fbpx

Author Archives: GRANTScreativeWe40

7 ข้อควรรู้ ก่อนทำประตูบานเลื่อนแบบเปิดสุด

7 ข้อควรรู้ ก่อนทำประตูบานเลื่อนแบบเปิดสุด

เรื่องของการวัดขนาดความกว้างของช่องเปิดที่ต้องการเปิดออกให้สุด เพื่อจะได้เลือกขนาดและบานเลื่อน เป็นรูปแบบของกรอบบานประตูในฝันของหลายๆ คน นั่นก็เพราะข้อดีในเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าด้วยกันได้สมบูรณ์ และเรียบร้อยสวยงาม เช่นนั้นแล้ว ก่อนที่จะเลือกบานเลื่อนแบบเปิดสุดมาใช้ มีเรื่องไหนที่ควรรู้เกี่ยวกับตัวบาน และการจะติดตั้งบานแบบนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องไหนบ้าง เรารวบรวมมาให้เรียบร้อยแล้วในบทความนี้

1 ระบบรางยึดที่มั่นคง

เพราะบานประตูหน้าต่างของบานเลื่อนแบบเปิดสุดส่วนใหญ่มีระยะทางที่ต้องเลื่อนสำหรับเปิดปิดที่ยาว ข้อควรคิดถึงอย่างแรกเลยคือ อุปกรณ์ประกอบหน้าบานจะต้องแข็งแรงทุกส่วน ตั้งแต่ส่วนนอกบานอย่างรางเลื่อนบน-ล่าง ไปจนถึงการยึดตรึงหน้าบานเข้ากับส่วนประกอบต่างๆ อย่างมั่นคง เพียงพอที่จะรับน้ำหนักของหน้าบานและแรงของการเลื่อนเปิด-ปิดได้ หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่การเลือกอุปกรณ์หน้าบานและการติดตั้งที่มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อรองรับการใช้งานได้ตลอดอายุของบาน

2 รางเลื่อนส่วนล่าง เปิดกว้างในระดับดีเทล

Photo by Michael Browning on Unsplash

รายละเอียดเล็กน้อยอย่างรางเลื่อนส่วนล่างก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้บานเลื่อนแบบเปิดสุดสามารถเปิดกว้างทั้งทางมุมมองการมองเห็นและฟังก์ชันการใช้งาน โดยการทำให้พื้นทั้งสองฝั่งเรียบเสมอกัน ไม่มีสิ่งใดสะดุดหรือขวางกั้น อาจจะใช้การฝังรางเลื่อนลงในพื้น หรือจะใช้เป็นการแขวนกับรางบนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงของอุปกรณ์ที่สามารถรับน้ำหนักของหน้าบานทั้งบานบวกกับแรงกระแทกจากการเปิดปิดได้ รวมทั้งตัวรางที่จะต้องลื่น รวมทั้งรางบน-วงกบ-เสาเอ็น ทำระนาบขนานกับพื้น และเข้ามุมฉากพอดี

3 ระนาบหัวใจสำคัญของบานเลื่อน

การเลื่อนเปิดปิดหน้าบานประตูนั้น สมดุลเป็นเรื่องสำคัญ การเตรียมพื้นที่หน้างานก่อนการติดตั้งให้ได้ระนาบในทุกมิติจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งระนาบในแนวดิ่ง แนวราบ มุมฉาก 90 องศาครบทุกมุม โดยเฉพาะการเลื่อนเปิดปิดแบบสุดที่จะต้องเลื่อนเป็นระยะทางยาว ระนาบที่ได้ระดับจะช่วยถนอมรักษารางเลื่อนและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ให้ยาวนานตลอดอายุการใช้งาน

4 ความกว้างของช่องเปิด กับหน้าบานที่เหมาะสม

ต่อมาก็เป็นเรื่องของการวัดขนาดความกว้างของช่องเปิดที่ต้องการเปิดออกให้สุด เพื่อจะได้เลือกขนาดและจำนวนของหน้าบานประตูที่ต้องใช้ได้อย่างพอเหมาะพอดี เพราะหากบานกว้างไปก็จะมีเรื่องการรับน้ำหนักและแรงกระแทก หรือหากบานแคบไป ก็อาจดูอึดอัดไม่สบายตา หากความกว้างของช่องเปิดอยู่ที่ไม่เกิน 3.5 เมตร สามารถใช้บานเลื่อนแบบ 2 บานบน 2 ราง, ความกว้างของช่องเปิดไม่เกิน 5.5 เมตร สามารถใช้แบบ 3 บานบน 3 รางหรือ 4 บานบน 2 รางได้ และที่ความกว้างของช่องเปิดไม่เกิน 6 เมตร ควรใช้แบบ 6 บาน บน 3 ราง

