fbpx

Author Archives: GRANTScreativeWe40

บ้านในฝันถูกใจ แบ่งงบก่อสร้างอย่างไรให้ถูกต้อง

บ้านในฝันถูกใจ แบ่งงบก่อสร้างอย่างไรให้ถูกต้อง

จะต้องเตรียมเงินไว้สร้างบ้านเท่าไหร่นะ? ต้องกันเงินไว้ใช้จ่ายเรื่องไหนบ้าง? แล้วค่าอะไรจ่ายตอนไหนบ้าง? สารพัดปัญหาของคนสร้างบ้านที่มักประสบกัน เพราะบ้านหลังหนึ่งไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่ต้องเป็นบ้านที่เราอยู่แล้วสบายใจไปตลอดชีวิต การเริ่มต้นสตาร์ทตั้งแต่การเตรียมงบประมาณสร้างบ้านอย่างรอบคอบและคุ้มค่า จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรเรียนรู้ เพื่อให้ขั้นตอนการสร้างบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น กระเป๋าเงินก็จัดการได้อย่างถูกต้อง บ้านสวยก็ออกมาในแบบที่ถูกใจ

คำนวณเงิน

เริ่มจากข้อแรกสุดที่ทุกคนคิดถึงกัน “เราควรจะซื้อบ้านราคาเท่าไหร่ดี?” ง่ายที่สุดเลยคือการคิดคำนวณจากจำนวนรายรับ เพื่อให้สามารถวางแผนการผ่อนจ่ายในอนาคตได้โดยไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ในกรณีที่ต้องกู้เงิน หลักสำคัญคือ พิจารณาจากรายได้สุทธิ ซึ่งหมายถึงรายได้รวมที่หักค่าใช้จ่ายจิปาถะแล้ว เหลือเท่าไหร่เอามาคิดต่อที่ 70% ตัวอย่างเช่น คุณมีเงินเดือน 40,000 บาท หักค่าใช้จ่ายในชีวิตไปแล้ว 15,000 บาท รายได้สุทธิของคุณคือ 25,000 บาท คิดเป็นความสามารถที่ผ่อนได้อยู่ที่ 17,500 บาท (หรือ 70% ของ 25,000 บาท) จากนั้น ก็จะได้ว่าเราควรเริ่มต้นบ้านหลังนี้ที่งบประมาณเท่าไหร่ดี ด้วยการนำมาหารด้วย 7,000 บาท ซึ่งเป็นค่าโดยประมาณที่มาจากอัตราการผ่อนต่อเดือนสำหรับยอดเงินกู้ 1 ล้านบาทในเวลา 30 ปี ก็จะได้เป็น 2.5 เท่ากับยอดกู้อยู่ที่ 2.5 ล้านบาท ถ้ามีเงินโปะหรือเงินก้อนที่มากกว่านั้นก็เอามาบวกเพิ่มเป็นงบประมาณของเราได้เลย

ค่าบริการวิชาชีพ

แต่อย่าลืมว่า งบประมาณของการสร้างบ้านทั้งหมด จะต้องถูกนำมาแบ่งเป็นก้อนอีกตามรูปแบบค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเราก็แบ่งสรรมาให้แล้วแบบสำเร็จรูป ว่าควรมีสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายใดบ้าง อย่างแรกที่สุดคือ สำหรับบ้านที่ต้องการไหว้วานสถาปนิกเป็นผู้ออกแบบ เป็นคำตอบที่ทำให้เราได้บ้านอย่างที่เราต้องการมากที่สุดทั้งรูปลักษณ์และรูปแบบการใช้งาน ค่าบริการวิชาชีพไม่เพียงแต่กับสถาปนิกเท่านั้น ยังมีวิศวกรโยธา วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรงานระบบ เรามาดูกันเฉพาะค่าแบบของสถาปนิก สำหรับบ้านที่ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท มาตรฐานจากคู่มือสถาปนิกบอกว่าคิดเป็น 7.5% ของงบประมาณ ถ้าเกินจากนั้นก็จะคิดลดหลั่นเป็นขั้นบันได โดยการแบ่งจ่ายจะแบ่งออกเป็น 5 งวด งวดแรก – 5% เมื่อเซ็นสัญญา, งวดที่ 2 – 20% ส่งแบบร่างขั้นต้น, งวดที่ 3 – 20% ส่งแบบร่างสุดท้าย, งวดที่ 4 – 40% การออกแบบดีเทล และงวดสุดท้าย 15% ระหว่างก่อสร้าง ซึ่งสามารถยืดหยุ่นการเบิกจ่ายได้ตามที่ตกลงกับเจ้าของบ้านไว้

