fbpx

Tag: ประตู

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?

ทุกวันนี้การเลือกหน้าต่างอะลูมิเนียมให้กับบ้านหรืออาคาร ไม่ได้เน้นเพียงแค่เรื่องของฟังก์ชันการใช้งานเท่านั้น แต่ยังใส่ใจไปถึงเรื่องรูปลักษณ์หน้าตา รวมถึงสีสันที่ต้องมาควบคู่กันไปด้วย เพราะสีสันก็เป็นอีกสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ภาพจำของตัวบ้านมีความสวยงามโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เราจึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนวัตกรรมการทำสี 4 รูปแบบ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ให้เลือกกันดูว่า การทำสีแบบไหนจะตอบโจทย์และเหมาะสมลงตัวกับหน้าต่างของคุณมากที่สุด 

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
สีลายไม้ ให้ผิวสัมผัสธรรมชาติ

‘เทรนด์สีธรรมชาติ’ ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยมในบ้านเราเป็นอย่างมาก สำหรับการนำมาใช้ตกแต่งภายในบ้าน เพราะทำให้บรรยากาศภายในดูอบอุ่น และผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าหากเราต้องการเพิ่มกลิ่นอายธรรมชาติให้กับอาคารหรือที่อยู่อาศัย ก็สามารถที่จะเลือกหน้าต่างอะลูมิเนียมที่มีลวดลายดูเป็นธรรมชาติอย่างลายไม้ได้เช่นเดียวกัน ผ่านการใช้เทคนิคสีพ่น พร้อมเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มลายไม้ หลังจากนั้นจึงอบอะลูมิเนียมด้วยความร้อนเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเทคนิคนี้เรายังสามารถเลือกลายไม้ที่ต้องการได้อย่างหลากหลายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นลวดลายอย่างไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่า เป็นต้น นอกจากนี้การใช้อะลูมิเนียมลายไม้ยังสามารถให้ผิวสัมผัสที่คล้ายคลึงกับไม้จริง จนเรียกได้ว่า สามารถทดแทนบานหน้าต่างที่ใช้วัสดุไม้จริง ซึ่งมีราคาสูง ดูแลรักษายากกว่า และไม่แข็งแรงทนทานเท่าอะลูมิเนียม

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
สีพ่น (Powder Coat) สร้างสรรค์ไอเดียได้หลากหลาย

อุตสาหกรรมในหลายแห่งมักนิยมใช้สีพ่น (Powder Coat) ที่เป็นการใช้สีฝุ่นพ่นลงบนพื้นผิวของอะลูมิเนียม ซึ่งทำให้เราสามารถที่จะเลือกสีสันอะลูมิเนียมได้ตามความต้องการ หรือหากใครมีไอเดียในการออกแบบก็สามารถเพิ่มเติมกิมมิกผิวสัมผัสแบบพิเศษให้กับอะลูมิเนียม เพื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การพ่นแบบซาฮาร่าที่ให้ผิวสัมผัสเหมือนกับเม็ดทราย หรือจะเป็นการพ่นผิวแบบผิวเงา หรือผิวด้านก็สามารถทำได้เช่นกัน

               ซึ่งข้อดีในการใช้สีพ่นคือ ความหลากลายของสี เนื้อสีไม่หลุดร่อนง่าย แถมยังทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แต่การเลือกใช้สีพ่นก็ยังมีข้อเสียตรงที่เนื้อสีบนอะลูมิเนียมอาจจะไม่มีมิติมากเท่าไหร่นัก และเมื่อใช้ไปในระยะเวลานานสีอาจจะซีดจางลงได้

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
สีพ่น (Powder Coat) และอบ ให้สีติดทนนานกว่าเดิม

หากต้องการสีอะลูมิเนียมที่มีความคงทนมากยิ่งขึ้นก็สามารถใช้เทคนิคการพ่นสีอะลูมิเนียม (Powder Coat) และเพิ่มเติมการอบด้วยความร้อนอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งนอกจากความคงทนของสีแล้ว ยังให้ให้มิติของสีสันมากกว่าสีพ่นแบบปกติ แถมยังสามารถออกแบบสีสันได้ตามความต้องการได้อีกด้วย แต่ด้วยเทคนิคที่มีความซับซ้อนจึงมีค่าใช้จ่ายในการทำค่อนข้างสูง และไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
การชุบสี (Anodized) นวัตกรรมที่ทำให้อะลูมิเนียมมีมิติมากยิ่งขึ้น