5 บานประตูแบบซ่อนในผนัง

ภาพจาก thespruce.com / decorpad.com

สำหรับคนที่วางแผนอยากทำบานที่เลื่อนเปิดแล้วซ่อนในผนังหรือ Pocket Door แนะนำให้คิดตั้งแต่ช่วงขั้นตอนการออกแบบ ก่อนเริ่มวางแผนก่อสร้าง เพราะมีเรื่องต้องคำนึงถึงตั้งแต่เรื่องการเบิ้ลผนังให้ได้ความหนาและความกว้างของช่องผนังกับของบานประตูที่จะต้องซ่อนเข้าไป การซ่อนวงกบเข้าไปในผนัง หรือการซ่อนฝังรางเลื่อนบนให้แนบเนียนไปกับพื้นผิวรอบข้าง เพื่อให้เก็บหน้าบานและเก็บงานได้เรียบร้อยสวยงาม รวมไปถึงการติดตั้งตัวหยุดบานในพื้นที่การหยุดหน้าบานที่เหมาะสม

6 หลายบานเลื่อนรวบไปเก็บทีเดียว

วิธีการเปิดหน้าบานให้สุดอีกแบบ คือการเลื่อนหน้าบาน ไม่ว่าจะเป็น 2, 3, 4 หรือ 6 หน้าบานเข้าไปเก็บที่ผนังด้านใดด้านหนึ่ง สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือรูปแบบของรางล่างที่ต้องจำนวนรางต้องรองรับกับจำนวนหน้าบาน จึงควรเลือกรูปแบบรางล่างตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง ว่าจะเป็นรางล่างแบบฝังลงในพื้น หรือแบบวางบนพื้น แต่ที่สำคัญคือต้องทำความสะอาดง่าย ระบายน้ำฝนได้ดี เพราะรางล่างมักมีปัญหาของฝุ่นหรือน้ำฝนลงไปกักขัง ยิ่งจำนวนรางมาก ก็ต้องทำความสะอาดมากขึ้นด้วย

7 บานเลื่อนคู่เข้ามุม

ภาพ Bob Gundu

เปิดรับทัศนวิสัยให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ด้วยการใช้บานเลื่อนเปิดออกจากมุมไปเก็บกับด้านผนัง โครงสร้างของเสาเอ็นและทับหลังของกรอบบานจะต้องคำนวณสำหรับการติดตั้งบานเลื่อนเข้ามุมโดยเฉพาะ จุดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือจุดที่ชนกันตรงมุมของบานประตูทั้งสอง อุปกรณ์ประกอบจะต้องแข็งแรง และควรติดตั้งยางกันกระแทกเพื่อลดแรงลง พร้อมกับเพื่อปิดซีลหน้าบานให้แน่นสนิท รวมทั้งตัวรางควรเลือกให้เหมาะสมพอดีกับประตู เพื่อที่หน้าบานจะได้ไม่แกว่งเวลาเลื่อนเปิด หรือกระแทกกันแรงเกินไปเมื่อเลื่อนปิด

HOW-TO เช็คกรอบบานประตูหน้าต่างด้วยตัวเองหลังงานติดตั้ง

HOW-TO เช็คกรอบบานประตูหน้าต่างด้วยตัวเองหลังงานติดตั้ง

การติดตั้งกรอบบานประตูหน้าต่างเป็นขั้นตอนสำคัญที่เจ้าของบ้านรอคอย นั่นก็เพราะสิ่งที่เราเลือกสรรถูกติดตั้งลงบนพื้นที่จริงพร้อมใช้งาน ดังนั้น ก่อนทำการส่งมอบงานหลังการติดตั้ง หากเจ้าของบ้านสามารถตรวจสอบเช็ครายละเอียดได้ด้วยตัวเองแล้ว ก็เป็นการรีเช็คอีกครั้งหนึ่งให้แน่ใจ หากพบข้อผิดพลาดตรงไหนจะได้รีบแก้ไขซ่อมแซมก่อนที่กรอบบานประตูหน้าต่างจะถูกใช้งานจริง เราจึงทำเช็คลิสต์ง่ายๆ สำหรับเช็คกรอบบานประตูหน้าต่างหลังงานติดตั้ง ที่เจ้าของบ้านสามารถเช็คได้ด้วยตัวเองมาฝากกัน