ค่าก่อสร้างบ้าน

งบประมาณอีกส่วนที่สำคัญคือ ค่าก่อสร้างบ้าน ซึ่งหมายรวมถึงตั้งแต่การถมที่ดินปรับระดับ โครงสร้างบ้านทั้งหมด งานสถาปัตยกรรม งานระบบไฟฟ้า-น้ำประปา-สุขาภิบาล โดยทั้งหมดจะมีแสดงใน BOQ หรือ เอกสารแสดงราคากลางในการก่อสร้าง ข้อดีของการทำ BOQ นอกจากใช้ในการสอบหาช่างผู้เชี่ยวชาญที่เสนอราคาได้ตรงกับความต้องการที่สุดแล้ว ยังช่วยควบคุมการวางแผนซื้อวัสดุก่อสร้างให้อยู่ใกล้เคียงงบประมาณและเป็นไปตามความต้องการมากที่สุด เป็นเสมือนแผนที่สำหรับการวางแผนควบคุมงานก่อสร้างที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าแบบบ้านเลย

ค่าตกแต่งภายใน

หลังจากโครงสร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย ก็ถึงเวลาที่จะต้องตกแต่งภายในเพื่อให้อาคารหลังนี้เข้าอยู่อาศัยและใช้ชีวิตได้จริง สำหรับคนที่มีงบประมาณมากหน่อยหรือใส่ใจกับการอยู่อาศัยก็จะใช้บริการนักออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งคิดราคาอยู่ในขั้นตอนนี้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรือแอ๊กเซสซอรี่สำหรับประดับตกแต่งบ้าน งบส่วนนี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบความต้องการ สไตล์ เน้นให้เลือกเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานพื้นฐานประจำวันก่อนเป็นความสำคัญอันดับแรก แล้วจึงค่อยคิดถึงการตกแต่งตามมา เพื่อให้สามารถทยอยใช้เงินได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ค่าสาธารณูปโภคนอกบ้าน

สุดท้ายแล้ว ก่อนที่บ้านจะใช้งานได้จริง ก็จำเป็นจะต้องติดต่อกับเครือข่ายของสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ครบครัน ทั้งมิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟ รางระบายน้ำฝนรอบบ้าน รั้วรอบขอบชิด ประตูหน้าบ้าน ทำบ้านให้สวยงามตั้งแต่แวบแรกที่ผู้คนมองเห็น เผื่อไปจนถึงการจัดสวนหรือการจัดการพื้นที่ว่างเปล่านอกบ้าน ซึ่งหากใครมีงบประมาณก็สามารถจ้างนักออกแบบสวนมืออาชีพมาช่วยตรงนี้ได้เลย เพราะความเชี่ยวชาญเรื่องการเลือกสรรพรรณไม้ให้เหมาะกับพื้นที่และสภาพแสงแดดของบ้าน รวมทั้งการจัดองค์ประกอบที่สวยงาม จะช่วยเติมเต็มความงามและความสุขให้กับบ้านและสมาชิกครอบครัว ตั้งแต่นอกบ้านก่อนเข้าไปถึงในบ้าน

ออกแบบช่องเปิด ประตู-หน้าต่าง อย่างไร ให้บ้านอยู่สบายที่สุด

ออกแบบช่องเปิด ประตู-หน้าต่าง อย่างไร ให้บ้านอยู่สบายที่สุด

บ้านในนิยามของแต่ละคนแม้จะแตกต่างกันไป – บางคนคือพื้นที่รวมความสุขของสมาชิกครอบครัว บางคนคือที่พักใจยามเหนื่อยล้า – แต่จุดร่วมของความเป็นบ้านสำหรับทุกคนคือ พื้นที่อยู่สบายที่สุด ทั้งในทางกายภาพและทางจิตใจ ส่วนที่สำคัญมากสำหรับการทำบ้านให้อยู่สบาย คือช่องเปิด นั่นก็เพราะเป็นพื้นที่ที่อนุญาตให้สภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งลม แสงแดด เข้ามาหมุนเวียนสร้างสุขภาวะที่ดีอย่างหน้าต่าง และเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายนอกและภายในบ้านอย่างประตู เมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายในบ้านดี ชีวิตก็อยู่สบาย ช่องเปิดจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของบ้านที่ควรให้ความใส่ใจไม่แพ้ทุกส่วนของบ้าน

