fbpx

Author Archives: GRANTScreativeWe40

Why Aluminium Door & Window ทำไมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ถึงน่าใช้งาน?

Why Aluminium Door & Window ทำไมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม ถึงน่าใช้งาน?

ก่อนจะพูดถึงวัสดุอะลูมิเนียม เราอาจจะต้องขอกล่าวถึงวัสดุทั่วไปที่นำมาใช้ทำเป็นกรอบบานประตูหน้าต่างกันก่อนครับว่ามีวัสดุอะไรบ้าง โดยเริ่มจาก “ไม้” วัสดุดั้งเดิมที่ปัจจุบันนั้นเริ่มถูกนำมาใช้งานน้อยลง โดยวัสดุไม้นั้นแม้มีความสวยงามเฉพาะตัวที่หาตัวแทนยาก แต่เรื่องของความทนทานต่อสภาพแดดฝน แมลงต่างๆ รวมถึงการบิดงอตามธรรมชาติของตัววัสดุเอง ก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ ที่ทุกคนต่างไม่อยากพบเจอ

ต่อมาคือวัสดุ “เหล็ก” ส่วนใหญ่เป็นการนำเหล็กมาเชื่อมต่อหรือประกอบให้ได้ขนาดและรายละเอียดที่ต้องการ มีข้อดีที่แข็งแรง หนักแน่น แต่ไม่ทนสนิม และมีน้ำหนักมาก ไม่เหมาะสำหรับการใช้ภายนอกกันฝนสาดเท่าใดนักเพราะไม่มีรายละเอียดของหน้าตัดกรอบบาน ที่สามารถป้องกันน้ำฝนได้ดีพอนั่นเอง ส่วน “PVC” หรือ Poly vinyl chloride นั้นเป็นวัสดุรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นไม่นานนัก แต่ด้วยตัววัสดุมีข้อจำกัดเรื่องความแข็งแรง และเรื่องของสีที่มีเพียงสีขาว ความหลากหลายในการใช้งานจึงไม่มากนัก รวมถึงการที่ PVC มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับกรอบบานวัสดุอื่นๆ โดยที่ตัวมันเองไม่สามารถทำประตูหน้าต่างบานใหญ่พิเศษได้ เพราะไม่แข็งแรงพอนั่นเอง และสุดท้ายกับวัสดุที่ยังคงมาตรฐาน ทั้งเรื่องความงามและความทนทานอย่าง “อะลูมิเนียม” คือวัสดุที่ตอบทุกโจทย์และลบข้อด้อยของทุกวัสดุที่กล่าวมาข้างต้นได้เป็นอย่างดี โดยจะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น ลองไปชมกัน…

1. ทนทาน สวยนาน วัสดุอะลูมิเนียม เป็นวัสดุธรรมชาติที่ได้มาจากการสกัดแร่อะลูมินา เป็นวัสดุที่ทนความร้อนสูง แผ่ความร้อนต่ำ เป็นโลหะที่ได้รับความนิยมนำมาใช้งานมากที่สุดในกลุ่มโลหะทั้งหมด เพราะอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติ ที่โดดเด่นหลายประการเช่น อะลูมิเนียมทนทานต่อการเกิดสนิม และการผุกร่อน ซึ่งทำให้อาคารที่ใช้ประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมนั้นมีทั้งความทนทานและความงามควบคู่กันไป

2. บวกกับการออกแบบที่ดี อะลูมิเนียมจะเป็นวัสดุที่ทำบานประตูหน้าต่างดีที่สุด วัสดุที่แข็งแรงทนทานอย่างอะลูมิเนียม บวกกับการออกแบบที่คิดและใส่ใจทุกรายละเอียดจะทำให้ได้ประตูหน้าต่างที่สวยงามและแข็งแรงที่สุด เพราะด้วยตัววัสดุเองเอื้อต่อการออกแบบรายละเอียดภายในที่ซับซ้อนได้ รวมถึงการจบงานเก็บรายละเอียดที่เรียบร้อย ลงตัว

3. มีความทนทานต่อสภาพอากาศเมืองไทย เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพอากาศของไทยนั้นมีความรุนแรงเพียงใด ทั้งลม ฝน แสงแดด และวัสดุอะลูมิเนียมก็มีคุณสมบัติที่สามารถทนทานต่อแสงแดดได้ดี สีไม่ซีดจาง ไม่มีการบิด งอ รวมถึงฝนนั้นก็ไม่ใช่ปัญหาเพราะอะลูมิเนียมนั้นทนทานต่อการเกิดสนิม และป้องกันน้ำฝนรั่วซึมเข้ามาภายในอาคารได้ดีเยี่ยม