ตรวจสอบกรอบบาน

ขั้นตอนแรกที่ควรทำตั้งแต่ก่อนทำการติดตั้งกรอบบานประตูหน้าต่างก่อนติดตั้งบนพื้นที่งานจริง นั่นคือการเช็คสภาพของกรอบ โดยทั่วไปแล้วกรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็มจะมีการติดฟิล์มป้องกันรอยบนผิวของกรอบบานก่อนการติดตั้ง และจะทำการลอกออกหลังจากการส่งมอบงานเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัสดุกรอบบานมาตรฐานจากโรงงานส่งถึงมือผู้ใช้งานในคุณภาพสากลระดับเดียวกัน

ตรวจสอบรอยต่อ

ทั้งการตรวจสอบรอยยาแนว รอยต่อต่างๆ ของตัวกรอบบานเอง

– ยาแนวเช็คดูว่ารอยต่อระหว่างกรอบบานหน้าต่างกับผนัง เรียบร้อยเสมอกันทั้งหมด ไม่มีรอยช่องว่างอากาศหรือเส้นยาแนวที่ขาดช่วง

– รอยต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของกรอบบานประตูหน้าต่าง ตรวจเช็คว่าประกบกันแน่นสนิทหรือไม่ น็อตหรือสกรูของแต่ละส่วนขันแน่นแข็งแรงดี ติดอุปกรณ์ประกอบครบทุกชิ้นส่วน

ตรวจสอบการใช้งาน

หลังจากตรวจงานภายนอกเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องทดลองใช้งานกรอบบานประตูหน้าต่างจริงๆ ส่วนที่จำเป็นต้องเช็ค ได้แก่

– การใช้งานได้เปิดปิดได้สะดวก หรือติดขัดฝืดตรงไหน

– เช็คดูมือจับ บานพับ และอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ว่าติดตั้งเรียบร้อยครบถ้วนทุกจุด

– หน้าบานกับกรอบบานเปิด-ปิด สนิทกันลงตัวพอดีหรือไม่

ตรวจสอบความสะอาด

ขั้นตอนท้ายสุดก่อนทำการส่งมอบงานจากช่างถึงมือลูกค้า นั่นคือการตรวจสอบความสะอาดบริเวณโดยรอบพื้นที่ติดตั้งว่ามีการทำความสะอาดดี หรือสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ส่วนอื่นของบ้านหรือไม่ ทำการตรวจสอบตั้งแต่จุดเล็กที่สุดอย่างความสะอาดของพื้นผิวรอยต่อ ไปจนถึงพื้นและผิวผนังบริเวณพื้นที่หน้างาน รวมทั้งการทำความสะอาดกรอบบานประตูหน้าต่างหลังการติดตั้งเรียบร้อย จึงสามารถส่งมอบงานได้อย่างสบายใจทั้งตัวช่างเองและเจ้าของบ้าน

เหตุผลที่ควรเลือกใช้กรอบบานอะลูมิเนียมทอสเท็ม

เหตุผลที่ควรเลือกใช้กรอบบานอะลูมิเนียมทอสเท็ม

เหตุผลสำคัญของการซื้อบ้านเป็นเรื่องความคุ้มค่าสูงสุด เพราะบ้านคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ผู้คนใฝ่ฝันถึง และพร้อมลงทุนเพื่อการใช้งานได้อย่างยาวนาน ดังนั้น เมื่อได้เริ่มต้นสร้างสรรค์บ้านหลังที่ถูกใจแล้ว ควรพิจารณาทั้งเรื่องความงามและฟังก์ชั่นที่ถูกใจผู้อยู่ รวมไปถึงการเลือกวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงทนทานตลอดอายุการใช้งาน รวมทั้งกรอบบานประตูหน้าต่างที่เป็นทั้งหน้าตาของบ้าน พร้อมกับเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างสิ่งแวดล้อมนอกบ้านและการใช้งานภายในบ้านเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย เหตุผลทั้งหมดนี้เป็นเรื่องทอสเท็มใส่ใจ ในครั้งนี้ เราจึงมาพร้อมกับเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงควรเลือกใช้กรอบบานอะลูมิเนียมของทอสเท็ม