ทิศทางของช่องเปิด

สำหรับบ้านเมืองไทยในเขตร้อนแล้ว ทิศทางเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุด ทิศตะวันตกอ้อมใต้คือทิศที่พระอาทิตย์เดินทาง แดดจึงร้อนทั้งวัน ลมหน้าหนาวตะวันออกเฉียงเหนือ ลมหน้าฝนตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อนำมาแมทช์กับทิศทางบนที่ตั้งของบ้านแล้วก็จะพอทราบคร่าวๆ ว่า เราควรจะเปิดหน้าต่างหรือประตูออกทางทิศไหน หน้าต่างทางทิศไหนที่ควรมีกันสาดยื่นออกไปกันฝนสาดและแดดแรง ทิศทางที่แนะนำสำหรับช่องเปิดบานประตูหน้าต่าง นั่นคือทิศทางเหนือและใต้ สามารถเปิดช่องเปิดขนาดใหญ่สำหรับรับแสงแดดและลม ช่องเปิดที่เลือกควรเป็นหน้าต่างประเภทที่เปิดได้กว้างอย่างบานสะวิงหรือบานเลื่อน แต่อย่าลืมว่าลมมีทางเข้าจำเป็นต้องมีทางออก เพราะฉะนั้นในหนึ่งห้องควรมีช่องเปิดสองฝั่งที่ตรงกันเพื่อให้ลมพัดผ่านได้ดี รวมทั้งเรื่องขนาด หากมีความจำเป็นต้องเปิดออกในทิศทางที่ไม่มีลมหรือแดดแรง อาจใช้การเปิดช่องขนาดเล็กเพื่อให้แสงสว่างส่องถึง ก็ช่วยสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับบ้านได้

ช่องเปิดแบบบานฟิกซ์

ส่วนใหญ่ที่ทุกคนนึกถึงเวลาพูดถึงช่องเปิดนั่นคือบานหน้าต่างแบบเปิดเชื่อมต่อได้กับสิ่งแวดล้อม แต่กรอบบานหน้าต่างแบบบานฟิกซ์ก็มีประโยชน์ไม่แพ้กับบานเปิดได้ เพราะเคล็ดลับอยู่สบายของพื้นที่ก็มีบานฟิกซ์เข้ามาเป็นพระเอกคนสำคัญ อย่างในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากอย่าง อย่างผืนผนังระดับสูงใต้หลังคา ซอกมุม หรือระดับพื้นของอาคารชั้นบนที่เกิดอันตรายได้หากใช้ช่องเปิดแบบเปิดได้ กรอบบานหน้าต่างแบบบานฟิกซ์เข้ามาช่วยทำให้ห้องหรือพื้นที่ดูโปร่งโล่งขึ้นจากทัศนวิสัยที่เปิดออกสู่ภายนอก แสงแดดที่เข้ามาสร้างบรรยากาศอบอุ่น ไม่อึดอัด และยังมีส่วนช่วยเติมดีไซน์ให้บ้านไม่ทึบตันจนเกินไป

บานกระทุ้ง บานเกล็ด ระบายอากาศ

หน้าที่สำคัญของช่องเปิดคือการระบายอากาศ การมีบานเปิดที่เปิดได้อย่างปลอดภัยจึงเป็นทางเลือกที่ดี ทั้งบานกระทุ้งที่สามารถผลักเปิดออกเหมือนเป็นกันสาดเล็กๆ ให้กับช่องเปิด แม้ฝนจะตกก็ยังระบายอากาศและรับลมเย็นได้ หรือบานเกล็ดที่เปิดสำหรับระบายอากาศได้ตลอดทั้งวัน บานกระทุ้งและบานเกล็ดยังถูกประยุกต์เข้ามาอยู่ร่วมกับประตู เพื่อให้การระบายอากาศทำหน้าที่ได้ดีขึ้น จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นวัตกรรมการออกแบบและการผลิตในปัจจุบันมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างฟังก์ชันที่อยู่สบาย พร้อมกับรูปลักษณ์ที่ทำให้งานดีไซน์ของบ้านโดยรวมดูโดดเด่นและมีเอกลักษณ์

บานเลื่อนเชื่อมพื้นที่

ห้องที่โปร่งโล่งคือพื้นที่ในฝันของบ้านทุกหลัง แต่ด้วยขนาดที่จำกัดของพื้นที่ทำให้การใช้บานเลื่อนสำหรับเชื่อมพื้นที่เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ระหว่างภายในและภายนอกบ้าน หรือพื้นที่ภายในบ้านด้วยกันเอง เราจะได้ห้องใหญ่ขึ้นชั่วคราวก็เพราะฟังก์ชันของบานเลื่อนแบบเต็มบานนี่เอง ผืนผนังบานเลื่อนกระจก มีทั้งฟังก์ชันที่เชื่อมพื้นที่เข้าด้วยกัน อนุญาตให้แสงเข้ามาถึงภายในห้องได้อย่างเต็มที่ ห้องดูโปร่งโล่งอยู่สบาย และในเชิงสถาปัตยกรรมแล้ว บานเลื่อนแบบกระจกสำคัญมากในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองพื้นที่ไม่ให้อยู่ตัดขาดกันอย่างสิ้นเชิง แม้จะยังปิดอยู่ ทั้งสองฝั่งกระจกก็ยังทำกิจกรรมได้อย่างเป็นส่วนตัวโดยไม่ตัดขาดจากกันและกัน หรือหากเปิดออกอย่างเต็มที่ก็คือการสร้างพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น รองรับกิจกรรมได้มากขึ้น และที่สำคัญคือ อยู่สบายขึ้น

