนำคอร์ทยาร์ดมาทำหน้าที่เชื่อมต่อ circulation ต่างๆ ภายในบ้าน” โดยเริ่มตั้งแต่การวางฟังก์ชัน สถาปนิกเริ่มจากการวางตำแหน่งคอร์ทยาร์ดขนาดใหญ่ไว้กลางบ้านโดยจัดเรียงฟังก์ชันต่างๆ ล้อมเอาไว้ เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องไปยังห้องต่างๆ ในบ้านได้อย่างทั่วถึง เสริมกับการปลูกไม้ยืนต้นอย่างต้นเสม็ดแดงเอาไว้ นอกจากให้ร่มเงาแล้ว ยังช่วยสร้างความสุนทรีย์ให้กับผู้ใช้พื้นที่ชั้นสองที่จะสามารถเห็นทิวยอดไม้ได้

นอกจากคอร์ทยาร์ดขนาดใหญ่ใจกลางบ้านแล้ว สถาปนิกยังนำลักษณะของคอร์ทยาร์ดมาวางยังตำแหน่งอื่นๆ ของบ้าน อย่างบริเวณทางเข้าตัวบ้านติดกับที่จอดรถเพื่อทำหน้าที่สร้างการรับรู้ถึงการกำลังเข้าสู่สเปซที่เป็นส่วนตัว โดยสถาปนิกสร้างความพิเศษด้วยการสร้างบ่อปลาขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ อีกทั้งเสียงของน้ำตกยังสร้างบรรยากาศผ่อนคลายต่อเนื่องไปกับคอร์ทยาร์ดใหญ่บริเวณกลางบ้านนั่นเอง

ด้วยโปรแกรมการออกแบบจากเจ้าของบ้านที่มีสมาชิกอยู่ด้วยกันหกคน และต้องสร้างห้องนอน 5 ห้องด้วยกัน ด้วยความที่มีสมาชิกที่อยู่ในบ้านหลากหลายเจนเนอเรชั่น ทั้งคุณพ่อคุณแม่ รุ่นลูก คุณยายและคุณน้า ทำให้เจ้าบ้านซึ่งก็คือคุณพ่อคุณแม่ต้องการเห็นกิจกรรมของสมาชิกในบ้าน เผื่อในกรณีที่ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหรือรับรู้ว่าลูกๆ อยู่ส่วนไหนของบ้าน ผู้ออกแบบจึงนำความต้องการของเจ้าบ้านมาออกแบบฟังก์ชั่นโดยใช้คอร์ทยาร์ดเป็นสื่อกลางสามารถมองไปยังห้องฝั่งตรงกันข้ามแต่ยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้พื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์

ในส่วนธีมบ้านที่ขาวสะอาดนั้นสถาปนิกเสริมว่าต้องการให้บ้านเป็น background สีขาวเตรียมไว้ให้เจ้าของบ้านสำหรับค่อยๆ แต่งแต้มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งในบ้านด้วยตนเอง ด้วยสีขาวเองเป็นสีที่สามารถเข้าสีใดก็ได้ทำให้ทุกเฟอร์นิเจอร์ที่เจ้าของบ้านเลือกนั้นแสดงตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างเต็มที่ โดยสถาปนิกจะช่วยเลือกขนาดหรือสีในบางชิ้น เพื่อให้เฟอร์นิเจอร์เข้ากับสเปซของบ้านได้อย่างพอเหมาะและลงตัว

ความพิเศษอีกประการหนึ่งของบ้านชัยชูเชิด คือ การเตรียมความพร้อมในเรื่องของโครงสร้าง เนื่องจากจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีเหตุแผ่นดินไหวเป็นระยะ สถาปนิกจึงออกแบบโครงสร้างขนาดใหญ่และใช้เหล็กมากกว่าปกติเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับตัวบ้านเผื่อไว้ในกรณีที่เชียงรายนั้นเกิดแผ่นดินไหว

แม้สถาปนิกจะใช้ช่องเปิดภายนอกเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้เกิดกับสเปซภายในให้มากที่สุด ด้วยการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ไปจนถึงประตูและหน้าต่างจึงต้องตอบโจทย์เรื่องความสวยงาม แข็งแรงและสร้างความส่วนตัวให้เวลาเดียวกัน

“สำหรับประตูและหน้าของบ้านหลังนี้ เราเลือกใช้ TOSTEM ทั้งหลังเลย หลักๆ ก็มาจากเจ้าของที่ต้องการความเป็นส่วนตัวเป็นพิเศษ นอกจากเราจะใส่ช่องเปิดเป็นบางจังหวะเท่านั้น และที่เลือกใช้ TOSTEM เพราะคุณสมบัติของตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถกันน้ำและกันเสียงได้ดีมาก โดยเราเลือกใช้รุ่น P7 และเลือกสีดำ เพื่อให้สีดำของวงกบตัดกับสีขาวของบ้านให้เกิดองค์ประกอบที่สวยงามยิ่งขึ้น”

แต่เหนือสิ่งอื่นใดนอกจากการออกแบบบ้านหลังนี้จะเน้นไปที่ฟังก์ชั่นเพื่อสร้างความส่วนตัวแล้ว ความสนุกที่ได้ออกแบบ คือ การได้ทดลองการใช้คอร์ทยาร์ดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างฟังก์ชั่น รวมไปถึงความไว้ใจของเจ้าของบ้านที่มีให้กับสถาปนิกจึงทำให้บ้านหลังนี้เสร็จสิ้นได้อย่างสวยงามและตรงกับไลฟ์สไตล์ของสมาชิกในครอบครัวได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดนั่นเอง