4. สีสันที่คงทน ไม่ซีดจาง ปัจจุบันมีวิธีการทำสีอะลูมิเนียมที่เป็นที่นิยมอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ 1. อะโนไดซ์ (Anodize) 2. พาวเดอร์โค้ท (Powder Coat) แต่วิธีที่ทำให้สีติดทนทานคือวิธีการทำอะโนไดซ์ ซึ่งเป็นการทำปฏิกิริยาทางเคมี ให้เนื้อสีนั้นเข้าไปอยู่ในเนื้อของอะลูมิเนียมและเคลือบที่ผิวได้ติดทนนานกว่าการทำสีแบบพาวเดอร์โค้ท ที่เปรียบเสมือนการพ่นหรือทาสีเท่านั้น

5. แข็งแรงแต่น้ำหนักเบา เนื่องจากอะลูมิเนียมมีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา แต่กลับมีความแข็งแรงสูง สามารถรับแรงดึงและนำมาทำเป็นกรอบประตูหน้าต่างได้อย่างแข็งแรงทนทาน ไม่จำเป็นต้องมีแกนเหล็กเสริมเหมือนอย่าง PVC ที่หากต้องการทำบานเปิดที่มีขนาดใหญ่ ต้องมีการเสริมเหล็กภายในบานวงกบและทำให้น้ำหนักโดยรวมนั้นเพิ่มมากขึ้น เป็นภาระให้กับโครงสร้างอาคารได้ และมีความเสี่ยงต่อการเกิดสนิมของเหล็กภายใน

6. ป้องกันเสียงรบกวนได้ดี หน้าที่หลักของประตูหน้าต่างอีกอย่างหนึ่งคือการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกให้ได้มากที่สุด ซึ่งนั่นทำให้อะลูมิเนียมเป็นวัสดุที่ชนะวัสดุอื่นๆ เพราะสามารถออกแบบหน้าตัดของวงกบและตัวบานให้ปิดได้สนิท ให้สามารถป้องกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องมีอุปกรณ์กันเสียงอื่นๆที่ได้คุณภาพ เช่นระบบล็อค ยางกันน้ำ หรือแม้แต่แผ่นกระจกที่นำมาติดตั้งต้องเสริมประสิทธิภาพการป้องกันเสียงได้ด้วยเช่นกัน จึงจะทำให้บานประตูหน้าต่างนั้นเป็นบานที่สามารถกันเสียงรบกวนได้ดีที่สุด

7. สามารถออกแบบให้ดูสลิม โมเดิร์นได้ ด้วยตัวของอะลูมิเนียมเองที่มีความแข็งแรงในเนื้อวัสดุรองรับการออกแบบให้มีความหนาและบางได้ตามต้องการตามความเหมาะสม เพื่อประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักและการต้านทานแรงลมนั้น รูปแบบของบานอะลูมิเนียมจึงสามารถออกแบบให้ดูเรียบหรู บาง และดูเบาได้ง่ายกว่าวัสดุอื่นๆ

8. ความรู้สึกถนัดมือและมั่นใจเวลาใช้งาน ไม่เบาไม่หนักเกินไป เมื่อรวมน้ำหนักบานทั้งหมด ทั้งกระจก อุปกรณ์บานพับ มือจับ ต่างๆแล้ว บานจากวัสดุอะลูมิเนียมจะมีน้ำหนักที่พอดี กล่าวคือไม่เบาและไม่หนักเกินไป ซึ่งสิ่งนี้มีผลต่อความรู้สึกตอนใช้งานเป็นอย่างมาก เพราะหากเบาไปจะรู้สึกไม่แข็งแรง ไม่ปลอดภัย หากหนักไปก็ใช้งานยากลำบากนั่นเอง

จากโรงงานเมืองไทย คุณภาพส่งออกสู่ญี่ปุ่น

จากโรงงานเมืองไทย คุณภาพส่งออกสู่ญี่ปุ่น

TOSTEM คือผลิตภัณฑ์สินค้าจากญี่ปุ่นที่ได้รับการยอมรับทั้งในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานในระดับสากลเป็นเวลากว่า 90 ปี การที่ TOSTEM มาเปิดโรงงานและสายการผลิตที่ประเทศไทย และที่สำคัญคือ สินค้าจากโรงงาน TOSTEM ในประเทศไทยยังถูกส่งออกไปยังผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นด้วย จึงนับว่าเป็นการยืนยันถึงศักยภาพของสินค้าที่ผลิตจากโรงงานไทยว่ามีมาตรฐานเทียบเท่ากับสินค้าที่ผลิตจากญี่ปุ่น เราจึงขอพาไปคุยในเรื่องการควบคุมมาตรฐานจนได้รับความไว้วางใจจากทั้งชาวไทยและชาวญี่ปุ่น