ออกแบบลงรายละเอียด

หัวใจหลักของทอสเท็ม คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบบานอะลูมิเนียมซึ่งเป็นงานที่ทอสเท็มชำนาญ ด้วยการใช้งานออกแบบและวิศวกรรมเข้าร่วมตั้งแต่ในรายละเอียดเล็กๆ นั่นก็เพราะจุดเล็กๆ เหล่านี้เองที่ช่วยให้การใช้งานกรอบบานประตูหน้าต่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งเรื่องความสะดวกสบาย สมรรถนะการใช้งาน และความสวยงามของอาคาร

ระบบพรีเอ็นจิเนียร์ของทอสเท็ม

ผลิตภัณฑ์ของทอสเท็มทุกชิ้นจำเป็นต้องมีมาตรฐานสม่ำเสมอกันทุกชุด ทอสเท็มจึงใช้งานออกแบบ ผลิต และประกอบเสร็จในโรงงานของทอสเท็มเอง ภายใต้การควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์และบิลเล็ตอะลูมิเนียม การรีดขึ้นรูปอะลูมิเนียมเส้น การชุบสี การตัดอะลูมิเนียม ไปจนถึงการประกอบเป็นกรอบบานพร้อมการติดตั้งหน้างาน จนสำเร็จพร้อมให้ลูกค้าใช้งาน

ปรับใช้งานได้หลากหลาย

ด้วยคุณภาพของทีมช่างและทีมฝ่ายขายผู้เชี่ยวชาญด้านกรอบบานประตูหน้าต่างโดยเฉพาะ ลูกค้าจึงสามารถเลือกรุ่นที่เหมาะกับพื้นที่ติดตั้ง ขนาดหรือรูปแบบของกรอบบานที่เหมาะสมกับช่องเปิดที่เจ้าของได้เลือกเอาไว้ รวมทั้งยังสามารถเลือกวิธีเปิดปิด ดีไซน์หน้าบาน ไปจนถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น มือจับ L-Fit ที่ออกแบบให้ใช้งานได้ตามความสะดวก ระบบล็อก โปรไฟล์กรอบ ซอฟต์โคลส รางพื้น เป็นต้น ซึ่งสามารถรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากทีมงานของทอสเท็มได้อย่างสบายใจ

ดีไซน์เหนือกาลเวลา

นอกจากความแข็งแรงทนทานของกรอบบานแล้ว ความงามก็เป็นเรื่องที่ทอสเท็มเชี่ยวชาญ ด้วยเทคโนโลยีการชุบสีแบบอะโนไดซ์ ทำให้ได้เนื้อสีที่สวยงามและทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก พร้อมทั้งยังสามารถเลือกเฉดสีได้หลากหลาย ตั้งแต่สีสว่างที่สุด อย่าง Natural White, Natural Silver, Ivory White ไปจนถึงโทนสีเข้มที่สุดอย่าง Shine Grey, Autumn Brown และ Natural Black เพื่อเสริมให้งานดีไซน์ของคุณตอบรับกับความต้องการให้ได้มากที่สุด

โซลูชั่นที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์

แนวความคิดหลักของทอสเท็มที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาดในทั้งในประเทศญี่ปุ่นเองและทั่วทุกมุมโลก คือบริการโซลูชั่นครบวงจรในเรื่องกรอบบานอะลูมิเนียม จากประสบการณ์มากกว่าครึ่งทศวรรษ สู่การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และทำการตลาดให้หลากหลาย เหมาะสมครบกับทุกความต้องการของลูกค้าทุกรูปแบบ ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างยั่งยืนยาวนาน