เลือกรูปแบบบานตามรูปแบบการใช้งาน

ที่สำคัญที่สุดของบ้านอยู่สบายคือฟังก์ชัน เพราะเมื่อฟังก์ชันครบตามความต้องการแล้ว ความสบายกายสบายใจก็จะตามมา อย่าลืมวิเคราะห์ความต้องการของบ้านแต่ละส่วนว่าส่วนใดมีความต้องการแบบใด ห้องนั่งเล่นที่อยากเปิดออกได้เต็มที่อาจใช้รูปแบบบานเฟี้ยมหรือบานเลื่อนแบบเต็มผนัง หน้าต่างห้องนอนที่ใช้เปิดระบายอากาศเพียงครั้งคราวอาจใช้บานสะวิง ห้องน้ำที่ต้องการความเป็นส่วนตัวแต่ยังอยากระบายความชื้นเลือกใช้บานกระทุ้ง ประตูหน้าบ้านที่ยังอยากเห็นคนข้างหน้าเลือกใช้บานประตูที่มีกรอบกระจกฟิกซ์อยู่ข้างใน ใต้ชายคาที่อยากให้แสงสว่างส่องถึงเลือกใช้บานฟิกซ์ในจุดที่เข้าถึงได้อยาก ความต้องการเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้แหละ ที่สร้างความสบายชิ้นใหญ่เป็นของขวัญต้อนรับกลับบ้านสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว

รวม 10 ไอเดียบานผสม อิสระในการมิกซ์หน้าบาน เพื่องานดีไซน์นอกกรอบ

รวม 10 ไอเดียบานผสม อิสระในการมิกซ์หน้าบาน เพื่องานดีไซน์นอกกรอบ

ความสนุกของงานตกแต่งอีกอย่างคือการที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างฟังก์ชันที่ตอบความต้องการใช้งานพื้นที่ไปพร้อมกับความงาม เช่นเดียวกับกรอบบานหน้าต่างที่ไม่ได้มอบเพียงหน้าตาที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ของบ้าน ที่ยังตอบจุดประสงค์ของพื้นที่ใช้งานทั้งในแง่ทัศนวิสัยการมองและการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะ เราจึงชวนคุณมาสนุกกับการมิกซ์แอนด์แมทช์ ผสมผสานกรอบบานหน้าต่างหลากหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีทริคสำคัญในการแต่งบ้านและซ่อนฟังก์ชันการใช้งานเพื่อคุณภาพชีวิต

บานฟิกซ์หัวมุม-บานเลื่อน

BAAN TARA KEREE 2

ข้อดีของบานฟิกซ์หัวมุมคือ ช่วยดึงแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาทำให้บ้านดูกว้างขวางขึ้น เหมาะสำหรับทิศเหนือที่มีแสงสว่างตลอดวันโดยที่ไม่มีลำแสงโดยตรงอย่างในทิศตะวันตกและทิศใต้ ติดคู่กับบานเลื่อนซึ่งประกบหน้าบานด้านบนและล่างด้วยบานฟิกซ์ เปลี่ยนผนังทึบแบบเดิม ให้กลายเป็นผนังต้อนรับธรรมชาติ

บานฟิกซ์-บานเปิด

BAAN PUNSURIN

สำหรับห้องน้ำ ซึ่งเรื่องสุขลักษณะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด กระจกทำหน้าที่ต้อนรับแสงธรรมชาติให้เข้ามาทำให้ห้องน้ำแห้งอยู่เสมอ ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อรา โดยเฉพาะกับอ่างอาบน้ำที่มาพร้อมกับบรรยากาศดื่มด่ำขณะใช้งาน ฝั่งหนึ่งเป็นบานฟิกซ์ต้อนรับแสง อีกฝั่งหนึ่งแบ่งไว้สำหรับเปิดหน้าบานรับอากาศดีด้านนอก โดยยังคงติดบานมุ้งลวดเพื่อป้องกันแมลงเข้ามาภายใน