มาตรฐานและคุณภาพ มาตรฐานและคุณภาพคือหัวใจสำคัญของ TOSTEM และประเทศญี่ปุ่นก็ขึ้นชื่อเรื่องความเข้มงวดในการควบคุมมาตรฐาน ด้วยระบบ Quality Assurance การรับประกันคุณภาพ และ Quality Control การควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในระดับสากล จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าทุกชิ้นจากโรงงานของ TOSTEM ในประเทศไทยมีคุณภาพสูง ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์เอง ระบบการประกอบ และระบบการติดตั้งที่หน้างาน

มาตรฐานเต็มรูปแบบเทียบเท่าญี่ปุ่น โรงงานผลิตของ TOSTEM ในประเทศไทยพิเศษตรงที่เป็นโรงงานผลิตสินค้าเต็มรูปแบบตามมาตรฐานเทียบเท่าโรงงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมี R&D Center ผู้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ Testing Center ศูนย์ทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานทั้ง JIS ของประเทศญี่ปุ่น และ ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้มั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่ผลิตจากโรงงาน TOSTEM แห่งนี้ จะคงคุณภาพเดียวกันทั้งหมด

ผลดีกลับคืนสู่ผู้บริโภค ผลิตผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนของส่วนประกอบทุกชิ้นที่ออกจากโรงงาน TOSTEM ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย มีความแม่นยำสูง อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ บุคลากรผู้ควบคุมการผลิต ที่มีระบบการทำงานด้วยคู่มือเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารคุณภาพแบบญี่ปุ่นในโรงงานประเทศไทยเอง ข้อดีคือการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดประเทศไทย เนื่องด้วยเรื่องของต้นทุนการผลิต และยังเป็นผลดีกับผู้บริโภคเองที่ได้รับการบริการหลังการขายที่รวดเร็วขึ้น

ทำไมจึงเลือกตั้งโรงงานที่ประเทศไทย? ช่างฝีมือคือข้อได้เปรียบของประเทศไทยในสายงานการผลิตเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเหตุผลในเรื่องทางภูมิศาสตร์ ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของประเทศในกลุ่มอาเซียน จึงเกิดข้อได้เปรียบในเรื่องการขนส่งทั้งภาคพื้นดิน และการขนส่งทางเรือ ทาง TOSTEM จึงเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตใหญ่ที่สำคัญ

BAAN Chaichucherd บ้านที่มีคอร์ทยาร์ดเพื่อสร้างโลกส่วนตัว

BAAN Chaichucherd บ้านที่มีคอร์ทยาร์ดเพื่อสร้างโลกส่วนตัว

Location: เชียงราย ประเทศไทย Owner: คุณ ธนาทิต ชัยชูเชิด Architect: Materior Studio แมททีเรีย สตูดิโอ คุณสุเมธ กล้าหาญ, คุณพงศกร ณ พัทลุงและคุณพิสิฐ ฟุ้งสุข Photograph: ศุภกร ศรีสกุล Contractor: ธนานันต์ นัยนา

สำหรับบ้านหลังสีขาวที่ดูภายนอกเรียบง่ายและสะอาดตาขนาด 2 ชั้นอย่าง ‘บ้านชัยชูเชิด’ หลังนี้ แต่ใครจะรู้ว่าภายในบ้านกลับซุกซ่อนสเปซเฉพาะตัวเอาไว้อย่างแยบยล ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 600 ตารางเมตรสถาปนิกจาก Materior Studio นำโดย คุณสุเมธ กล้าหาญ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของบ้านหลังนี้ที่ใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างไว้อย่างน่าสนใจว่า

“บ้านชัยชูเชิดเริ่มต้นมาจากทางเจ้าของบ้านต้องการสร้างบ้านที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ภายนอกเราจึงออกแบบช่องเปิดเท่าที่จำเป็น และเปิดมุมมองจากภายในเป็นสำคัญ โดยนำคอร์ทยาร์ดมาทำหน้าที่เชื่อมต่อ circulation ต่างๆ ภายในบ้าน” โดยเริ่มตั้งแต่การวางฟังก์ชัน สถาปนิกเริ่มจากการวางตำแหน่งคอร์ทยาร์ดขนาดใหญ่ไว้กลางบ้านโดยจัดเรียงฟังก์ชันต่างๆ ล้อมเอาไว้ เพื่อให้แสงธรรมชาติส่องไปยังห้องต่างๆ ในบ้านได้อย่างทั่วถึง เสริมกับการปลูกไม้ยืนต้นอย่างต้นเสม็ดแดงเอาไว้ นอกจากให้ร่มเงาแล้ว ยังช่วยสร้างความสุนทรีย์ให้กับผู้ใช้พื้นที่ชั้นสองที่จะสามารถเห็นทิวยอดไม้ได้

