fbpx

Author Archives: GRANTScreativeWe40

จะมีบ้านสักหลัง ต้องคุยกับใครบ้าง

จะมีบ้านสักหลัง ต้องคุยกับใครบ้าง

การมีบ้าน คือความฝันสูงสุดของใครหลายคน แต่ก็ตามมาด้วยคำถามที่ชวนสงสัยเต็มไปหมด วันนี้เราจึงรวบรวมคำแนะนำจากประสบการณ์ตรงที่เข้าใจง่ายมาฝากกันครับคุยกับตัวเอง :

สำรวจความต้องการของสมาชิกในบ้าน

หลายคนที่กำลังคิดว่าจะซื้ออสังหาฯ ประเภทไหนดี อยากให้เริ่มต้นที่การสำรวจความต้องการของตัวเองเป็นอันดับแรก ทั้งเรื่องจำนวนสมาชิกที่จะพักอาศัยในบ้าน ซื้อเป็นบ้านหลังแรก ซื้อเพื่อการลงทุน ซื้อเพราะเดินทางเข้า-ออกเมืองได้สะดวก หรือซื้อคอนโดที่อยู่ใกล้รถไฟฟ้า

ทั้งหมดล้วนเป็นวัตถุประสงค์ในการซื้อ ค่อยๆ สำรวจความต้องการทีละข้อ จัดลำดับความสำคัญมากไปหาน้อย เพื่อให้ตัดสินใจเลือกรูปแบบของที่อยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างเช่น มีสมาชิกในครอบครัว 5 คน มีทั้งเด็กเล็กและผู้สูงอายุ กำลังมองหาบ้านที่จะอยู่ไปยาวๆ มีพื้นที่ปลูกต้นไม้หน้าบ้าน ปลูกผักสวนครัวไว้กินเองเพราะชอบทำอาหาร ต้องมีห้องนอนชั้น 1 สำหรับผู้สูงอายุ ห้องนอนลูกสองคนแยกกัน ทำเลอยู่ใกล้ทางด่วนเพื่อขับรถไปทำงานย่านสีลม…

จากข้อมูลเหล่านี้ ก็จะพอได้ความต้องการในเรื่องพื้นที่ จำนวนห้อง การจัดสรรพื้นที่ทั้งนอกบ้านและภายในบ้านคุยกับธนาคาร : วางแผนการเงิน

สำหรับคนส่วนใหญ่ ที่อยู่อาศัยคือค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่และต่อเนื่องระยะยาว นอกจากการคำนึงถึงเงินออมที่ถืออยู่ในมือแล้ว ยังต้องคำนึงถึงยอดชำระเงินกู้ ที่สมดุลกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยสามารถคำนวณความสามารถในการกู้เงินได้โดยการเอา รายได้ต่อเดือน x 60

ผลก็จะออกมาเป็นราคาบ้านขั้นต่ำที่สามารถกู้ได้ ซี่งการคำนวณนี้เป็นการคำนวณเฉพาะการกู้หนึ่งครั้ง หากยังมีภาระผูกพันอย่างอื่นอีก ก็ต้องคิดแยกต่างหากตามหลักเกณฑ์พิจารณาการให้กู้ของแต่ละธนาคาร

สำหรับเงื่อนไขของการกู้ซื้อบ้าน แต่ละธนาคารให้บริการการคำนวณสินเชื่อและเงินกู้บ้านเบื้องต้นผ่านทางเว็บไซต์หลัก ลองลิสต์ธนาคารที่สนใจ 3-5 อันดับ แล้วเปรียบเทียบตั้งแต่สัดส่วนวงเงินกู้เทียบกับราคาประเมิน อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการกู้ ข้อเสนออื่นเพิ่มเติม และเมื่อต้องทำการยื่นกู้ให้ลองยื่นกู้กับธนาคาร 3 แห่งเป็นอย่างน้อยคุยกับสถาปนิก : งานสถาปัตยกรรม หรือคุณภาพโครงการ กรณีที่มีที่ดินเป็นของตัวเองแล้ว ควรทำการติดต่อสถาปนิกและวิศวกร ซึ่งเชี่ยวชาญงานออกแบบและโครงสร้างโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้บ้านที่ถูกใจและตอบโจทย์อายุการใช้งาน ซึ่งการคิดค่าบริการออกแบบ มีมาตรฐานที่จัดตั้งโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมชูปถัมภ์ ที่ประมาณการคิดค่าออกแบบเบื้องต้นไว้ตามมูลค่าการก่อสร้าง

เคล็ดลับในการหาสถาปนิก ง่ายๆ คือเริ่มจากเว็บไซต์นิตยสารเกี่ยวกับบ้าน ใช้คีย์เวิร์ดของสไตล์ที่ถูกใจในการค้นหา เลือกสถาปนิกที่มีสไตล์การออกแบบที่ถูกใจ แล้วลองคุยรายละเอียดเบื้องต้นทั้งเรื่องฟังก์ชัน สไตล์ และงบประมาณ