บานฟิกซ์-บานเปิดจุดหมุนกลาง

BAAN PUNSURIN

เปลี่ยนจากหน้าต่างบานกระทุ้งในห้องน้ำแบบเดิมๆ เป็นบานเปิดที่มีจุดหมุนตรงกลาง เพิ่มลูกเล่นให้กับการใช้งานไปพร้อมกับดีไซน์ห้องน้ำที่ไม่เหมือนใคร โดยยังคงคุณสมบัติการระบายอากาศอย่างปลอดภัยได้เหมือนกับบานกระทุ้ง ส่วนเหนือหน้าต่างที่เอื้อมไม่ถึงติดตั้งบานฟิกซ์เพื่อให้แสงสว่างส่องถึง ห้องน้ำจึงแห้งและสะอาดถูกสุขลักษณะตลอดทั้งวัน

บานฟิกซ์-บานกระทุ้ง

BAAN 362

บานกระทุ้งไม่ได้ถูกจำกัดเพียงสำหรับการระบายอากาศบางส่วนของห้องเท่านั้น แต่บานกระทุ้งหลายๆ บานประกอบกันกับบานฟิกซ์ก็กลายเป็นผืนผนังหน้าต่างผืนใหญ่ ที่ให้ได้ทั้งฟังก์ชั่นของการเลือกเปิดเพื่อระบายอากาศ รักษาความเป็นส่วนตัวตามฟังก์ชันของห้องที่ต้องการ แต่ยังคงรับบรรยากาศธรรมชาติให้รู้สึกโปร่งโล่งสบาย

บานฟิกซ์-บานเลื่อน

BAAN PUNSURIN

ครีเอตสวนกลางบ้านที่ต้อนรับแสงธรรมชาติเข้ามาอย่างเต็มที่ในพื้นที่มุมอับ ด้วยการใช้กระจกบานฟิกซ์บานใหญ่เป็นกรอบรูปธรรมชาติ และส่วนด้านล่างติดตั้งกรอบบานเลื่อนพร้อมกับกรุมุ้งลวดไว้ด้านล่างเลื่อนปิดเปิดสำหรับการระบายอากาศ โดยไม่บดบังวิวทิวทัศน์ของสวนสีเขียว

บานฟิกซ์-บานกระทุ้ง

BAAN PATTARIN

เปิดมุมมองสู่สวนกลางบ้านโดยยังคงการระบายอากาศที่ดี ด้วยการติดตั้งบานกระทุ้งบานเล็กไว้ส่วนด้านล่างในระดับพื้น สำหรับเปิดระบายอากาศได้อย่างอุ่นใจ กรอบบานหน้าต่างบานใหญ่เปิดทัศนียภาพจากภายนอกเข้ามาสร้างบรรยากาศธรรมชาติภายในบ้านได้อย่างเต็มตา

บานเลื่อน-บานฟิกซ์

PLUS CONDO

เปิดมุมมองการทอดสายตาระหว่างนอนด้วยการติดตั้งบานฟิกซ์ในระดับเดียวกันกับเตียง เหนือระดับของบานฟิกซ์เป็นบานเลื่อนสำหรับเปิดออกอย่างเต็มที่ในระยะที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งาน ติดตั้งให้โปรไฟล์ของหน้าต่างเรียงสับหว่างกัน เพื่อเปิดมุมมองให้กว้างขวางโดยไม่มีสิ่งกีดขวางสายตา

บานฟิกซ์-บานเปิด

LIFE IN THE GARDEN

ใช้กระจกบานฟิกซ์ทำหน้าที่เป็นผืนผนังที่เปิดต้อนรับสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้ามาเป็นทิวทัศน์ให้กับการใช้งานพื้นที่ภายใน เติมกรอบบานหน้าต่างบานเปิดกรอบหนาเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งที่ช่วยเน้นให้การตกแต่งด้วยหน้าต่างดูสนุกและเท่ยิ่งขึ้นกว่าที่เคย

บานเลื่อน-บานฟิกซ์-ประตูบานเปิด

MASTER HOME

เปลี่ยนกรอบหน้าต่างธรรมดาให้กลายเป็นพื้นที่ห้องดาดฟ้าสุดพิเศษ ด้วยการประกอบกรอบบานประตูและหน้าต่างหลายๆ แบบตามฟังก์ชันที่ต้องการ ทั้งส่วนประตูบานเปิดและบานเลื่อนหน้าต่างที่ต้องการให้เปิดออกสู่ระเบียง ส่วนผนังที่เหลือใช้การติดตั้งกรอบกระจกบานฟิกซ์ให้ชั้นดาดฟ้าเปิดออกสู่บรรยากาศภายนอกแบบพานอรามา