นอกจากคอร์ทยาร์ดขนาดใหญ่ใจกลางบ้านแล้ว สถาปนิกยังนำลักษณะของคอร์ทยาร์ดมาวางยังตำแหน่งอื่นๆ ของบ้าน อย่างบริเวณทางเข้าตัวบ้านติดกับที่จอดรถเพื่อทำหน้าที่สร้างการรับรู้ถึงการกำลังเข้าสู่สเปซที่เป็นส่วนตัว โดยสถาปนิกสร้างความพิเศษด้วยการสร้างบ่อปลาขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ อีกทั้งเสียงของน้ำตกยังสร้างบรรยากาศผ่อนคลายต่อเนื่องไปกับคอร์ทยาร์ดใหญ่บริเวณกลางบ้านนั่นเอง

ด้วยโปรแกรมการออกแบบจากเจ้าของบ้านที่มีสมาชิกอยู่ด้วยกันหกคน และต้องสร้างห้องนอน 5 ห้องด้วยกัน ด้วยความที่มีสมาชิกที่อยู่ในบ้านหลากหลายเจนเนอเรชั่น ทั้งคุณพ่อคุณแม่ รุ่นลูก คุณยายและคุณน้า ทำให้เจ้าบ้านซึ่งก็คือคุณพ่อคุณแม่ต้องการเห็นกิจกรรมของสมาชิกในบ้าน เผื่อในกรณีที่ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหรือรับรู้ว่าลูกๆ อยู่ส่วนไหนของบ้าน ผู้ออกแบบจึงนำความต้องการของเจ้าบ้านมาออกแบบฟังก์ชั่นโดยใช้คอร์ทยาร์ดเป็นสื่อกลางสามารถมองไปยังห้องฝั่งตรงกันข้ามแต่ยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้พื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์

ในส่วนธีมบ้านที่ขาวสะอาดนั้นสถาปนิกเสริมว่าต้องการให้บ้านเป็น background สีขาวเตรียมไว้ให้เจ้าของบ้านสำหรับค่อยๆ แต่งแต้มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งในบ้านด้วยตนเอง ด้วยสีขาวเองเป็นสีที่สามารถเข้าสีใดก็ได้ทำให้ทุกเฟอร์นิเจอร์ที่เจ้าของบ้านเลือกนั้นแสดงตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างเต็มที่ โดยสถาปนิกจะช่วยเลือกขนาดหรือสีในบางชิ้น เพื่อให้เฟอร์นิเจอร์เข้ากับสเปซของบ้านได้อย่างพอเหมาะและลงตัว

ความพิเศษอีกประการหนึ่งของบ้านชัยชูเชิด คือ การเตรียมความพร้อมในเรื่องของโครงสร้าง เนื่องจากจังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีเหตุแผ่นดินไหวเป็นระยะ สถาปนิกจึงออกแบบโครงสร้างขนาดใหญ่และใช้เหล็กมากกว่าปกติเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับตัวบ้านเผื่อไว้ในกรณีที่เชียงรายนั้นเกิดแผ่นดินไหว

แม้สถาปนิกจะใช้ช่องเปิดภายนอกเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวให้เกิดกับสเปซภายในให้มากที่สุด ด้วยการเลือกใช้วัสดุต่างๆ ไปจนถึงประตูและหน้าต่างจึงต้องตอบโจทย์เรื่องความสวยงาม แข็งแรงและสร้างความส่วนตัวให้เวลาเดียวกัน

“สำหรับประตูและหน้าของบ้านหลังนี้ เราเลือกใช้ TOSTEM ทั้งหลังเลย หลักๆ ก็มาจากเจ้าของที่ต้องการความเป็นส่วนตัวเป็นพิเศษ นอกจากเราจะใส่ช่องเปิดเป็นบางจังหวะเท่านั้น และที่เลือกใช้ TOSTEM เพราะคุณสมบัติของตัวผลิตภัณฑ์ที่สามารถกันน้ำและกันเสียงได้ดีมาก โดยเราเลือกใช้รุ่น P7 และเลือกสีดำ เพื่อให้สีดำของวงกบตัดกับสีขาวของบ้านให้เกิดองค์ประกอบที่สวยงามยิ่งขึ้น”