แต่หากจะซื้อบ้านผ่านโครงการฯ หรือห้องชุดคอนโดมิเนียม ควรเลือกจากความสะดวกของทำเลที่ตั้ง และที่สำคัญคือ ราคาที่ใกล้เคียงความสามารถในการผ่อนชำระ เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายตึงมือจนเกินไป หลังจากได้โครงการที่เข้าเงื่อนไขทั้งหมดแล้ว ควรเข้าไปดูโครงการบ้านตัวอย่างด้วยตัวเอง เพื่อจะได้เห็นรายละเอียดของตัวบ้านทั้งหมด และเห็นสภาพแวดล้อมโดยรวมของโครงการในสถานที่จริงคุยกับอินทีเรียร์ : งานออกแบบภายใน

ส่วนที่หลายคนมักมองข้ามหรือหลงลืมไป คือการออกแบบภายใน หลายโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมที่ไม่ได้เป็นแบบตกแต่งพร้อมอยู่ ผู้ซื้อจะต้องสำรองเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้สำหรับงานภายใน ทั้งเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้งาน และการตกแต่งเพื่อความสวยงาม ซึ่งโดยประมาณคร่าวๆ สามารถกันเงินไว้เบื้องต้นที่ 30% ของราคาบ้าน

สำหรับงานตกแต่งภายใน ก็มีราคามาตรฐานที่จัดตั้งโดยสมาคมสถาปนิกฯ ตามมูลค่าของการก่อสร้างเช่นเดียวกัน วิธีการหาอินทีเรียร์ก็เช่นเดียวกันกับสถาปนิก ที่สามารถใช้คีย์เวิร์ดของสไตล์ที่ชื่นชอบในเว็บไซต์นิตยสารบ้าน แล้วเลือกเจ้าที่ถูกใจเพื่อคุยเรื่องสไตล์ และงบประมาณ คุยกับผู้รับเหมา : สร้างบ้านให้เป็นจริง

ในกรณีที่ใช้สถาปนิกช่วยออกแบบ หลายที่จะมีคอนเน็กชั่นกับผู้รับเหมาที่ทำงานมาด้วยกันอยู่แล้ว แต่หากจำเป็นต้องหาผู้รับเหมาเอง แนะนำให้มองหาผู้รับเหมาที่อยู่ในรูปแบบบริษัท เพื่อให้การตรวจติดตามงานทำได้อย่างเป็นระบบ และได้คุณภาพของงานช่างแบบมืออาชีพ โดยเลือกดูจากประวัติการทำงานที่ผ่านมา และสัญญาที่มีการระบุรายละเอียดวิธีการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รวมจนถึง BOQ จากงานที่ผ่านมาว่าลงรายละเอียดครบถ้วน

เพราะทั้งหมดนี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเราได้ส่วนหนึ่งว่า ผู้รับเหมาสามารถทำงานได้อย่างมีฝีมือ เป็นขั้นเป็นตอน ทำงานอย่างเป็นระบบ และจบงานได้ทันเวลาคุยกับคนตรวจรับบ้าน : บ้านสวยสมใจไร้ที่ติ

อีกเรื่องสำคัญที่จะทำให้ฝันที่จะมีบ้านเป็นจริงได้อย่างสวยงาม คือการตรวจรับบ้าน ทางที่ดีที่สุดแนะนำให้ใช้บริการนักตรวจรับงานมืออาชีพ ซึ่งมีทั้งรูปแบบบริษัทและบุคคลที่สามารถค้นหาได้ทางออนไลน์ เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มองเห็นความเรียบร้อยและความผิดปกติของบ้านตั้งแต่งานพื้นผิวภายนอก ไปจนถึงงานระบบภายใน ทั้งระบบไฟฟ้า ประปา และสุขาภิบาล

การตรวจรับบ้าน นอกจากจะต้องรู้กว้างแล้ว ยังต้องรู้ลึก รู้ละเอียด จึงควรเลือกใช้มืออาชีพ เพื่อความอุ่นใจสูงสุด…

ผ่า section ล้วงลึกถึงความแตกต่างของกรอบบานแต่ละรุ่น

ผ่า section ล้วงลึกถึงความแตกต่างของกรอบบานแต่ละรุ่น

จากความงามของกรอบบานที่เห็นภายนอก เบื้องหลังคือองค์ประกอบที่เกิดจากวิศวกรรมและความคิดสร้างสรรค์ของทอสเท็มเพื่อสร้างกรอบบานประตูหน้าต่างคุณภาพสูงสำหรับลูกค้าทุกบ้านและทุกสถานที่ ครั้งนี้เราจึงอยากเปิดเผยเคล็ดลับมาตรฐานของกรอบบานผ่านภาพตัดขวาง หรือ section ของกรอบบานแต่ละรุ่น บริการสำหรับลูกค้าพิเศษ จะได้เลือกรุ่นที่ถูกใจพร้อมกับถูกกระเป๋าเงินไปพร้อมกัน