บานฟิกซ์-บานเลื่อน

OXYGEN

แม้จะเป็นการติดตั้งกรอบประตูและหน้าต่างบานเลื่อนพร้อมกับบานฟิกซ์แบบธรรมดา แต่รูปแบบการติดที่แปลกตา เช่นให้บานฟิกซ์แนวนอนเหนือหน้าต่างสลับกับบานฟิกซ์แนวตั้งทรงสูง ก็ช่วยสะท้อนงานออกแบบให้รูปลักษณ์ของสถาปัตยกรรมดูโดดเด่นสะดุดตาขึ้นผ่านการไอเดียของการติดตั้งกรอบบานประตูหน้าต่างที่สีสันสวยงามในตัวกรอบเอง

ออกแบบสู้ฝน เตรียมพร้อมบานประตูหน้าต่างก่อนฤดูกาลใหม่จะมาถึง

ออกแบบสู้ฝน เตรียมพร้อมบานประตูหน้าต่างก่อนฤดูกาลใหม่จะมาถึง

ปราการด่านแรกสุดที่จะต้องเจอกับลมฝนทุกครั้งเมื่อฤดูฝนมาเยือนก็คือบานประตูหน้าต่าง หลายครั้งที่น้ำซึมผ่านช่องว่างระหว่างกรอบบาน หลายครั้งที่พายุรุนแรงจนกรอบบานสั่น และหลายครั้งเช่นกันที่พอคิดจะเปลี่ยนก็เข้าหน้าฝนเสียแล้ว อะไรก็ยากขึ้นไปกว่าเดิมอีก ในโอกาสที่ฤดูกาลใหม่กำลังจะเวียนมาเยือนอีกครั้งหนึ่ง เราขอชวนคุณมาเตรียมป้องกันบานประตูหน้าต่างให้พร้อมสู้ฝนยาวนานตลอดฤดู และตลอดอายุการใช้งาน

สังเกตรอยต่อ

ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำฝนรั่วซึมเข้ามาภายในบ้านนั่นก็คือบรรดารอยต่อต่างๆ ทั้งรอยต่อระหว่างวงกบกับขอบผนัง หรือวงกบกับกรอบบานเองที่ปิดไม่แนบสนิท โดยเฉพาะกับบานหน้าต่างที่เป็นวัสดุที่ยืดหดตัวตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อย่างไม้บวม หรือหดตัวจนเกิดรอยต่อที่น้ำเข้าเป็นคราบ แนะนำให้เปลี่ยนใหม่มาใช้งานกรอบบานประตูหน้าต่างที่ทำจากวัสดุซึ่งทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างกรอบบานอะลูมิเนียมของทอสเท็ม ซึ่งผ่านกระบวนการผลิตมาตรฐานสากล บานประตูหน้าต่างและกรอบวงกบจึงปิดกันได้สนิท และด้วยทีมช่างมาตรฐาน จึงวางใจได้ในเรื่องยาแนวรอบต่อที่แน่นสนิท ใช้งานอย่างมั่นใจตลอดอายุการใช้งาน

รางล่าง ทางระบายน้ำ

เพราะกรอบบานประตูหน้าต่างต้องปะทะกับน้ำฝนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับประตูและหน้าต่างรางเลื่อน ตรวจสอบรางระบายน้ำให้ดีว่าไม่มีเศษฝุ่นเข้าไปอุดตัน อย่างบานประตูหน้าต่างทอสเท็มจึงดีไซน์โปรไฟล์กรอบล่างติดตั้งตัวระบายน้ำในทุกรุ่น โดยเฉพาะรุ่น GRANTS ที่เสริมระบบป้องกันน้ำ 2 ชั้นในกรอบบาน Water Tightness Performance หรือการป้องกันน้ำรั่ว เป็นอีกคุณสมบัติหลักของกรอบบานที่ทอสเท็มใส่ใจ โดยมีการทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันน้ำฝนรั่วกับทุกรุ่นของบานหน้าต่าง สำหรับป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวหน้าต่างเอง รวมไปถึงทรัพย์สินภายในบ้านแสนรักหลังนี้

แบ่งเฟรมน้อยๆ ทนฝนนานๆ

ส่วนดีไซน์ของตัวกรอบบานก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยถนอมรักษาหน้าบานประตูหน้าต่างให้ใช้งานต่อไปได้นานๆ ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบบานหน้าต่างที่มีการแบ่งเฟรมมากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่น้ำฝนจะซึมเข้าตามรอยต่อระหว่างการแบ่งเฟรม แล้วกักขังจนกลายเป็นแหล่งของเชื้อรา ดังนั้น หากต้องทำบ้านใหม่ หรือเปลี่ยนบานหน้าต่างใหม่ครั้งต่อไป ควรเลือกกรอบหน้าบานที่เรียบง่าย ลดรอยต่อบนหน้าบานให้น้อยที่สุด เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้นานที่สุด