แต่เหนือสิ่งอื่นใดนอกจากการออกแบบบ้านหลังนี้จะเน้นไปที่ฟังก์ชั่นเพื่อสร้างความส่วนตัวแล้ว ความสนุกที่ได้ออกแบบ คือ การได้ทดลองการใช้คอร์ทยาร์ดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างฟังก์ชั่น รวมไปถึงความไว้ใจของเจ้าของบ้านที่มีให้กับสถาปนิกจึงทำให้บ้านหลังนี้เสร็จสิ้นได้อย่างสวยงามและตรงกับไลฟ์สไตล์ของสมาชิกในครอบครัวได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดนั่นเอง 

LOCK SYSTEM ฟังก์ชั่นสำคัญของประตูหน้าต่าง

LOCK SYSTEM ฟังก์ชั่นสำคัญของประตูหน้าต่าง

ประสิทธิภาพของระบบล็อกคืออีกหนึ่งหัวใจหลักของประตูหน้าต่างที่เจ้าของบ้านต้องคิดถึงเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยในบ้านในแง่ความปลอดภัย ทั้งป้องกันการบุกรุกของบุคคลภายนอก และการปิดสนิทแน่นเพื่อป้องกันน้ำรั่ว ฝุ่นควัน และกลิ่นรบกวน ซึ่งระบบล็อกประตูนั้น นอกจากมือจับหรือกุญแจอย่างที่เคยรู้จัก ยังมีรูปแบบการล็อกใหม่ๆ ที่ช่วยให้การล็อกแข็งแรงและสนิทยิ่งขึ้น รวมทั้งระบบช่วยล็อกซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมที่ซ่อนอยู่ในกรอบบานประตูหน้าต่าง ซึ่งเราจะพาคุณมารู้จักทุกส่วนของงานล็อกประตูไปทีละสเต็ปพร้อมๆ กัน

มือจับประตูแบบก้านโยกและกุญแจ

Door Handle with Thumbturn Lock

ระบบการล็อกประตูแบบพื้นฐานที่สุดที่เห็นกันทั่วไป คือการใช้มือจับประตูแบบก้านโยกร่วมไปกับตัวล็อกกุญแจซึ่งฝั่งด้านในประตูเป็นตัวบิดเพื่อปลดล็อก ระบบการล็อกสองชั้นแบบนี้เหมาะกับการใช้งานบานประตูของที่พักอาศัย โดยมือจับแบบก้านโยกนอกจากความสวยงามแล้ว ยังใช้งานได้สะดวกกว่ามือจับลูกบิดแบบเดิมๆ ซึ่งรายละเอียดของรูปแบบการล็อกยังมีแตกแขนงอีกมากมายตามการใช้งาน เช่น ระบบล็อกอัตโนมัติทันที่ที่ปิดประตูแบบโรงแรม เป็นต้น

ระบบล็อกหลายจุด

Multi-Locking System

ในส่วนของหน้าต่างยังมีการเพิ่มเติมระบบความปลอดภัยและความแข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วยการใช้ระบบล็อกหลายจุด แค่ชื่อก็น่าจะเห็นภาพข้อดีของระบบการล็อกแบบนี้ คือช่วยเพิ่มความแน่นหนาและแข็งแรงให้กับการล็อกประตูมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการล็อกมากกว่า 1 จุดในการลงล็อกเพียงครั้งเดียว เหมาะสำหรับหน้าต่างที่ต้องการความแข็งแรงสูงอย่างเช่นหน้าต่างบนอาคารสูงที่ต้องปะทะลมแรงอยู่ตลอดเวลา

ระบบล็อกนิรภัยสำหรับบานเลื่อน

Security Lock for Sliding Window  and Door

ระบบล็อกแบบก้านโยกสำหรับประตูบานเลื่อนโดยเฉพาะ มีกลไกเสริมพิเศษที่สามารถป้องกันการลงล็อกไม่สนิท และยังมีข้อดีอีกอย่างคือเป็นการล็อกหน้าต่างทั้งสองบานในครั้งเดียว โดยเมื่อปิดล็อกแล้วจะไม่สามารถเลื่อนหน้าต่างทั้้งสองบานได้ ตัวล็อกแบบนี้เหมาะกับบานเลื่อนหน้าต่างทั้งภายนอกและภายในอาคาร

ล็อกป้องกันการยกบานออก

Panel anti-lift lock

ตัวล็อกกันยกบาน ติดตั้งที่บานเลื่อนบนรางนอกสุดเพื่อป้องกันการงัดเพื่อยกบานจากด้านนอกช่วยยกระดับความปลอดภัยให้กับบานเลื่อน และยังช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากบานหลุดออกจากราง

ปลอดภัยสูง ด้วยระบบล็อกเสริม

Sub-Lock

เพิ่มระดับความปลอดภัยที่มากขึ้นให้กับหน้าต่างบานเลื่อน ด้วยตัวล็อกเสริมบริเวณกรอบบานด้านล่างที่จะขัดล็อกหน้าต่างบานเลื่อน ไว้หากตัวล็อกหลักถูกทำลายโดยผู้บุกรุก จึงช่วยเสริมความปลอดภัยในทุกระนาบของบานหน้าต่างนอกเหนือจากตัวล็อกหลัก

Wind Performance ลมแรงเท่าไหร่ก็ไม่หวั่น ด้วยประสิทธิภาพการต้านทานลมของบานประตูหน้าต่าง

Wind Performance ลมแรงเท่าไหร่ก็ไม่หวั่น ด้วยประสิทธิภาพการต้านทานลมของบานประตูหน้าต่าง

หลังจากก่อนหน้านี้ เราเคยแนะนำเรื่องประสิทธิภาพการต้านทานน้ำฝนรั่วของบานประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมแล้ว สภาพอากาศภายนอก นอกเหนือจากร้อน หนาว ฝน สิ่งที่มาพร้อมฤดูกาลเหล่านี้ก็คือ ลม ซึ่งก็มีทั้งลมเย็นของอากาศดี และลมแรงของมรสุม และหากถามว่าส่วนใดของบ้านที่ต้องปะทะโดยตรงกับลมบ้าง นอกเหนือจากกำแพงที่ล้อมรอบบ้านแล้ว ประตูและหน้าต่างก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของกำแพงบ้านด้วย ดังนั้น ก่อนจะเลือกบานประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม จึงควรมาเรียนรู้มาตรฐานของประสิทธิภาพการต้านทานลมของกรอบบานไปพร้อมกัน

Wind Load Performance

เรียนรู้ประสิทธิภาพการต้านทานลม

เบื้องต้นที่ต้องรู้เรื่องการต้านทานลมหรือ Wind Loading ของประเทศไทย ซึ่งมีหน่วยเป็น Pascal (ปาสกาล) ยิ่งตัวเลขสูงมาก ยิ่งมีประสิทธิภาพการต้านทานลมมากตามไปด้วย ซึ่งค่าเหล่านี้อยู่ในสเป็คของบานประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมด้วย โดยเริ่มต้นที่ 800 Pascal หรือแรงดันที่เกิดจากลมที่ประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งมีความรุนแรงเทียบเท่ากับพายุโซนร้อน ดังนั้นพายุดีเปรสชั่นที่เกิดในเมืองไทยบ่อยๆ อยู่ที่ 40-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถใช้งานกรอบบานประตูนี้ได้ แต่ค่าของความต้านทานลมที่อยู่ในสเป็คของบานประตูหน้าต่างมีสูงถึง 1,200 Pascal นั่นก็เพราะเป็นมาตรฐานของหน้าต่างที่ใช้งานได้ทั่วโลก ดังนั้น ประเทศที่รับอิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่นบ่อยๆ อย่างแถบเอเชียตะวันออกและอเมริกาจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นพิเศษ รวมทั้งบนอาคารสูง ซึ่งแรงดันลมก็มีค่าสูงตามไปด้วย บานหน้าต่างที่เลือกใช้จึงควรใช้งานให้เหมาะสมตามค่าความต้านทานลมที่วิศวกรคำนวณให้

JIS Standards for Good Aluminium Door & Window

บานประตูหน้าต่างที่ดีตามมาตรฐาน JIS

TOSTEM ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น อยู่ภายใต้มาตรฐาน JIS หรือ Japanese Industrial Standards สำหรับประตูและหน้าต่างโดยเฉพาะ ได้อธิบายถึงสรรพคุณของบานประตูหน้าต่างที่ดีว่า เมื่อโดนแรงกระทำจากลมแล้ว บานหน้าต่างต้องแข็งแรง ไม่บิดไม่งอหลังจากโดนแรงปะทะ สามารถคงรูปและใช้งานเปิดปิดและล็อคได้ปกติ