ทอสเท็ม ผู้ผลิตกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมชั้นนำที่ไม่เคยหยุดพัฒนา เราใส่ใจงานออกแบบในทุกชิ้นส่วน ผลิตด้วยมาตรฐานญี่ปุ่น เพื่อการใช้งานที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุดทั้งฟังก์ชั่นและความทนทาน มาพร้อมกับงานดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยยกระดับเพิ่มคุณค่าและสร้างตัวตนให้กับสถานที่โปรดของคุณGRANTS

กรอบบานรุ่นเรือธงของทอสเท็มที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยค่าการต้านทานแรงลม ความกดอากาศ และการป้องกันเสียงที่สูงกว่าทุกรุ่น จึงเหมาะสำหรับการใช้งานบนอาคารสูง หรือในพื้นที่ที่ต้องการความทนทานมาก

โดยเฉพาะกับฟีเจอร์สำคัญ คือระบบระบายอากาศในส่วนโปรไฟล์ของกรอบบานที่มาพร้อมคุณสมบัติการป้องกันน้ำฝน พร้อมกับเป็นทางให้อากาศผ่านเข้าห้อง ช่วยให้อากาศถ่ายเทอย่างสม่ำเสมอ เสริมสร้างสุขลักษณะที่ดีในการอยู่อาศัยWE Plus Series ซีรีส์ที่ตอบความต้องการทุกมาตรฐานของงานกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม สามารถทำความสูงได้ถึง 3 เมตร และตอบความต้องการของงานออกแบบอาคารสูงได้อย่างครบครัน

พร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ล่าสุด คือ ตัวตบล่างแบบหล่อติดผนังคอนกรีตระบบพรีคาสต์ และเสริมประสิทธิภาพเพื่อยืดอายุการใช้งานหน้าต่างให้ยาวนานขึ้น ด้วยการป้องกันน้ำรั่วเสริมอีกระดับกรณีที่ยาแนวเสื่อมสภาพลงP7 Series

กรอบบานรุ่นแนะนำสำหรับงานบ้านและอาคารแนวราบ โดดเด่นด้วยวัสดุพรีเมียม พร้อมคุณลักษณะพิเศษที่เหมาะสำหรับโครงการที่พักอาศัย ทั้งส่วนโปรไฟล์ที่ติดตั้งตัวระบายน้ำ ช่วยป้องกันน้ำฝนขังในรางล่าง ระบบล็อกและซับล็อกที่ปลอดภัยสำหรับผู้พักอาศัยทุกคน และยังสามารถติดตั้งบานมุ้งด้านนอกสำหรับบานเลื่อนซ้อนอีกชั้นเพื่อป้องกันแมลง โดยยังสามารถเปิดบานเพื่อระบายอากาศได้อย่างสะดวกสบาย

ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาในซีรีส์ P7 ยังพิเศษที่แกนต่อแนวนอนและแกนต่อแนวตั้ง ที่ถูกออกแบบอย่างดีพร้อมกับตัวครอบแกนต่อ เพิ่มความเรียบร้อยหน้างาน พร้อมกับการใช้งานที่ยาวนานกว่าที่เคย รอยต่อจึงสวยงามทั้งจากมุมมองภายนอกและภายในWE70 Series

ซีรีส์กรอบบานประตูหน้าต่างคุณภาพสูงการันตีโดยแบรนด์ทอสเท็มกับราคาสมเหตุสมผล มาพร้อมกับฟังก์ชั่นการระบายอากาศที่เป็นซิกเนเจอร์ของรุ่น

ประสิทธิภาพการระบายอากาศเพิ่มสูงขึ้นผ่านงานออกแบบองค์ประกอบภายในกรอบบานรูปแบบใหม่ ด้วยตลับลูกปืนด้านในกรอบบานด้านล่างที่ช่วยในการเปิดปิดบานเพื่อระบายอากาศ โดยตัวมุ้งถอดได้ ทำความสะอาดง่าย โดยยังคงคุณสมบัติประสิทธิภาพการต้านทานอากาศที่มาตรฐาน JIS A-3 ที่ดีเช่นเดิม WE40 Series

กรอบบานประตูหน้าต่างมาตรฐานจากทอสเท็มในราคาที่ทุกบ้านจับต้องได้ ถึงจะเป็นรุ่นเล็ก แต่คุณภาพไม่มีเล็ก เพราะมาพร้อมกับประสิทธิภาพของกรอบบานครบถ้วนเช่นเดียวกับรุ่นพี่ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของบ้านพักอาศัยที่เข้าใจลูกค้าและผู้อยู่อาศัยทุกคน

รู้จัก “กระจก” มีกี่ประเภท เหมาะกับการใช้งานอะไรบ้าง?