เทรนด์พื้นที่ทำงานหลังวิกฤตการณ์ COVID-19

เทรนด์พื้นที่ทำงานหลังวิกฤตการณ์ COVID-19

ช่วงชีวิตหลังวิกฤตการณ์ Covid-19 เปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานของเราไปโดยสิ้นเชิง เทคโนโลยีถูกดึงศักยภาพอย่างเต็มที่เพื่อใช้ให้งานเดินอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังจากที่ทุกคนต้องสร้างระยะห่างให้กันและกัน ไม่ว่าจะจากการกักตัวทำงานอยู่กับบ้าน หรือการจำกัดระยะห่างของพื้นที่หรือ Social Distancing ถึงทางแก้อย่างการทำงานอยู่กับบ้านจะพอช่วยได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ด้วยรูปแบบการทำงานในองค์กรที่ยังคงต้องการระดมสมอง หรือการทำงานร่วมกันในพื้นที่สำหรับทำงานโดยเฉพาะ นั่นเป็นโจทย์ท้าทายของนักออกแบบที่จะสร้างพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่ซึ่งตอบเรื่องสุขภาวะเป็นสำคัญ ทั้งในแง่ความสะดวกสบายเหมาะสมกับการทำงาน การสร้างสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เกิดความสุข โดยยังคงต้องรักษาระยะห่าง ป้องกันการสัมผัสระหว่างกันและกันให้ได้มากที่สุด (เครดิตภาพ Photo by Austin Distel on Unsplash)

Hygienic Station

สิ่งที่ต้องเพิ่มขึ้นมาหลังจากการระบาดของโรค คือพื้นที่เล็กๆ สำหรับการตรวจคัดกรอง หรือให้บริการการฆ่าเชื้อโรค เราอาจจะได้เห็นทางเข้าออฟฟิศที่ติดตั้งอ่างล้างมือสำหรับล้างมือให้สะอาดก่อนเข้าสู่พื้นที่ทำงาน โดยทั้งหมดร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Touchless อย่างการใช้อ่างล้างมือระบบเซ็นเซอร์ หัวจ่ายน้ำยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ หรือสเตชั่นเครื่องฆ่าเชื้ออุปกรณ์ด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต เป็นต้น (เครดิตภาพ Photo by Sanibell BV on Unsplash)

Keep-Distancing Workspace

รูปแบบการจัดวางผังพื้นสำหรับโต๊ะทำงานแบบโอเพ่นแปลนยังอยู่ได้ โดยการสร้างระยะห่างให้มากขึ้น จากเดิมที่เคยนั่งเรียงกันเป็นแถวตามความยาวของโต๊ะ จะเกิดการคั่นกลางระหว่างผู้ทำงานสองคนด้วยสเตชั่นที่ช่วยฟิกซ์กำหนดระยะห่างระหว่างแต่ละโต๊ะทำงานให้คงที่ โดยยังคงสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

(เครดิตภาพ Photo by Yolk CoWorking – Krakow on Unsplash)

Microbial-Resistant Materials

นอกจากรูปแบบการจัดสรรพื้นที่แล้ว อีกส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้วัสดุสำหรับใช้งานและตกแต่งในพื้นที่ทำงาน จะเน้นเลือกวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ถูกกัดกร่อนโดยสารเคมีสำหรับการฆ่าเชื้อ โดยจะต้องมีพื้นผิวลื่นเรียบเสมอกัน ไม่อมฝุ่นและไม่มีร่องรอยต่อมากนัก หรือหากเป็นผืนผ้า จะต้องมีคุณสมบัติในตัวที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย อย่างผ้าบุที่ผสมสารนาโนปลอดแบคทีเรีย

(เครดิตภาพ Photo by Alex Bachor on Unsplash)

Graphic Design for Wayfinding

บทบาทของกราฟิกดีไซน์ในสำนักงาน นอกเหนือจากการใช้เป็นป้ายบอกทางหรือบอกห้องแล้ว งานออกแบบกราฟิกในออฟฟิศจะสนุกขึ้นด้วยงานดีไซน์ที่ช่วยกำหนดระยะห่างของการใช้งานพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นความท้าทายของกราฟิกดีไซเนอร์และอินทีเรียร์ดีไซเนอร์ที่จะออกแบบวิธีการบอกตำแหน่งอย่างสร้างสรรค์​ จากเดิมที่ใช้เป็นการติดสติ๊กเกอร์กับพื้นที่เพื่อบอกระยะยืน อาจจะถูกแทนที่ด้วยการสร้างสรรค์ป้ายบอกในแนวอื่นๆ เช่นบนผนัง หรือรูปแบบของพื้นที่ที่จำกัดจำนวนการใช้งานของคนในระยะเวลาสั้นๆ

(เครดิตภาพ Photo by Mak on Unsplash)