อุปกรณ์ประกอบ ไม่เป็นสนิม

สัญญาณอีกประการเมื่อฤดูฝนมาเยือนคือ กรอบบานประตูหน้าต่างที่ฝืด หรือเกิดเสียงดังออดแอด นั่นก็เพราะบานพับ มือจับ หรือลูกบิดต่างๆ ขึ้นสนิมเนื่องมาจากความชื้นสะสมที่ทำปฏิกิริยากับโลหะ ดังนั้นหากอุปกรณ์ประกอบ เช่น บานพับ หรือโช๊กอัพเป็นวัสดุประเภทอะลูมิเนียมมาตรฐานเหมือนกับของทอสเท็ม ก็จะหมดห่วงกับปัญหาการเกิดสนิมได้ตั้งแต่ต้นทาง และยังสามารถเปิดปิดบานประตูหน้าต่างได้อย่างราบรื่น รวมทั้งตัวหน้าบานของทอสเท็มที่เป็นวัสดุอะลูมิเนียมชุบสีอะโนไดซ์ที่ทั้งทนทานและสวยงาม พอหน้าฝนมาเยือนทีไรก็ไม่ต้องกังวล

เติมกันสาด ระแนงกันฝน

อีกส่วนที่จะช่วยยืดอายุการใช้งานกรอบบานประตูหน้าต่างออกไปได้อีก คือการติดตั้งกันสาดหรือระแนงตลอดตามแนวประตูหน้าต่าง นอกจากจะป้องกันน้ำฝนที่จะปะทะกับกรอบประตูบานหน้าต่างโดยตรงแล้ว ยังช่วยป้องกันความชื้นที่อาจก่อให้เกิดคราบเชื้อราฝังตัวตามร่อง รวมทั้งช่วยป้องกันแสงแดดและสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนได้อีกด้วย ประตูและหน้าต่างที่เลือกมาสำหรับบ้านหลังนี้จึงยังคงเอกลักษณ์ความสวยงามไว้ได้อีกยาวนานเท่านาน

หลากรูปแบบการเปิดประตูบานเฟี้ยม

หลากรูปแบบการเปิดประตูบานเฟี้ยม

ประตูบานเฟี้ยมของทอสเท็มมาพร้อมกับทางเลือกของรูปแบบการเปิดหน้าบานที่ทั้งสนุกขึ้น และใช้ประโยชน์จากรูปแบบการเปิดที่หลากหลาย ด้วยโปรไฟล์ที่ถูกออกแบบอย่างชาญฉลาด และการติดตั้งชุดอุปกรณ์คุณภาพสูง บานเฟี้ยมของทอสเท็มจึงสวยงาม ใช้งานได้อย่างสะดวก ไปพร้อมกับดีไซน์แบบเปิดที่แตกต่างได้ตามความต้องการของคุณ

เปิดจากตรงกลาง

รูปแบบการเปิดบานเฟี้ยมที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นั่นคือการเปิดออกจากตรงกลาง เก็บหน้าบานไว้ทั้งสองด้านเท่าๆ กัน สร้างการเปิดที่ดูสมดุล รักษาดีไซน์กรอบบานให้ดูเรียบร้อยทั้งตอนเปิดและตอนปิด บานเฟี้ยมของทอสเท็มแบบเปิดออกจากตรงกลาง ใช้งานได้กับประตูบานเฟี้ยมทั้งแบบ 4 บาน (ด้านละ 2 บาน), 8 บาน (ด้านละ 4 บาน), 12 บาน (ด้านละ 6 บาน) และ 16 บาน (ด้านละ 8 บาน)

2 บาน : 4 บาน

สำหรับประตูบานเฟี้ยมแบบ 6 บานสามารถเปิดออกได้จากตรงกลางเช่นกัน แต่ความพิเศษอยู่ตรงที่สามารถจับคู่การเปิด ให้ผลักไปด้านหนึ่ง 2 บาน อีกด้านหนึ่ง 4 บาน ซึ่งข้อดีของการผลักเปิดปิดในระยะที่ต่างกันแบบนี้คือสามารถเลือกการกั้นระหว่างห้องภายในกับสิ่งแวดล้อมได้มากน้อยตามความต้องการใช้งานพื้นที่ หากต้องการเปิดเพียงบางส่วน ก็สามารถผลักเปิดฝั่ง 2 บาน หรือหากต้องการปิดบางส่วนแต่เปิดเป็นส่วนใหญ่ ก็สามารถผลักเปิดฝั่ง 4 บานได้เลย

เปิดรวบด้านเดียว

อีกรูปแบบการเปิดหน้าบานเฟี้ยมที่ได้รับความนิยมมากคือ การเปิดรวบแบบด้านเดียว เพราะใช้งานสะดวก สามารถปิดเปิดบานได้ด้วยการเปิดเพียงครั้งเดียว จากผลิตภัณฑ์มาตรฐานสูงและความแข็งแรงของอุปกรณ์ทอสเท็ม จึงหมดปัญหาหน้าบานตกที่เกิดจากการรับน้ำหนักบานเปิดทั้งหมดที่รวบมาไว้ฝั่งเดียวกัน บานเฟี้ยมทอสเท็มแบบเปิดออกด้านเดียว ใช้ได้กับแบบ 4 บาน, 6 บาน และ 8 บาน

เปิดรวบได้ทั้งสองด้าน

เพื่อเปิดรับการใช้งานพื้นที่ที่หลากหลายมากกว่า ทอสเท็มจึงออกแบบรูปแบบการเปิดปิดประตูบานเฟี้ยมที่สามารถรวบไว้ด้วยกันได้ทั้งสองฝั่ง เลือกฝั่งรวบหน้าบานได้ตามความต้องการใช้งานพื้นที่ และความถนัดในการใช้งานหน้าบานของสมาชิกในบ้านแต่ละคนที่แตกต่างกัน โดยบานเฟี้ยมทอสเท็มแบบเปิดรวบได้ทั้งสองด้าน ใช้ได้กับแบบ 4 บาน, 6 บาน และ 8 บาน

ตอบทุกปัญหาบานสไลด์ระบบรางเลื่อน ด้วยดีไซน์ฟังก์ชันคิดมาแล้วของทอสเท็ม

ตอบทุกปัญหาบานสไลด์ระบบรางเลื่อน ด้วยดีไซน์ฟังก์ชันคิดมาแล้วของทอสเท็ม

หนึ่งในกรอบบานประตูหน้าต่างที่เป็นที่นิยมมากในประเทศไทยคือกรอบบานเลื่อน และบานเฟี้ยม นั่นก็เพราะประหยัดเนื้อที่ ความสะดวกสบายในการใช้งาน และยังสามารถกำหนดความกว้างได้ตามต้องการ ซึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้บานเลื่อนทำงานได้อย่างราบรื่น นั่นก็คือระบบราง ทอสเท็มคำนึงถึงงานออกแบบในทุกมิติของการใช้งานกรอบบานประตูหน้าต่าง ตั้งแต่ตัวหน้าบานเอง ไปจนถึงรายละเอียดเล็กๆ อย่างรางเลื่อนเพื่อการใช้งานเลื่อนได้ง่าย ความงามทางสถาปัตยกรรม และตอบโจทย์ความต้องการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ล้อเลื่อน แข็งแรงทนทาน

สำหรับบานเลื่อน ระบบรางจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกับล้อแขวนเพื่อช่วยให้เลื่อนเปิดปิดรางได้สะดวกสบาย ร่วมกับการแขวนหน้าบานประตูได้อย่างมั่นคง โดยตัวระบบล้อแขวนของทอสเท็มเองยึดติดกันอย่างแข็งแรง สามารถพยุงให้ทั้งบานสามารถเลื่อนเปิดปิดอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด เบาแรง และปลอดภัย

ระบบราง และโปรไฟล์ระบายน้ำ

สำหรับบานหน้าต่างแบบบานเลื่อน น้ำฝนที่สาดเข้ามามักขังอยู่ในรางด้านล่าง ทอสเท็มจึงออกแบบโปรไฟล์กรอบล่างในแบบป้องกันน้ำ รวมทั้งรางล่างของบานประตูแบบบานเลื่อน ที่ด้วยการติดตั้งตัวระบายน้ำ ป้องกันน้ำฝนรั่วเอ่อล้นกลับเข้ามาภายในบ้าน และน้ำขังจนอาจทำให้กรอบบานเสื่อมสภาพได้รางล่าง ธรณีเรียบ

จากเดิมที่การติดตั้งรางล่างทับบนพื้น เกิดเป็นส่วนยื่นนูนขึ้นมาระหว่างพื้นที่ห้องสองฟาก ทอสเท็มจึงมีระบบธรณีแบบเรียบให้เลือกใช้ด้วยเหมาะสำหรับบานภายในบ้าน โดยจะฝังลงให้ระดับขอบราบเรียบเสมอกับผิวพื้นทั้งหมด สะดวกและปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ใช้งานวีลแชร์

บานแขวนกั้นห้อง

สำหรับบานภายในของ Interior Series มีชนิดติดตั้งแบบรางแขวน ไม่มีรางพื้น จึงสามารถเดินผ่านได้สะดวกสบาย พร้อมติดตั้งกลไกพิเศษใต้กรอบบานเพื่อป้องกันบานสั่นขณะเลื่อนเปิดปิด นอกจากนี้ยังเลือกติดตั้งตัวซอฟต์โคลส (อุปกรณ์เสริม) เพื่อเพิ่มความนุ่มนวลและความปลอดภัยในการเปิดปิด