ด้วยนวัตกรรมด้านสีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน อีกรูปแบบของการทำสีอะลูมิเนียมที่น่าสนใจก็คือ การชุบสี (Anodized) ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยี Electrolytic Coloring หรือการทำสีด้วยระบบกระแสไฟฟ้าเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยก่อนทำการชุบสีจะนำอะลูมิเนียมไปผ่านกระบวนการทางเคมีไฟฟ้าที่เรียกกว่า อะลูมิเนียมออกไซด์ (Aluminum Oxide) ลงไปบนชั้นผิวอะลูมิเนียมจนเกิดเป็นรูพรุนจำนวนมาก จากนั้นจึงเติมสีแบบโลหะด้วยประจุไฟฟ้าลงไปที่อะลูมิเนียม เนื้อสีจะเข้าไปตามรูพรุนต่างๆ จนเป็นเหมือนชั้นฟิล์มเคลือบอะลูมิเนียม จากนั้นจึงเข้ากระบวนการอบผิวอีกครั้งเพื่อให้สีทนทานมากยิ่งขึ้น
วิธีนี้ช่วยสร้างผลดีให้กับเนื้อสี และตัวอะลูมิเนียม เพราะไม่ทำให้เกิดการผุกร่อน ให้สีสันที่มีมิติสวยงาม ไม่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย คงทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังคงทนต่อรังสี UV และน้ำฝนที่เป็นสาเหตุให้สีซีดจาง รวมไปถึงยังคงผิวสัมผัสลื่น และความเรียบเนียน

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
เลือกใช้เทคนิคสีของหน้าต่างให้เหมาะสม เพื่อบ้านที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด

จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้การทำสีอะลูมิเนียมนั้นมีกระบวนการทำสีที่แตกต่างกัน จึงต้องดูว่าบานหน้าต่างอะลูมิเนียมของเรานำไปใช้ติดตั้งในพื้นที่ส่วนไหน หรือ ต้องการลวดลายและมิติของสีมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงเรื่องของงบประมาณด้วย

ซึ่งถ้าต้องการลวดลายที่เป็นธรรมชาติก็แนะนำให้ใช้วิธีการทำสีแบบลายไม้ แต่ถ้าต้องการทำเฉดสีสไตล์โมเดิร์นอย่างเฉดสีเทาจนถึงเฉดสีดำที่มีมิติ แข็งแรงทนทาน ดูแลรักษาง่าย และมีราคาถูก ก็แนะนำให้เลือกการชุบสี (Anodized) เพราะเป็นการเคลือบสีที่ลงลึกไปถึงด้านในของอะลูมิเนียม ที่มีคุณภาพกว่าการทำสีเทคนิควิธีอื่นๆ  

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
e-Catalog สี DUSK GRAY

ซึ่งทาง TOSTEM ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้วิธีชุบสีแบบ Anodized ให้กับกรอบหน้าต่าง ซึ่งให้มิติสีสันที่สวยงาม ไม่เกิดรอยขีดข่วนง่าย แถมยังคงทนต่อทุกสภาพอากาศ อย่าง Dusk Gray สีเทาเข้มเหลือบน้ำเงิน ที่ได้แรงบันดาลใจมาช่วงพระอาทิตย์ตกดินในยามพลบคล่ำของประเทศญี่ปุ่น เป็นการเชื่อมสีสันให้สีของหน้าต่างดูอบอุ่นเช่นเดียวกับเส้นของขอบฟ้าได้อย่างสวยงาม

หากใครที่กำลังวางแผนตกแต่งบ้านหรือสร้างบ้านใหม่ทาง TOSTEM ก็ยังมีหน้าต่างและประตู อะลูมิเนียมดีไซน์ทันสมัยอีกหลากหลายรุ่นให้ได้เลือกสรรกันว่าแบบไหนจะเหมาะสมกับสไตล์บ้านของเรามากกว่ากัน  

TOSTEM ก้าวสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมสีใหม่ ‘DUSK GRAY’

TOSTEM ก้าวสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมสีใหม่ ‘DUSK GRAY’

จากประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่าหนึ่งศตวรรษ หนึ่งศตวรรษแห่งความมุ่งมั่นตั้งใจ สู่หนึ่งศตวรรษแห่งความเชี่ยวชาญ ก้าวแรกสู่ศตวรรษถัดไป สีใหม่จากทอสเท็ม DUSK GRAY

 

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

หนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทอสเท็มไม่ได้ผลิตแค่เพียงประตูหน้าต่างเท่านั้นเพราะเป้าหมายของเราคือยกระดับคุณภาพของที่อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ความรู้และนวัตกรรมที่เราคิดค้นมาอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทำให้เราก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับที่อยู่อาศัยเป็นเจ้าแรก

เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษแล้วที่ทอสเท็มทุ่มเทให้กับการพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สินค้าของเราทำให้เราก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมและทอสเท็มกำลังมุ่งหน้าสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมเปิดตัวสีใหม่ล่าสุดสู่วงการประตูหน้าต่าง สี Dusk Gray

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

ความลงตัวระหว่างพื้นผิวเมทาลิกและสีเข้ม การผสมผสานระหว่างพื้นผิวเมทาลิกและสีเข้ม ทอสเท็มให้ความสำคัญกับพื้นผิวของสินค้าเพราะเป็นส่วนที่สร้างความสวยงามให้กับตัวอาคาร โดยใช้เทคนิคการชุบสีอโนไดซ์เป็นชั้นๆ และเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าเพื่อให้ได้สี DUSK GRAY ที่มีความทึบแสงและไม่ทำลายเนื้ออะลูมิเนียม

 

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

Blends into your lifestyle 

ปัจจุบัน สีเทาเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากเป็นโทนสีที่เหมาะกับเปลือกของอาคาร และสีเทาเป็นสีที่เข้าได้กับเฉดสีที่อ่อนและเข้มกว่า นอกจากนี้ ยังเหมาะกับตัวอาคารดีไซน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมินิมอล โมเดิร์น คอนเทมโพรารี่ หรือดีไซน์ที่มีความซับซ้อน ทอสเท็มจึงเลือกออกสีใหม่เป็นสีเทา Dusk Gray เพื่อตอบสนองเทรนด์นี้โดยเฉพาะ เมื่อนำสินค้าพื้นผิวอะลูมิเนียมมาใช้กับตัวบ้านจะช่วยเพิ่มพื้นผิวที่มีความแตกต่างแต่เข้ากับตัวบ้านและกลมกลืนกับบริเวณโดยรอบได้อย่างลงตัวนอกจากนี้ วัสดุอะลูมิเนียมยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย

 

ชม e-Catalog สี DUSK GRAY คลิกที่นี่

 

ช่องทางการติดต่อ TOSTEM Thailand

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่

ประตูบ้านคือทางเข้าหลักจากนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้าน จึงเป็นส่วนประกอบภายในบ้านที่จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญอยู่เสมอ ตั้งแต่การเลือกประตูที่แข็งแรงทนทานต่อการปิดเปิดใช้งานทุกวัน ความปลอดภัยเพื่อป้องกันการบุกรุกจากนอกบ้าน ไปจนถึงเรื่องความสวยงามตลอดอายุการใช้งาน แล้วเมื่อไหร่ที่เราควรจะเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว? คำถามที่ใครหลายคนอาจคาดไม่ถึง เพราะมักจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเกิดปัญหาเรียบร้อยแล้ว เราจึงชวนคุณมาเช็คสุขภาพประตูบ้าน เพื่อจะได้เปลี่ยนเป็นบานใหม่ก่อนปัญหาจะมาถึง หากพบปัญหาใดปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นกับประตูบ้านของคุณแล้วละก็ เตรียมพิจารณาเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้เลย

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

แสงลอดจากกรอบบานประตูไม้

สังเกตรอยต่อระหว่างขอบบานกับวงกบ หากกลางคืนหรือปิดแล้วมีแสงลอดผ่านได้ โดยเฉพาะหากบานประตูบ้านเป็นบานไม้ แสดงว่าประตูไม้เกิดการหดตัว อาจจะเนื่องจากการใช้งานมาอย่างยาวนาน หรือการเตรียมไม้ก่อนทำบานประตูที่ไม่ดีพอ อาจทำการแก้ไขชั่วคราวด้วยการติดเทปโฟมซีลกับขอบประตูโดยรอบ แต่หากใช้งานนานไปแล้ว ไม้เกิดการหดตัวเพิ่มขึ้นอีก อาจพิจารณาเปลี่ยนบานประตูใหม่

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

ประตูไม้ปิดไม่สนิท

ข้อจำกัดของประตูไม้จริงคือการหดหรือขยายตัวตามแต่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หากประตูปิดไม่สนิทหรือไม่แน่น พยายามดึงอย่างไรก็ไม่สนิทพอดีกับวงกบ นั่นอาจเป็นเพราะบานประตูที่บวมขยายตัวขึ้นจากความชื้น หรืออีกประการหนึ่งที่เห็นชัดคือ บานประตูโก่งหรือบิดร้าวจนประกบกับวงกบไม่สนิท ส่วนนี้เป็นจุดเร่งด่วนที่ควรเปลี่ยนบานประตูให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยทั้งกับการใช้งาน และความปลอดภัยภายในบ้าน