สรุปแนวคิดสำคัญในงาน TOSTEM Creative Talk Re-imagine The Living Space

สรุปแนวคิดสำคัญในงาน TOSTEM Creative Talk Re-imagine The Living Space

บรรยากาศการเปิดโชว์รูม TOSTEM Flagship Showroom ที่ Crystal Design Center (CDC) อย่างเป็นทางการ กับเย็นวันศุกร์แห่งความสุข ที่นอกจากกลุ่มเพื่อนรักนักออกแบบจะได้มาพบปะสังสรรค์กันแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้กันกับงาน Creative Talk ที่ทอสเท็มจัดขึ้นเพื่อชวนทุกคนมาแชร์ประสบการณ์ออกแบบร่วมกัน ภายใต้หัวข้อ ‘Re-imagine The Living Space’ พื้นที่อยู่อาศัยจากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต ถูกพัฒนาและเดินหน้าต่อไปในรูปแบบใดได้บ้าง นำโดย คุณโอ๋ ชนะ สัมพลัง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 เฮาส์ดีไซน์ จำกัด (A49HD) และคุณปอย ไพทยา บัญชากิติคุณ ผู้ก่อตั้ง ATOM Design มาร่วมเล่าเรื่องราวผ่านงานดีไซน์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์พื้นที่อยู่อาศัยที่ดีสำหรับทุกคน

หรือจริงๆ Normal ที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มันไม่ครบ

แล้ววันนี้เราจะสรรหา New Normal จริงๆ

มันไม่ใช่ New เราแค่ทำในสิ่งที่เราควรจะทำในอดีตไม่พอ”

– คุณชนะ สัมพลัง

Vernacular ถูกดีไซน์จากสิ่งที่เกิดตอนนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรค เรื่องสุขลักษณะ เราเดินขึ้นบ้าน ในอดีตเราต้องล้างเท้าก่อนเข้าบ้านเสมอ เพราะไม่มีใครจะป้องกันเราได้นอกจากตัวเราเอง การทำความรู้จักอาคารบ้านในอดีตมันสอนเราว่า Living Space ที่ดีมันควรเป็นอย่างไร ในเวลาตอนนั้น แต่ว่าวันนี้เมื่อเราพัฒนาเรือนของเรา เราพัฒนาสิ่งแวดล้อมเราให้มันดียิ่งขึ้น เราก็ลืมป้องกันตัวเอง ผมว่าโควิดมันสอนอะไรบางอย่างได้ ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา เราใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือไม่ก็มีห้องอาบน้ำก่อนเข้าบ้าน มันกลายเป็นสิ่งที่ผมก็ย้อนภาพว่า หรือจริงๆ Normal ที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มันไม่ครบ แล้ววันนี้เราจะสรรหา New Normal จริงๆ มันไม่ใช่ New เราแค่ทำในสิ่งที่เราควรจะทำในอดีตไม่พอ

เวลาพูดถึงเรื่องสถาปัตยกรรม เราจะค้นหาว่า ทางเข้าคืออะไร

ห้องนั่งเล่นเราจะเล่นดีไซน์อะไร เล่นกับแสงหรือสเปซ

แต่จริงๆ แล้ว หลายอย่างที่เราจำเป็นต้องศึกษาจริงๆ ก็คือ เขาอยู่กันอย่างไร

– คุณชนะ สัมพลัง

หลายครั้งที่ผมทำบ้าน ผมก็จะต้องมีไดอะแกรมที่เปลี่ยนไปตามชีวิตของคนที่อยู่ในบ้านนั้นๆ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนใช้ไดอะแกรมเดียวกัน ทุกสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมมักจะต้องถามลูกค้าเสมอว่า เขาเข้าห้องน้ำอย่างไร เขาเก็บจานที่พึ่งทานข้าวเสร็จไปไว้ที่ไหน คนขี้เกียจอยู่บ้านอย่างไร คนเนี้ยบมากๆ อยู่บ้านอย่างไร นั่นคือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาอย่างยิ่งในการทำบ้าน ทุกครั้งที่ผมสัมภาษณ์ลูกค้า ผมเรียกมันว่าการรีเสิร์ช เรากำลังขุดสิ่งที่อยู่ในใจเขาออกมา แล้วกำลังขุดสิ่งที่เขาคุ้นเคยหรือไม่คุ้นเคย และสิ่งที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาของคนที่อยู่ในสถาปัตยกรรมของเรา