Door & Window Selection

การเลือกบานประตูหน้าต่างสำหรับอาคาร

แม้ประเทศไทยจะมีเพียงพระราชบัญญัติบังคับเรื่องประสิทธิภาพการต้านทานลมเฉพาะสำหรับอาคารสูง ไม่ได้เจาะจงสำหรับส่วนบ้านพักอาศัยก็ตาม แต่การที่สร้างบ้านหรืออาคารได้ตามมาตรฐานในทุกส่วนประกอบนับเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เรามั่นใจในการพักอาศัยและใช้ชีวิตได้ตามอายุการใช้งานของอาคาร สำหรับบ้านในประเทศไทย แนะนำให้เลือกสเป็คของบานประตูที่ต้านทานแรงลมได้ 800 Pascal แต่หากต้องการใช้งานรุ่นที่มีประสิทธิภาพ 1,2000 Pascal ก็สามารถเลือกเผื่อได้ ก็จะได้สมรรถนะของบานประตูหน้าต่างที่แข็งแรงเพิ่มมากขึ้น

Door & Window Design

งานดีไซน์ประตู-หน้าต่าง

อย่างที่เคยรู้สึกกันว่า บานประตูที่ใหญ่ หนา และหนักกว่า จะแข็งแรงมากกว่า ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องจริง เพราะงานดีไซน์ก็เป็นอีกส่วนที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพความต้านทานลมนอกเหนือจากเรื่องตัววัสดุ บานประตูที่ใหญ่ขึ้น จะต้านทานการปะทะของลมได้ดี ร่วมไปกับอุปกรณ์ประกอบตัวบานที่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย อีกอย่างที่สำคัญคือโดยรอบกรอบบานประตูหน้าต่างต้องปิดสนิทแน่น เพื่อป้องกันน้ำและลมจากด้านนอกเข้าสู่ภายในบ้าน

Good Life in the Garden สังคมที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน

Good Life in the Garden สังคมที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน

ว่ากันว่าสังคมที่ดีเริ่มต้นจากครอบครัวที่ดี และครอบครัวที่มีความสุขก็ต้องอาศัยอยู่ในบ้านที่ถูกจัดสรรพื้นที่อย่างดีเพื่อส่งเสริมกิจกรรมและเสริมสร้างพัฒนาการ เช่นเดียวกันกับ “สังคมที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน” สโลแกนของโครงการอสังหาริมทรัพย์ของ Life and Living ที่โฟกัสกับทุกส่วนของงานออกแบบบ้านจัดสรรตั้งแต่พื้นที่ภายในบ้านจนถึงพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน และ Life in the Garden Rongpo-Motorway ก็คือโครงการล่าสุดที่ผสานสิ่งแวดล้อมที่ดีตามธรรมชาติเข้ากับการอยู่อาศัยที่สร้างความสุขให้สมาชิกครอบครัวและชุมชน

เราได้รับเกียรติจากคุณมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ ประธานกรรมการ บริษัท ไลฟ์ แอนด์ ลีฟวิ่ง จำกัด มาบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นหัวใจสำคัญที่ส่งต่อให้เห็นเป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริงในงานออกแบบบ้านสักหลังหนึ่ง “ที่ผ่านมาเราก็พยายามสืบทอดเจตนารมณ์นี้เข้าไปในโครงการ เข้าไปในตัวบ้าน ทุกแบบ จะสังเกตว่า บ้านของเราตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงปัจจุบัน เราจะคิดบนพื้นฐานของวิถีชีวิตในครอบครัว”

เริ่มจากฟังก์ชั่นภายในบ้านที่มีการจัดฟังก์ชั่นในรายละเอียดที่แตกต่างจากโครงการบ้านโดยทั่วไป ซึ่งอ้างอิงมาจากไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมการอยู่อาศัยร่วมกันเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับสมาชิกในครอบครัวทุกคน อย่างการเพิ่มมุมกิจกรรมพิเศษสำหรับเด็ก นอกเหนือจากมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหารซึ่งเป็นพื้นที่รวมตัวของสมาชิกครอบครัว “เรามองว่ามุมนี้จะเป็นมุมซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเด็ก เพราะถ้าเขามีพื้นที่ส่วนตัว เขาจะหวงแหนพื้นที่ของเค้า เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ผลักดันให้เด็กมีแรงดลใจและมีความรับผิดชอบให้กับตัวเอง”

อีกส่วนที่สำคัญคือการเชื่อมต่อมิติทางการใช้งานภายในบ้านออกสู่ภายนอกบ้าน เพื่อดึงสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วมกับทุกกิจกรรมของการใช้ชีวิต โดยใช้ความพิเศษของการขยายช่องเปิดภายในบ้านให้กว้างกว่าบ้านทั่วไปเพื่อฟังก์ชั่นที่เหมาะสม เช่น การกำหนดขอบหน้าต่างให้อยู่ในระดับสูง และการใช้บานเปิดสไลด์ที่กำหนดไว้ทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้านบริเวณจุดนั่งรับประทานอาหาร เพื่อการระบายลมที่ดีทั่วถึงทั้งบ้าน และการเชื่อมต่อกับสวนส่วนตัวที่สามารถกลายร่างเป็นพื้นที่ดินเนอร์เอ๊าต์ดอร์ได้ในวันอากาศดี