รู้จัก “กระจก” มีกี่ประเภท เหมาะกับการใช้งานอะไรบ้าง?

“กระจก” มีกี่แบบ?

เลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะกับฟังก์ชันและสวยงามลงตัวถึงจะเป็นแค่กระจกใสบางๆ แต่ก็มีเรื่องราวเบื้องหลังมากมาย ที่นอกจากจะบอกเล่านวัตกรรมของกระจกเองแล้ว ยังเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้งานเลือกสรรอย่างเหมาะสมและครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่คุณสมบัติของกระจก งบประมาณ รูปลักษณ์ และงานดีไซน์ …เราจึงขอพาคุณเข้าไปท่องโลกของ “กระจก” เพื่อครั้งต่อไปจะได้เลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับอาคารของคุณ กระจกธรรมดา (Float Glass)

เป็นชื่อเรียกรวมกระจกแบบธรรมดาที่ใช้การหลอมและอบด้วยวิธีปกติสามัญ ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกได้อีกตามความที่สายตามองเห็น ได้แก่ กระจกใส กระจกใสพิเศษ และกระจกสี วิธีสังเกตง่ายๆ คือ กระจกใสจะมองเห็นสันเป็นสีอมเขียว และกระจกสีจะมีสันที่สีเข้มกว่าเมื่อมองจากผิวกระจก เพราะสีจากออกไซด์ผสมหลอมในเนื้อกระจกเลย

ฟังก์ชั่นที่เหมาะสม : กระจกผนังอาคาร บานประตู บานหน้าต่าง เนื้อกระจกมองทะลุผ่านได้ชัดเจน ไม่บิดเบี้ยว

จุดด้อย : หากเป็นกระจกใส สามารถรับความร้อนจากแสงภายนอกได้เต็มที่ แต่หากเป็นกระจกสี จะรับความจ้าหรือความร้อนของแสงตามสีของกระจก หากกระจกแตก ชิ้นส่วนแหลมคมทำอันตรายแก่ผู้อยู่ใกล้เคียงได้

(เครดิตภาพ : unsplash)กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass)

จุดเด่นอยู่ที่ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นจากกระจกธรรมดา ด้วยกระบวนการอบความร้อนแล้วทำให้ผิวกระจกเย็นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างแรงอัดที่ผิวของกระจกให้แข็งแกร่งขึ้น

ฟังก์ชั่นที่เหมาะสม : กระจกผนังอาคาร โดยเฉพาะกับกระจกบานขนาดใหญ่ กระจกบานเปลือย กระจกอาคารสูง ราวระเบียง หรือพื้นที่เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย เพราะความแข็งแกร่ง และหากแตกหักจะละเอียดเป็นเม็ดเล็ก เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้งานมากขึ้น

จุดด้อย : ต้องสั่งขนาดและสเป็กพร้อมผลิตจากโรงงาน เนื้อกระจกมองทะลุผ่านจะบิดเบี้ยวเล็กน้อย

(เครดิตภาพ : unsplash)กระจกสะท้อนรังสีอาทิตย์ (Reflective Glass)

ความแตกต่างอยู่ตรงที่ความแข็งแรงอยู่ที่การเคลือบผิวหน้าด้วยโลหะออกไซด์ ซึ่งส่งผลดีในเรื่องการช่วยลดความจ้าและความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยสังเกตได้จากอาคารที่ใช้กระจกประเภทนี้จะสะท้อนสิ่งที่อยู่รอบข้างเห็นเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนเหมือนกระจกเงา

ฟังก์ชั่นที่เหมาะสม : ส่วนใหญ่มักใช้เป็นผนังอาคารสำหรับอาคารผนังกระจก บานหน้าต่าง บานประตู โดยสีสันของกระจกจะขึ้นอยู่กับโลหะที่เคลือบบนผิวหน้า

จุดด้อย : จะต้องระวังในขั้นตอนการติดตั้งให้พื้นผิวด้านที่เคลือบโลหะหันเข้าภายในอาคาร และขั้นตอนการก่อสร้างที่ปูนซีเมนต์จะก่อให้เกิดคราบที่ทำให้กระจกเสียหาย

(เครดิตภาพ : unsplash)กระจกสภาพการแผ่รังสีต่ำ (Low-e glass)

เป็นกระจกที่เคลือบด้วยผิวโลหะเช่นเดียวกับกระจกสะท้อน เพียงแต่เปลี่ยนผิวจากโลหะออกไซด์เป็นเงิน เพื่อให้การสะท้อนและถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารน้อยกว่ากระจกแบบก่อนหน้า

ฟังก์ชั่นที่เหมาะสม : ส่วนใหญ่มักประกบกันสองชั้น ใช้เป็นผนังอาคารสำหรับอาคารผนังกระจก บานหน้าต่าง บานประตู