ผมมองภาพว่าการทำให้อาคารที่เป็นมรดกของชาติอยู่ร่วมกับประเทศนี้ได้

ต้องทำให้เขาอยู่อย่างยั่งยืน และร่วมสมัยได้

– คุณชนะ สัมพลัง

ผมมองภาพว่าการทำให้อาคารที่เป็นมรดกของชาติ หรือโบราณสถานต่างๆ อยู่ร่วมกับประเทศนี้ได้ ต้องทำให้เขาอยู่อย่างยั่งยืน ทำให้เขาอยู่ร่วมสมัยได้ เขายังมีชีวิตแบบน่าภูมิใจได้มากกว่าการที่เขาอยู่เงียบๆ สต๊าฟเขาไว้ให้ทุกคนคอยชื่นชม เวลาถามใครว่า บ้านเก่าอยากให้เอาไปทำเป็นอะไร ทุกคนตอบว่าอยากให้ทำมิวเซียม สุดท้ายพอเป็นมิวเซียม ก็ไม่มีใครไปเดิน มันไม่สามารถอยู่ได้ในโลกวันนี้ เพราะว่าเขามีค่าเมื่อร้อยปีที่แล้ว ค่าของวันนี้มันปรับตัวเองเปลี่ยนไป นี่คือสิ่งที่ผมสนใจ

ทุกโครงการที่ทำ หวังว่าจะทำให้เมืองดีขึ้นเท่าที่จะทำได้

คุณไพทยา บัญชากิติคุณ

ในพื้นที่ห้องคอนโด 21 ตารางเมตร สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือว่า จะทำอย่างไรให้คนอยู่ในสเปซที่ดีได้มากขึ้น เงื่อนไขเบสิคในการใช้ชีวิตดูไม่ได้ต่างจากเดิม ในแง่ของโปรเจ็คต์ เขาต้องการหาจุดขายพิเศษขึ้นมา เราก็พยายามก็จะหาสิ่งดีๆ ตอบให้คนอยู่ได้ดีจริงๆ อย่างพื้นที่สีเขียว พอเดเวล็อปเปอร์ต่างๆ เริ่มทำ กลับกลายเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานให้กับคนอยู่ว่า ไลฟ์สไตล์ของฉันจะต้องเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักออกแบบทำอยู่เป็นการเซ็ตเทรนด์ของไลฟ์สไตล์ ว่าเราอยู่ในสเปซที่เล็กได้ และก็มีส่วนกลางที่ใหญ่เพื่อให้ใช้ชีวิตได้จริง

พอหลังจากโควิดแล้ว มีคนถามเยอะมากว่า Living Room ต้องใหญ่ขึ้นไหม

และกลายเป็นว่า ครัวคือสิ่งเยียวยาจิตใจ

คุณไพทยา บัญชากิติคุณ

ตอนนี้กระแส New Normal มีผลระดับหนึ่งในแง่ของการเซ็ตกลยุทธ์ในการทำโปรดักต์ของปีหน้าและปีถัดๆ ไป ถึงแม้ทุกอย่างจะเริ่มดีขึ้น ตอนนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ว่า ก่อนหน้าโควิด ห้องเล็กๆ มักจะตัดแพนทรี่ออก พอหลังจากโควิดแล้ว มีคนถามเยอะมากว่า Living Room ต้องใหญ่ขึ้นไหม และกลายเป็นว่า ครัวคือสิ่งเยียวยาจิตใจ หรืออย่างเมื่อก่อน พื้นที่ทำงานในคอนโดจะนั่งทำงานบนโต๊ะรับประทานอาหาร พอต้อง Work From Home จริงๆ พบว่า เราเก็บของทุกครั้งที่กินข้าวไม่ได้ ตอนนี้ห้องในคอนโดจำเป็นต้องมีพื้นที่ทำงาน เราจึงต้องตั้งคำถามว่า ห้องต้องใหญ่ขึ้นอีกไหม หรือจากสภาพเศรษฐกิจอย่างในปัจจุบัน เงินมูลค่าเท่าเดิมสามารถซื้อห้องในบางทำเลได้ใหญ่ขึ้นถึง 25%