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

บานประตูตกจนลากกับพื้น

เป็นอาการที่เห็นได้บ่อยโดยเฉพาะกับบานประตูบ้าน เพราะประตูบ้านบานหลักมักเป็นบานใหญ่ น้ำหนักเยอะ สังเกตจากเวลาปิดประตูจะมีเสียงลากไปกับพื้น จนอาจทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นได้ หรือหากจะต้องล็อกปิดประตูจะต้องยกประตูขึ้นจึงจะล็อกได้สนิท สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากบานพับที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถรองรับน้ำหนักของบานประตูและแรงกระแทกจากการเปิดปิดได้ แนะนำให้เปลี่ยนหน้าบานและชุดอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

บานเลื่อนฝืด

สำหรับบางบ้านที่ใช้บานประตูแบบเลื่อนเปิดปิด หากเกิดอาการบานเลื่อนฝืด ขั้นแรกอาจใช้การหยอดน้ำมันหล่อลื่นก่อน แต่หากเป็นไปนานเข้า หรือสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าบานประตูตก อาจเกิดจากล้อเลื่อนไม่ได้มาตรฐาน หรือเสื่อมสภาพไม่สามารถรองรับน้ำหนักของหน้าบานได้อีกต่อไป แนะนำให้รีบเปลี่ยนบานประตูให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัย

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

สังเกตบานพับ เสียงดังออดแอด

หลายครั้งที่บานประตูบ้านอาจยังไม่แสดงอาการ การหมั่นสังเกตบานพับก็ช่วยให้เห็นความเสียหายได้ตั้งแต่เนิ่นๆ บานพับที่บางเกินไป ใช้ไปนานเข้าน้ำหนักของประตูจะกดทับลงจนเกิดเสียงดังออดแอด โดยเฉพาะบานพับด้านบนที่เสริมไม่เพียงพอสำหรับรับน้ำหนักของประตูเอาไว้ หรือบานพับที่ขึ้นสนิมก็ยิ่งส่งผลให้การใช้งานลดถอยลงอีก หากยังไม่อยากเปลี่ยนบานประตูทั้งบาน อาจแก้ไขเบื้องต้นด้วยการเปลี่ยนเป็นบานพับอะลูมิเนียม และเติมอุปกรณ์ประกอบ อย่างโช๊คอัพประตู เพื่อเสริมความแข็งแรงให้มากขึ้น หรือหากอายุการใช้งานประตูถึงควรแก่เวลาต้องเปลี่ยน ก็ถือโอกาสเปลี่ยนทั้งบานประตู​เสียเลย

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

ต้องเปลี่ยนหน้าต่างส่วนอื่นของบ้าน

หากประตูบ้านใช้งานมาในระยะหนึ่ง หรือจำเป็นจะต้องเปลี่ยนหน้าต่างส่วนอื่นของบ้านใหม่ เนื่องจากเริ่มผุพังหรือเสื่อมสภาพ โดยเฉพาะหากต้องเปลี่ยนทั้งหน้าบานและวงกบ ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาและขั้นตอนในการทำงาน รวมทั้งต้องทำความสะอาดภายในบ้านหลังจากการติดตั้งใหม่ให้เรียบร้อย ก็ถือโอกาสนี้เปลี่ยนบานประตูบ้านใหม่เสียเลย จะได้ไม่ต้องเสียเวลาทำทีละอย่างตามปัญหาที่เกิด รวมทั้งเป็นการเมคโอเวอร์บ้านให้บานประตูและหน้าต่างเป็นดีไซน์เดียวกันไปในตัว