จุดด้อย : แสงธรรมชาติผ่านได้มาก แต่ความร้อนและความจ้าของแสงต่ำ

(เครดิตภาพ : unsplash)กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass)

จากหลักการลดการถ่ายเทความร้อน จึงนำกระจกสองแผ่นมาประกบกันบนโครงอะลูมิเนียมที่ตรงกลางบรรจุสารดูดความชื้น เพื่อช่วยลดการถ่ายเทความร้อนและเสียงระหว่างพื้นผิวภายนอกอาคารกับภายในอาคาร โดยกระจกทั้งสองแผ่นนี้จะเป็นกระจกธรรมดา หรือเป็นกระจกเทมเปอร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยก็ได้

ฟังก์ชั่นที่เหมาะสม : ใช้เป็นผนังอาคารสำหรับอาคารผนังกระจก บานหน้าต่าง บานประตู โดยเฉพาะกับพื้นที่ใช้งานเครื่องปรับอากาศ เพราะทนทานต่ออุณหภูมิผิวที่ต่างกันมากของพื้นผิวสองด้าน

จุดด้อย : อากาศสามารถรั่วซึมเข้าสู่ตัวกระจกหากยาแนวระหว่างวัสดุเสียหาย ส่งผลต่อการสูญเสียความสามารถในการกันความร้อน

(เครดิตภาพ : unsplash)กระจกนิรภัย (Laminated Glass)

กระจกสองแผ่นถูกประกบกันโดยมีชั้นของแผ่น PVB (Polyvinyl Butyral) คั่นอยู่ตรงกลาง ซึ่งสร้างลวดลายจากสีสันและแพตเทิร์นให้กับกระจก และเมื่อกระจกแตก สะเก็ดของกระจกจะอยู่ติดแน่นกับแผ่น PVB ไม่สร้างอันตรายให้กับผู้ใช้งาน

ฟังก์ชั่นที่เหมาะสม : กระจกที่ติดตั้งบนพื้นที่เสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย อย่างกระจกบานขนาดใหญ่ หรือช่องแสงบนที่สูง รวมทั้งผนังกระจกที่ต้องการการตกแต่งลวดลายตามดีไซน์ที่ต้องการ

จุดด้อย : ไม่เหมาะกับการใช้งานบนพื้นที่ความชื้นสูง หรือพื้นที่ที่อุณหภูมิแตกต่างกันมาก

(เครดิตภาพ : unsplash)กระจกพิมพ์ลายเซรามิก (Ceramic Silkscreen Glass)

วิธีสร้างลวดลายให้กับกระจก นอกเหนือจากตัวกระจกลามิเนต หรือการสร้างลวดลายบนเนื้อกระจกตั้งแต่ขั้นตอนการเซ็ตตัวแล้ว ยังสามารถนำเอาสีเซรามิกมาพิมพ์ลายบนผิวกระจกแล้วนำไปอบจนสีเป็นเนื้อเดียวกันกับกระจก เหมือนกับมีลวดลายและสีสันแนบเนียนไปกับผิวกระจก

ฟังก์ชั่นที่เหมาะสม : กระจกตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร เพราะเคลือบสีเซรามิกเพิ่มเติม ตัวกระจกจึงแข็งแรงขึ้นกว่าปกติ และเหมาะกับงานคัสตอมกระจกให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ รวมทั้งสามารถประกบกันสองชั้นเพื่อทำกระจกฉนวนกันความร้อน หรือกระจกนิรภัย (ลามิเนต) ก็ได้เช่นกัน

(เครดิตภาพ : unsplash)

เทคโนโลยี TexGuard ดีอย่างไรกับกรอบบานทอสเท็ม

เทคโนโลยี TexGuard ดีอย่างไรกับกรอบบานทอสเท็ม

เทคโนโลยี TexGuard ดีอย่างไรกับกรอบบานทอสเท็ม

ขึ้นชื่อว่ากรอบบานประตูหน้าต่างที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในกับบรรยากาศภายนอก ความสวยงามทนทานจึงเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งด้านนอกที่ต้องสู้กับแดดลมฝนและสภาพอากาศที่แปรปรวนตลอดทั้งปี ยิ่งทำให้ทอสเท็มต้องคิดค้นเทคโนโลยีพิเศษ เพื่อตอบโจทย์ท่านผู้อยู่อาศัยทั้งเรื่องความทนทานและความสวยงาม เทคโนโลยี TexGuard จึงเป็นนวัตกรรมเฉพาะที่ทอสเท็มคิดค้นเพื่อเผยความงามที่แท้จริงของวัสดุอะลูมิเนียม เติมความงามให้งานสถาปัตยกรรม และเสริมความทนทานแม้จะต้องผ่านแดดลมฝนกี่ปีก็ตามเทคโนโลยี TexGuard ลิขสิทธิ์เฉพาะของทอสเท็ม