หลายที่ยังทำงานแบบ Work From Home

ตรงนี้ก็เหมือนเป็นการทดลองการทำงาน

และแปลว่า คนจะต้องอยู่ในพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น

คุณไพทยา บัญชากิติคุณ

คำว่า Decentralization (การกระจายออกจากเมือง) มันเริ่มเห็นจริงๆ เพราะบริษัทที่ผมทำงานด้วยหลายเจ้าก็ยัง Work From Home อยู่เลย ดังนั้นตรงนี้ก็เริ่มเหมือนเป็นการทดลองว่า การทำงานแบบนี้ยังได้ประสิทธิภาพการทำงานสูงเหมือนเดิมไหม ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี แปลว่าคอนโดมิเนียมอาจจะมีโอกาสทำให้คนต้องอยู่ที่พักมากขึ้น ถึงแม้จะหมดจากโควิดแล้ว คนก็ยังพร้อมที่จะอยู่บ้านทำงาน และพื้นที่อย่างส่วน Co-Working Space ก็มีความพยายามสร้างความเข้าใจที่ว่า หลังจาก Decentralize แล้ว ควรจะเป็นไปในทิศทางใด นั่นคือสิ่งที่ต้องหาคำตอบด้วยการสังเกต ซึ่งน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร

หน้าบานแข็งแรง ด้วยระบบล็อกดีไซน์พิเศษจากทอสเท็ม

หน้าบานแข็งแรง ด้วยระบบล็อกดีไซน์พิเศษจากทอสเท็ม

เพราะประตูหน้าต่างคือพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายในและภายนอกบ้าน นอกเหนือจากฟังก์ชั่นเรื่องความงาม มอบบรรยากาศดีให้กับบ้าน พร้อมกับการระบายอากาศเพื่อให้การอยู่อาศัยเกิดสุขลักษณะที่ดี หัวใจสำคัญของบานประตูหน้าต่างสำหรับทุกบ้านคือเรื่องความปลอดภัย ที่เป็นหัวเรื่องใหญ่ทุกคนต้องการเป็นอันดับแรก ระบบล็อกที่ทำงานร่วมกันหลายส่วนอย่างแน่นหนา ออกแบบพิเศษจากทอสเท็มในบานประตูหน้าต่างทุกรุ่น จึงเป็นอีกส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้งานบานหน้าต่างได้อย่างมั่นใจตลอดการอยู่อาศัยภายในบ้านหลังนี้ ตอบโจทย์ “โซลูชั่นที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์” อันเป็นปณิธานของทอสเท็ม

Security Lock

ตัวล็อกพื้นฐานมักติดตั้งบริเวณมือจับ แต่ความพิเศษของกรอบบานหน้าต่างของทอสเท็มนั่นคือการออกแบบระบบล็อกที่แน่นหนาขึ้นกว่าที่เคยด้วย Security Lock สำหรับล็อกแบบก้านโยก ป้องกันการล็อกไม่สนิทได้อย่างสมบูรณ์ อุ่นใจทุกครั้งที่บิดล็อกเรียบร้อยแล้ว Security Lock อยู่ในกรอบประตูหน้าต่างของทอสเท็มรุ่น WE Plus, P7, WE70

Multi-locking System

ระบบมัลติล็อก ล็อกหลายตำแหน่งที่ช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยและความแข็งแรง ที่ทอสเท็มออกแบบให้ติดตั้งกับตัวกรอบบานกับการล็อกบานหลากหลายวิธี พร้อมกับตัวมือจับมัลติล็อก ซึ่งการล็อกหลายระดับทำให้การล็อกบานแน่นหนาตลอดตามแนวหน้าบาน Multi-Lock System อยู่ในกรอบประตูหน้าต่างของทอสเท็มรุ่น WE Plus และ GRANTS

Outer-Panel Lock

หลายครั้งที่ยังรู้สึกไม่มั่นใจถึงจะล็อกกรอบบานหน้าต่างเรียบร้อยแล้ว ทอสเท็มออกแบบตัวล็อกบาน เพื่อป้องกันการงัดเปิดบานจากฝั่งนอกบ้านเพิ่มอีกขั้น สามารถปรับระดับตัวล็อกได้ง่าย เสริมความปลอดภัยให้กับการอยู่อาศัยอย่างสบายใจขึ้นอีกระดับ ติดตั้งกับบานเลื่อนประตูและหน้าต่างของทอสเท็มทุกรุ่น

High Security Sub-Lock

ล็อกเสริมเพิ่มความมั่นใจกับกรอบบานหน้าต่าง ด้วยระบบล็อกเสริมระหว่างหน้าบานกับกรอบโปรไฟล์แนวตั้ง ช่วยเสริมให้การล็อกกรอบบานแน่นหนาขึ้นโดยทำงานร่วมกันกับระบบล็อกหลายส่วนร่วมกันที่ออกแบบพิเศษจากทอสเท็ม High Security Sub-Lock อยู่ในกรอบประตูหน้าต่างของทอสเท็มรุ่น P7