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

เก่าโทรม อายุการใช้งานยาวนาน

บางครั้งบานประตูบ้านอาจจะไม่ได้เกิดปัญหาใดๆ แต่ด้วยอายุการใช้งานที่ผ่านมายาวนานแล้ว เกิดอยากจะเปลี่ยนบานใหม่ขึ้นมา แนะนำให้เริ่มต้นสังเกตข้อจำกัดของวัสดุประตูบ้านเดิม ยกตัวอย่างบานประตูไม้ที่มีการหดขยายตัวตามสภาพอากาศ หรืออุปกรณ์ประกอบจากเหล็กที่มักขึ้นสนิมเมื่อโดนแดดฝนนานเข้า เน้นเลือกวัสดุที่ข้ามข้อจำกัดจากสภาพภูมิอากาศได้เพราะประตูบ้านจะต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงของอากาศตลอดทั้งวัน อย่างกรอบบานประตูอะลูมิเนียมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานว่าทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ปลอดปลวก ทนไฟ ป้องกันเสียง ป้องกันน้ำและอากาศที่รั่วซึม โดยเลือกที่ได้มาตรฐานรับรองตั้งแต่ตัวหน้าบาน มาตรฐานการติดตั้ง ไปจนถึงบริการหลังการขาย เพื่อให้การเปลี่ยนประตูบ้านครั้งใหม่คุ้มค่า และทนทานอย่างดีตลอดอายุการใช้งาน


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

คลายข้อสงสัย สัญลักษณ์ประตูหน้าต่างแต่ละแบบ

สัญลักษณ์ของงานเขียนแบบสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านหลายคนพอจะเข้าใจในระดับเบื้องต้น อย่างตัวหน้าบานประตูหรือหน้าต่าง เห็นจากภาพจากผังพื้นก็พอจะนึกออกว่า สัญลักษณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจากมุมมองการมองในแบบ Bird’s Eye View หรือมุมมองจากด้านบนลงด้านล่างในแนวระนาบ หรือถ้ามองจากรูปข้างหรือรูปตัด ก็พอจะรู้อยู่ว่าเป็นบานประตู แล้วในส่วนที่มองไม่เห็นในรูปแบบเช่นนี้ อย่างฟังก์ชันที่เกิดขึ้นในแนวระนาบอย่างบานเลื่อนหรือบานกระทุ้งบนผังพื้น จะมีวิธีเขียนแบบอย่างไร หรือเส้นรอยประบนรูปประตูในรูปตัดมีไว้ทำไม จะมีวิธีเขียนแบบอย่างไร เราพาคุณมารู้จักกับสัญลักษณ์ของประตูหน้าต่างเพิ่มเติมให้แอดวานซ์ขึ้นไปอีก

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเปิด 

รูปสัญลักษณ์ประตูอย่างที่เราชินกัน คือรูปประตูบานเปิด ที่หากมองจากผังพื้นก็พอจะเดาออกว่ามาจากรูปแบบบานที่ถูกเปิดออก ซึ่งสัญลักษณ์การเปิดเข้าตัวบ้านหรือออกจากตัวบ้านก็เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สถาปนิกให้ความสำคัญ ส่วนแบบรูปด้าน รอยประบนบานประตูมีไว้บอกจุดหมูนของการเปิดประตู โดยมุมที่บรรจบกันเป็นด้านที่ติดวงกบ และรูปแบบของบานประตูก็ถูกวาดลงไปบนหน้าบานสำหรับสเป็ควัสดุด้วยเช่นกัน  

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเลื่อน 

สำหรับบานเลื่อนในรูปผังพื้น ใช้ตำแหน่งของลูกศรในการบอกทิศทางการเลื่อนของหน้าบาน เช่น บานเลื่อนที่เลื่อนได้ข้างเดียวแล้วอีกข้างเป็นบานติดตาย หรือบานเลื่อนออก เป็นต้น ซึ่งลูกศรบอกทิศทางการเลื่อนนี้มีการใช้ในรูปด้านเพื่อบอกทิศของการเลื่อนเช่นกัน หากหน้าบานรูปไหนที่ไม่มีลูกศร แสดงว่าเป็นบานฟิกซ์ติดตาย  

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเฟี้ยม 

ปัจจุบันประตูบานเฟี้ยมเป็นที่นิยมกันมากสำหรับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด เพราะใช้คุณสมบัติที่เปิดปิดได้เต็มหน้าบานในการจัดสรรพื้นที่ได้ตามความต้องการใช้งาน สัญลักษณ์ของบานเฟี้ยมจึงใช้รูปแบบซิกแซ็กตามการเปิดออกและปิดเข้าหากันของบานประตู โดยมีลูกศรบ่งบอกทิศทางของการสไลด์เลื่อน และบานที่มีคาดกลางบานด้วยเส้นทะแยงคือบานที่จุดเริ่มต้นของการเปิดออก ซึ่งมุมของเส้นคือด้านที่ติดตั้งบานพับสำหรับเชื่อมต่อกับบานถัดๆ มา

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

หน้าต่างบานเปิด

เมื่อมองจากมุมบนในผังพื้น หน้าต่างแบบเปิดมีหน้าตาที่บ่งบอกการเปิดออกเช่นเดียวกันกับประตู หากแต่หน้าต่างจะมีข้อแตกต่างตรงส่วนขอบของรูปวาดหน้าบานที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของผนัง สังเกตจากมีเส้นกลางพาดอยู่ระหว่างส่วนผนัง ต่างจากรูปประตูที่ระหว่างผนังสองด้านจะเป็นช่องว่างผ่านได้ทั้งหมด เปรียบเทียบเหมือนกับบนพื้นที่เราสามารถเดินผ่านประตูได้เพราะไม่มีวงกบล่างกีดขวาง แต่กับหน้าต่างมีกรอบวงกบล่างหรือผนังที่เราไม่สามารถเดินข้ามได้  

หน้าต่างบานกระทุ้ง 

ความพิเศษอีกอย่างของหน้าต่างคือการเขียนแบบหน้าต่างบานกระทุ้งที่สามารถเขียนได้ชัดเจนเห็นภาพในผังพื้น โดยจะใช้การลากเส้นประให้มุมของเส้นบรรจบกันในด้านที่ต้องติดวงกบเช่นเดียวกับหน้าบานทุกแบบ ซึ่งสำหรับบานกระทุ้งก็คือด้านที่ติดกับส่วนผนังนั่นเอง และในภาพรูปด้าน ก็คือการเปิดขึ้นด้านบนตามรูปแบบการเปิดของบานกระทุ้ง

หน้าต่างแบบอื่นๆ 

สำหรับหน้าต่างแบบอื่นๆ อย่างหน้าต่างบานฟิกซ์ ในรูปผังพื้นก็จะเขียนให้เห็นกรอบวงกบด้านข้าง โปรไฟล์ตรงกลาง และตัวบาน แล้วค่อยลงรายละเอียด เช่นวัสดุหน้าบานว่าเป็นไม้หรือกระจกได้จากส่วนขยายแบบ หรือบานเกล็ด ในรูปจากผังพื้นก็จะมองเห็นเหมือนบานเกล็ดกระจกตอนที่กำลังเปิดอยู่ ที่จะยื่นออกมาจากผนังเล็กน้อย และสามารถเห็นระบุได้ชัดเจนว่าเป็นหน้าต่างบานเกล็ดได้จากรูปด้านสำหรับดูประกอบกัน  


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

แม้จะปิดบานประตูหน้าต่างอย่างดีแล้ว แต่อนุภาคเล็กๆ ที่มองไม่เห็นอย่าง PM2.5 ที่หนาแน่นจากนอกบ้านยังสามารถหลุดลอดเข้ามาภายในบ้านได้ผ่านช่องว่างที่เราอาจคาดไม่ถึง จากโจทย์เหล่านี้จึงนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็ม (TOSTEM) ที่จะต้องป้องกันมลภาวะจากนอกบ้าน ให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้อย่างอุ่นใจ สองส่วนประกอบที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันสมาชิกในบ้านจากฝุ่นตัวร้ายนั่นก็คือ กรอบบานประตูหน้าต่างที่ปิดสนิทอย่างมิดชิดแน่นหนา รวมทั้งประสิทธิภาพของวัสดุและการประกอบขึ้นเป็นกรอบบาน ทั้งสองส่วนที่จะช่วยผนึกกำลัง ป้องกันมลพิษตัวร้ายที่จะมาทำลายสุขภาพของสมาชิกครอบครัว

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ความจริงของ PM2.5  ( Fact about PM2.5 ) 

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า อนุภาคฝุ่นของ PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าฝุ่นปกติทั่วไปอย่างที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ความน่ากลัวจนทำให้เราชะล่าใจอยู่ที่ขนาดเล็กมากจนสามารถผ่านเข้าสู่ถุงลมปอด ซึมเข้าหลอดเลือด และใช้เวลาสะสมในร่างกายถึง 10-20 ปีจึงค่อยแสดงอาการ หลายคนจึงคิดว่า แค่ปิดหน้าต่าง ฝุ่นเหล่านี้ก็ไม่เข้ามาแล้ว แต่แท้จริงแล้ว ที่มาของฝุ่นครึ่งหนึ่งมาจากนอกบ้านก็จริง แต่อีกครึ่งหนึ่งก็มาจากของใช้ภายในบ้าน ทั้งเกาะกับเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ไรฝุ่นที่นอน เพราะฉะนั้นฝุ่นจึงอยู่ทุกที่ การปิดหน้าต่างจึงช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตห่างไกลฝุ่น  ( Get Rid of Dust ) 

ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ที่ต้องปัดกวาดทุกวัน หรือฝุ่นขนาดเล็กที่มองไม่เห็น ก็เป็นกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นต้องทำเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะช่วง PM2.5 เช่นนี้ ทางเลือกแรกสุดของทุกคนคือการใช้เครื่องฟอกอากาศ ร่วมกับการรักษาความสะอาดภายในบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับวัสดุกักฝุ่นจำพวกผ้าม่าน พรม เครื่องนอน และปลูกต้นไม้ช่วยฟอกอากาศ เป็นการเติมอากาศดีในบ้านแบบง่ายๆ  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

หน้าต่างกับ PM2.5  ( Windows & PM2.5 ) 

ทางเลือกที่ดีของการใช้ชีวิตในยุค PM2.5 ครองเมืองเช่นนี้ คือการใช้ชีวิตประจำวันในห้องที่มีหน้าต่างน้อยๆ พร้อมกับการตรวจเช็คกรอบบานประตูหน้าต่างทุกบานว่าปิดสนิททั้งหมด อาจเสริมด้วยสักหลาดกับขอบหน้าต่างเพื่อปิดร่อง หรือหากพบรอยรั่วระหว่างผนังหรือรอยต่อควรยาแนวปิดทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้บ้านกันฝุ่นได้อย่างยั่งยืน จึงควรเลือกกรอบบานประตูหน้าต่างที่มีปิดสนิทหนาแน่น และมีคุณภาพมาตรฐานป้องกันอากาศรั่วไหล หากอากาศนอกบ้านกลับมาดีเช่นเคยแล้ว ควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายในบ้าน เพื่อป้องกันการอับชื้น และเพิ่มการไหลเวียนอากาศที่ดีขึ้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

เสริมยางขอบประตู  ( Smart Rubber Designs ) 

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์รุ่นบานเฟี้ยมที่มีหน้าบานหน้าต่างแบบพับหลายบานของรุ่น WE70 ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทำให้มีการออกแบบการเสริมยางป้องกันอุบัติเหตุจากการถูกประตูหนีบ และข้อดีของกรอบบานที่เสริมขอบยางอีกประการคือ ทำให้หน้าต่างปิดสนิทแนบแน่นครบทุกบาน เช่นเดียวกับประตูบ้านรุ่น GIESTA ที่กรอบวงกบเป็นอะลูมิเนียมโปรไฟล์ยาง ที่ทำให้การปิดประตูเป็นไปอย่างนุ่มนวลและแน่นหนา พร้อมกับป้องกันอุบัติเหตุไปในตัว  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ระบบล็อกแน่นหนา  ( High Security Lock ) 

ความสำคัญของระบบล็อก นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยจากผู้บุกรุกแล้ว ยังเป็นเรื่องของความแน่นหนาของการปิดหน้าบาน เพื่อให้หน้าบานและกรอบบานปิดกันได้อย่างสนิทแน่นหนา ระบบล็อกสำหรับกรอบบานมีทั้งระบบล็อกแบบก้านโยกป้องกันการล็อกไม่สนิทในกรอบบานรุ่น WE Plus, WE70 ระบบ Sub-Lock ในกรอบบานรุ่น P7 เพิ่มความแน่นหนาในการปิดหน้าบาน  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

การป้องกันอากาศรั่วไหล  ( Air Tightness Performance ) 

รอยรั่วของกรอบบานประตูหน้าต่างส่วนใหญ่มาจากช่องว่างเล็กๆ ระหว่างวงกบกับหน้าบานประตูหน้าต่าง ผลิตภัณฑ์ของทอสเท็ม (TOSTEM) ทุกชิ้นทุกรุ่นให้ความสำคัญกับค่ามาตรฐานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการป้องกันอากาศรั่วไหล เพราะการที่กรอบบานปิดสนิท นอกจากจะช่วยป้องกันมลภาวะจากนอกบ้านแล้ว ยังช่วยเรื่องการควบคุมคุณภาพอากาศภายในห้องให้อยู่ในระดับที่ต้องการ จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กรอบบานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตของการอยู่อาศัยให้เกิดผลสูงสุด  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน  ( Air Quality ) 

การควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน นอกเหนือจากมลภาวะนอกบ้านอย่าง ฝุ่น ควัน โดยเฉพาะอนุภาค PM2.5 ที่เล็กกว่าตาเปล่ามองเห็น การที่บานประตูหน้าต่างปิดสนิทยังส่งผลต่อการป้องกันเสียง กลิ่น และความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป้องกันการรั่วไหลของความเย็นจากเครื่องปรับอากาศขณะเปิดใช้งานอยู่ ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนักเกินไป จึงช่วยประหยัดค่าไฟและประหยัดพลังงาน ช่วยโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย  