TexGuard คือนวัตกรรมการเคลือบชั้นผิวของอะลูมิเนียมที่ช่วยปกป้องผิว เผยความเงางามให้สวยคงทนอยู่เสมอ คิดค้นและทดสอบโดยทอสเท็มจนได้เป็นนวัตกรรมการเคลือบผิวที่ดีที่สุด จากเดิมที่พื้นผิวกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมผ่านการทำสีด้วยการชุบอะโนไดซ์ซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องความทนทาน ด้วยนวัตกรรม TexGuard จะยิ่งเสริมความงดงามและคุณประโยชน์อีกหลายประการ TexGuard ปกป้องสีสันและพื้นผิวของกรอบบาน

นวัตกรรม TexGuard ที่เคลือบทับการทำสีชุบอะโนไดซ์ของกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมทอสเท็ม ทำหน้าที่ป้องกันสีซีดจาง และช่วยปกป้องพื้นผิวของอะลูมิเนียมจากสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการทดสอบแล้วในประเทศไทย จึงคงความเงางามของสีไว้ได้นานหลายทศวรรษ TexGuard เสริมความแข็งแรงให้กรอบบาน

นอกจากประโยชน์ในเรื่องความสวยงามของพื้นผิวแล้ว เทคโนโลยี TexGuard ยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้พื้นผิวอะลูมิเนียม คงทนยาวนานไร้กังวล TexGuard ทำให้การดูแลรักษากรอบบานเป็นเรื่องง่าย

จุดเด่นของกรอบบานอะลูมิเนียมทอสเท็มคือการดูแลรักษาที่ทำได้ง่าย การผลิตและปิดทับผิวด้วยเทคโนโลยี TexGuard จะยิ่งเพิ่มคุณสมบัติในการลดการสะสมของฝุ่นและสิ่งสกปรก การทำความสะอาดพื้นผิวก็ทำได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม เสริมให้บ้านสวยสดใสอยู่เสมอ

รวมแบบบานเลื่อนดีไซน์เก๋ เพิ่มลูกเล่นให้บ้าน ใช้งานได้ดี

รวมแบบบานเลื่อนดีไซน์เก๋ เพิ่มลูกเล่นให้บ้าน ใช้งานได้ดี

จากภาพจำเดิม ๆ ของกรอบกระจกบานเลื่อนที่เป็นแค่หน้าบานกระจกเลื่อนซ้อนกัน มาสู่งานดีไซน์กรอบบานเลื่อนรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่ช่วยเติมเต็มงานสถาปัตยกรรมให้สมบูรณ์ขึ้นอีก เพราะหัวใจของความงาม อยู่ที่รายละเอียดในทุกส่วน และความคิดสร้างสรรค์ คือ ผู้ช่วยเปิดงานดีไซน์ในฝัน สู่อาคารที่ถูกใจในโลกแห่งความเป็นจริงบานเลื่อนแคบ แบบฟิกซ์กรอบกลาง

ในทางดีไซน์ เส้นสายของกรอบบานที่ขนานไปกับตัวบ้านเช่นนี้ ช่วยเติมดีไซน์ให้ผนังผืนใหญ่ไม่แข็งจนเกินไป รวมทั้งสีเข้มตัดกับผืนผนังสีอ่อน เป็นจุดดึงดูดสายตาที่ช่วยขับเน้นให้ผนังส่วนนี้ดูโดดเด่น เป็นอีกส่วนหนึ่งของงานตกแต่ง ในขณะเดียวกันในทางฟังก์ชัน กรอบบานหน้าต่างแม้จะแคบ แต่ก็ตอบฟังก์ชันในพื้นที่ส่วนที่ต้องการรักษาความเป็นส่วนตัว หรือเปิดใช้งานไม่บ่อย ตัวอย่างเช่นการระบายอากาศ หรือเปิดรับลมบ้างเป็นครั้งคราว แต่ยังคงต้องการเชื่อมต่อพื้นที่ภายในกับบรรยากาศดี ๆ ภายนอก บานเลื่อน 3 บาน

หลายคนอาจติดภาพว่า บานเลื่อนจะเป็นแบบบานคู่เท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วกรอบบานเลื่อนสามารถทำแบบ 3 บานได้ด้วย ซึ่งบานเปิดแบบนี้สามารถรวบเก็บหน้าบานไว้ข้างเดียวได้เลย ช่วยให้เปิดส่วนหน้าบานได้ถึงสองในสามของช่องเปิด กว้างกว่าบานแบบคู่เดียวที่เปิดออกได้เพียงครึ่งเดียว บานเลื่อนแบบ 3 บานของทอสเท็ม พบได้ในรุ่น WE Plus ซึ่งเป็นบานเลื่อน 3 บาน 3 ราง และรุ่น P7 ซึ่งเป็นบานเลื่อน 3 บาน 2 ราง บานเลื่อนออกจากมุม