กรอบบานหน้าต่างและประตูของที่นี่เลือกใช้ของ TOSTEM (ทอสเท็ม) โดยสำนักงานขายใช้ P7 บ้านใช้ WE 70 เเละ WE 40 “เพราะการเลือกวัสดุเป็นหน้าที่ของ developer ที่จะทำให้คนใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น” ถึงแม้ลูกค้าเวลามาซื้อบ้านอาจจะมองไม่เห็นรายละเอียดผลิตภัณฑ์ทั้งเรื่องเนื้ออะลูมิเนียม วิธีการขึ้นรูป การประกอบได้มาตรฐาน รวมทั้งอุปกรณ์ประกอบ ซึ่งมาตรฐานทั้งหมดรับประกันตลอดอายุการใช้งาน ทำให้ลูกบ้านไม่ต้องกังวล และสามารถใช้ชีวิตในบ้านโดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาหรือความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการอยู่อาศัย

จากฟังก์ชั่นภายในบ้าน เชื่อมโยงออกมาในระดับที่กว้างกว่าในระดับชุมชน ทางโครงการต้องการสร้างพื้นที่ส่วนกลางให้เป็นพื้นที่กิจกรรมสำหรับทุกครอบครัวได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ จากร่มไม้ที่ติดมากับผืนที่ดินและอาคารที่ออกแบบขึ้นโดยการคงสภาพแวดล้อมเดิมให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการรองรับการใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์

“อาจจะโชคดีที่เราซื้อที่แปลงนี้ที่ตัดสินใจก็คือต้นไม้ และเราบอกตั้งแต่แรกเลยว่า เราจะรักษาต้นไม้ทุกต้นให้อยู่ ส่วนใหญ่เป็นต้นยางนาอายุเกือบ 50 ปี แล้วมีต้นอื่นซึ่งเป็นต้นที่น่าอนุรักษ์ ไว้ เราก็มองว่าต้นไม้ที่สวยที่สุดก็คือสภาพดั้งเดิม แล้วโอกาสที่คนจะเห็นบรรยากาศแบบนี้ในอนาคตก็คิดว่าคงจะยาก เราเลยดึงบรรยากาศนี้เข้ามาอยู่ใกล้ชิดคนมากขึ้นด้วยการจัดฟังก์ชั่นตรงนี้ให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้เยอะมาก ให้เป็นพื้นที่สำหรับผู้คนในชุมชนได้มาพบปะและมาจัดกิจกรรม หรือว่างๆ ก็มานั่งคุยกันเจอกัน ภายใต้บรรยากาศป่าโปร่ง ลมเย็น และธารน้ำไหล”

“สถาปนิกผังเมืองชื่อดังระดับโลกชาวเดนมาร์ก Jan Gehl เขาก็ให้ความสำคัญว่าโลกปัจจุบันนี้มันขาดแคลนเรื่องการสื่อสาร การใช้ชีวิตระหว่างมนุษย์ เขามองว่ากิจกรรมที่จะช่วยทำให้คนเกิดสังคมที่ดีขึ้นมาได้ มันจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการที่คนในชุมชนมีส่วนร่วม การที่คนในชุมชนจะมีส่วนร่วมกันมันจะใช้เวลาในส่วนที่เรียกว่า เป็นกิจกรรมยามว่าง กิจกรรมทางเลือก เพราะฉะนั้นโครงการอย่างที่นี่ พื้นที่ส่วนกลางไม่ใช่แค่สนามหญ้าหรือพื้นที่ตามเงื่อนไขระเบียบจัดสรรที่ดิน เราต้องพยายามสร้างเพื่อให้คนไปใช้ พอคนไปใช้คนจะได้พบปะสังสรรกัน ลูกบ้านนี้เจอเด็กบ้านโน้น พ่อแม่ เพื่อนบ้านเจอกัน มีปฏิสัมพันธ์ ก็จะเกิดเป็นสังคมที่ต่อยอดขึ้นไปไม่รู้จบ” นี่นับเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดที่คุณมีศักดิ์ได้แปลทฤษฎีเหล่านี้ออกมาเป็นงานสถาปัตยกรรมและการจัดวางชุมชนอย่างชัดเจนและใช้งานได้จริง ผ่านโครงการบ้านจัดสรรที่เขาตั้งใจสร้างประชากรคุณภาพและชีวิตคุณภาพเพื่อกลับคืนสู่สังคม