วิธีอ่าน Shop Drawings

อ่านแบบ Shop Drawings ให้เป็น

หากคุณเคยลองพลิกชมแคตตาล็อกของทอสเท็มแล้วละก็ พอไปถึงหน้าหลังๆ ก็มีรายละเอียดลายเส้นอะไรมากมายเต็มไปหมด แต่ทั้งหมดนี้แหละ คือรายละเอียดของงานออกแบบกรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็ม ที่เกิดจากพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้กรอบบานที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานทุกบ้านและทุกคน วันนี้ เราจึงอยากชวนคุณลงมาดูดีเทลจุดเล็กน้อยเหล่านี้ไปพร้อมกัน นอกจากจะเป็นความรู้สำหรับการหัดอ่าน Shop Drawings อื่นๆ แล้ว ยังช่วยให้คุณสามารถสเป็ครายละเอียดสำหรับงานออกแบบก่อสร้างในครั้งต่อไปได้ด้วย

Shop Drawings : พื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน  Shop Drawings คือรายละเอียดของชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรือโครงสร้างของงานก่อสร้างที่ถูกถอดแบบจากของจริง และเขียนขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างวิศวกร สถาปนิก และช่างผู้ดำเนินการ เพื่อให้สามารถอธิบายรายละเอียดส่วนเล็กส่วนน้อย ไปจนถึงวิธีการประกอบติดตั้งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

Section : Vertical & Horizontal จินตนาการว่าคุณนำกรอบบานสักกรอบหนึ่งมาตัดในแนวตรง เราจะมองเห็นส่วนประกอบภายในทั้งหมด การตัดแบบนี้เรียกว่า Section โดยแบ่งตามระนาบการตัดได้ในแบบ Vertical – แนวดิ่ง และ Horizontal – แนวขวาง ภาพทั้งหมดที่เห็นด้วยสายตาจะถูกเขียนลงใน Shop Drawings ไปพร้อมกับแนวของของกำแพงซึ่งเป็นพื้นที่ที่กรอบบานถูกติดตั้ง (สังเกตจากพื้นที่บน-ล่างของกรอบที่เป็นรูปจุดและขีดตามแนวทแยงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอิฐ)

วิธีอ่าน Shop Drawings

ระยะของการติดตั้ง นอกจากเราจะรับทราบถึงองค์ประกอบภายในทั้งหมดของกรอบบานหน้าต่างแล้ว การที่แจกแจงรายละเอียดทั้งหมดเช่นนี้ จะช่วยให้ช่างทราบว่ากรอบบานมีขนาดเท่าไร ระยะของการยึดติดกรอบบานกับผนัง ระยะของรอยต่อต่างๆ ระหว่างการปิด-เปิดใช้งาน จนถึงระยะของการขันสกรู สร้างมาตรฐานของกรอบบาน และสร้างการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิธีอ่าน Shop Drawings

ลงลึก จุดเชื่อมต่อ นอกจากนั้น ยังมีส่วนต่างๆ ของกรอบบานที่ถูกตัดเพื่อบอกเล่าเรื่องราวได้อีก เช่น ส่วนเชื่อมต่อระหว่างกรอบบานที่ต่อเนื่องกัน ส่วนเข้ามุม หรือส่วนที่ต้องประกอบสองส่วนเข้าด้วยกัน ภาพ Shop Drawings จะช่วยให้ช่างเห็นได้ชัดเจนว่า ระหว่างชิ้นส่วนสองชิ้น จะต้องติดตั้งส่วนใดในตำแหน่งใด ด้วยระยะเท่าใด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและถูกใช้งานอย่างเป็นสากล

วิธีอ่าน Shop Drawings

กรอบบานซ้อนชั้น  ภาพตัดขวางลงรายละเอียดของ Shop Drawings ยังเป็นประโยชน์ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งกรอบบานซ้อนชั้น เช่น หน้าต่างบานกระทุ้งกับมุ้งลวด เพราะช่างจะได้เห็นภาพของการติดตั้งจาก Shop Drawings ว่า จะต้องติดบานมุ้งลวดชิดกับขอบด้านในของผนัง และส่วนด้านนอกที่เป็นบานกระทุ้งจะต้องติดตั้งห่างจากกันด้วยระยะเท่าใด ความละเอียดในระดับมิลลิเมตรเช่นนี้ ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน หมดห่วงกับปัญหาเล็กน้อยที่เกิดจากการใช้งาน


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!