เปิดสู่บรรยากาศภายนอกในมุมมองที่แตกต่าง ด้วยการติดตั้งกรอบบานเลื่อนแบบเปิดออกจากมุมของอาคาร จากเดิมที่เคยเป็นเพียงผนังมุมอับ ก็กลายเป็นมุมมองแบบ 270 องศา เปิดความโปร่งโล่งสบายแบบเต็มรูปแบบ ลบเหลี่ยมมุมของบ้านที่ชินตา กลายเป็นกิมมิกเก๋ ๆ ให้กับสถาปัตยกรรมอีกด้วย

เครดิตภาพ Yo-Ju Courtyard House

ออกแบบ: Wittman Estes

ถ่ายภาพ: Andrew Pogueบานเลื่อนออกจากมุมกระจก

ทางเลือกของบานเลื่อนออกจากมุมอีกแบบ นั่นคือการใช้กระจกเข้ามุมแบบบานฟิกซ์โอบล้อมแนวเสาเผยให้เสากลมเป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบ แล้วใช้บานเลื่อนแบบโอเวอร์ไซส์ที่สั่งทำพิเศษ เพื่อเปิดบรรยากาศออกได้เต็มตาตลอดทั้งแนวผืนผนัง ซึ่งบานเลื่อนนี้ สามารถเลือกเป็นแบบบานเลื่อนบานเดี่ยว หรือจะเป็นบานเลื่อนชนิดหลายบานก็ได้เพื่อเปิดบรรยากาศให้กว้างขวางกว่าที่เคย หลายบานเลื่อนในกรอบเดียว

จากเดิมที่กรอบช่องเปิดหนึ่งกรอบเท่ากับบานเลื่อนหนึ่งบาน ลองปรับเปลี่ยนมาเป็นบานเลื่อนที่แคบลง แต่มีหน้าที่ที่หลากหลายขึ้น กรอบประตูบานเลื่อนเต็มบานสำหรับเปิดออกไปเพื่อการดูแลรักษานอกบ้าน กรอบหน้าต่างบานเลื่อนสำหรับเปิดรับลมในวันอากาศดี ร่วมกับกรอบบานฟิกซ์ที่สร้างสเปซให้โปร่งโล่งขึ้น นอกจากฟังก์ชันที่มากมายตอบทุกความต้องการ เส้นตั้งของกรอบบานยังช่วยให้สเปซดูโอ่โถงกว้างขวางขึ้นอีก หน้าต่างบานเลื่อนกับมุมอ่านหนังสือ

จากผนังเดิมที่ว่างเปล่า ถูกปรับเปลี่ยนเติมฟังก์ชันด้วยม้านั่งแบบบิลท์อินติดกับผนัง เติมแสงสว่างให้กับมุมนั่งอ่านหนังสือด้วยหน้าต่างบานเลื่อนสูงจากขอบที่นั่งจรดฝ้าเพดาน แสงสว่างที่เข้าถึงได้เต็มที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ และพื้นที่เล็ก ๆ ยิ่งดูกว้างขวางขึ้นอีก อีกด้านหนึ่งกับบานเลื่อนแบบเต็มผืนผนัง ติดตั้งราวกันตกภายนอก ก็สร้างงานดีไซน์ของงานสถาปัตยกรรมไปพร้อมกับความปลอดภัยได้ในเวลาเดียวกัน หน้าต่างบานเลื่อนกับผนังกระจก

จากเดิมที่หน้าต่างทำหน้าที่เป็นเพียงช่องเปิด เปลี่ยนผืนผนังนี้ให้เป็นหน้าต่างสำหรับรับแสงบานยักษ์ ด้วยการใช้หน้าต่างแบบบานเลื่อนสูงจรดฝ้าเพดาน ส่วนผนังด้านล่างเดิมที่เคยเป็นบานทึบ เปลี่ยนเป็นบานฟิกซ์กระจก ผนังทั้งผืนจึงสามารถรับแสงสว่างได้เต็มที่ กระจกเต็มผืนแบบนี้เหมาะกับผนังทางทิศเหนือ เพราะสามารถรับแสงได้ตลอดทั้งวัน โดยไม่ได้รับรังสีความร้อนโดยตรง ผนังบานเลื่อนแบบกว้างพิเศษ จากเดิมที่เรามักชินตากับกรอบประตูบานเลื่อนแบบขนาดมาตรฐาน ลองเปลี่ยนหน้ากว้างมาเป็นขนาดใหญ่พิเศษ เพิ่มมุมมองการมองเห็นที่โปร่งโล่งมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้บานเลื่อนแบบเปิดออกจากตรงกลาง จะเลือกเปิดเพียงบานเดียวก็ได้ หรือจะเปิดออกทั้งสองบาน ก็สามารถเชื่อมสเปซภายนอกและภายในได้อย่างสมบูรณ์ ไร้กรอบกีดขวาง

เครดิตภาพ Rühlstrasse House

ออกแบบ: Alex Lehnerer Architekten

ถ่ายภาพ: Tobias Wootton

จับคู่สีกรอบบาน กับสไตล์การแต่งที่ถูกใจ

จับคู่สีกรอบบาน กับสไตล์การแต่งที่ถูกใจ

สำหรับในเรื่องความงามของสถาปัตยกรรม กรอบบานประตูหน้าต่างเป็นเหมือนกับเส้นสายที่ช่วยขับเน้นสไตล์การแต่งบ้านให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเลือกจับคู่สีระหว่างกรอบบานและสไตล์การตกแต่งของตัวบ้านจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญที่จะช่วยให้การตกแต่งได้โชว์ตัวตนให้เด่นชัดมากขึ้นกว่าที่เคย ครั้งนี้ เราจึงมีเคล็ดลับการจับคู่สีบานแบบง่ายๆ แต่สวยมากมาฝาก เผื่อการเปลี่ยนกรอบบานประตูหน้าต่างครั้งต่อไปจะช่วยทำให้บ้านของคุณสวยถูกใจตรงสไตล์ที่ต้องการ Modern House

บ้านแบบโมเดิร์นยังคงเป็นที่นิยมตลอดกาลสำหรับชาวไทย นั่นก็เพราะความเรียบง่ายแต่ยังดูเท่ เข้ากับการตกแต่งภายในได้หลายรูปแบบ สำหรับบ้านแบบโมเดิร์นสีเท่ไม่ว่าจะเป็นผนังสีขาวหรือสีเทา กรอบบานสีดำยังคงตอบโจทย์ในการขับเน้นเรื่องเส้นสายเฉียบคมของตัวบ้านให้ชัดเจน หรืออาจจะใช้สี natural silver เพื่อเติมเส้นสายในแบบโมเดิร์นแบบที่สอดคล้องไปกับสีขาวโดยรวม Modern Contemporary House

สำหรับบ้านโมเดิร์นที่ยังคงกลิ่นอายแบบร่วมสมัย สามารถเลือกใช้กรอบบานประตูหน้าต่างสีอ่อนลงมาอีกนิดอย่างสี Autumn Brown ซึ่งช่วยเน้นให้บ้านดูอบอุ่นยิ่งขึ้น เข้ากับการตกแต่งที่มักใช้ร่วมกับไม้สีเข้ม ช่วยสะท้อนความอบอุ่นของตัวบ้านตั้งแต่ภายนอกเข้าไปจนถึงการตกแต่งภายใน Minimal House บ้านอีกลุคหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้คือบ้านแบบมินิมัล ที่จุดเด่นอยู่ที่ความเรียบง่าย การใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้สีอ่อน และการจัดวางเฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้นเท่าที่จำเป็น กรอบบานที่แนะนำกับผนังสีขาวจึงเป็นสีอ่อนแบบ Shine Grey, Ivory White หรือ Natural White ที่ไม่ทำให้เส้นสายของบ้านดูโดดเด่นเกินไป กลมกลืนกับงานตกแต่งภายในโดยรวม แต่ยังคงสร้างความเชื่อมต่อระหว่างภายในบ้านและสิ่งแวดล้อมนอกบ้านได้อย่างสบายตา Loft House

บ้านสไตล์เท่ที่เน้นการโชว์พื้นผิวของวัสดุ อย่างแนวอิฐหรือไม้จริง ซึ่งความเข้มเท่เป็นไอเดียหลักสำหรับการตกแต่งห้อง การเลือกสีกรอบบานจึงควรเน้นสีโทนเข้มอย่างสีน้ำตาล Autumn Brown หรืออาจจะไปสุดได้จนถึงสีดำ Natural Black ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโทนสีโดยรวมของห้อง หากห้องมีการเล่นกับไม้สีเข้มและผนังอิฐสีขาวเช่นในรูป การเลือกใช้กรอบบานสีน้ำตาลจะช่วยให้พื้นที่โดยรวมดูกลมกลืนกว่า แต่หากพื้นผิวผนังเป็นปูสีเทาร่วมกับงานเหล็กสีดำ ควรเลือกใช้กรอบบานสีดำที่ช่วยเน้นเส้นสายให้ดูคมมากขึ้น Vintage House

เพิ่มลูกเล่นให้กับบ้านแนววินเทจสายหวาน ด้วยการใช้กรอบบานประตูหน้าต่างสีเข้มอย่างสีดำ แล้วเล่นกับเส้นสายแบ่งกรอบบานที่มาเติมแต่งเส้นเล็กๆ เพราะเส้นสีเข้มจะช่วยขับเน้นความอ่อนช้อยของคาแร็กเตอร์ของวินเทจออกมาได้โดดเด่นขึ้น และเป็นเส้นสายของกรอบบานที่เชื่อมกับเส้นสายของเฟอร์นิเจอร์ให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน