fbpx

Tag: ที่อยู่อาศัย

TOSTEM ก้าวสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมสีใหม่ ‘DUSK GRAY’

TOSTEM ก้าวสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมสีใหม่ ‘DUSK GRAY’

จากประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่าหนึ่งศตวรรษ หนึ่งศตวรรษแห่งความมุ่งมั่นตั้งใจ สู่หนึ่งศตวรรษแห่งความเชี่ยวชาญ ก้าวแรกสู่ศตวรรษถัดไป สีใหม่จากทอสเท็ม DUSK GRAY

 

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

หนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทอสเท็มไม่ได้ผลิตแค่เพียงประตูหน้าต่างเท่านั้นเพราะเป้าหมายของเราคือยกระดับคุณภาพของที่อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ความรู้และนวัตกรรมที่เราคิดค้นมาอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทำให้เราก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับที่อยู่อาศัยเป็นเจ้าแรก

เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษแล้วที่ทอสเท็มทุ่มเทให้กับการพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สินค้าของเราทำให้เราก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมและทอสเท็มกำลังมุ่งหน้าสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมเปิดตัวสีใหม่ล่าสุดสู่วงการประตูหน้าต่าง สี Dusk Gray

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

ความลงตัวระหว่างพื้นผิวเมทาลิกและสีเข้ม การผสมผสานระหว่างพื้นผิวเมทาลิกและสีเข้ม ทอสเท็มให้ความสำคัญกับพื้นผิวของสินค้าเพราะเป็นส่วนที่สร้างความสวยงามให้กับตัวอาคาร โดยใช้เทคนิคการชุบสีอโนไดซ์เป็นชั้นๆ และเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าเพื่อให้ได้สี DUSK GRAY ที่มีความทึบแสงและไม่ทำลายเนื้ออะลูมิเนียม

 

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

Blends into your lifestyle 

ปัจจุบัน สีเทาเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากเป็นโทนสีที่เหมาะกับเปลือกของอาคาร และสีเทาเป็นสีที่เข้าได้กับเฉดสีที่อ่อนและเข้มกว่า นอกจากนี้ ยังเหมาะกับตัวอาคารดีไซน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมินิมอล โมเดิร์น คอนเทมโพรารี่ หรือดีไซน์ที่มีความซับซ้อน ทอสเท็มจึงเลือกออกสีใหม่เป็นสีเทา Dusk Gray เพื่อตอบสนองเทรนด์นี้โดยเฉพาะ เมื่อนำสินค้าพื้นผิวอะลูมิเนียมมาใช้กับตัวบ้านจะช่วยเพิ่มพื้นผิวที่มีความแตกต่างแต่เข้ากับตัวบ้านและกลมกลืนกับบริเวณโดยรอบได้อย่างลงตัวนอกจากนี้ วัสดุอะลูมิเนียมยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย

 

ชม e-Catalog สี DUSK GRAY คลิกที่นี่

 

ช่องทางการติดต่อ TOSTEM Thailand
OSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra

TOSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra บ้านที่สะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัย

OSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra

TOSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra
บ้านที่สะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัย

การเลือกใช้วัสดุที่ดีมีคุณภาพสูงในการสร้างบ้าน นอกจากจะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตในบ้านอย่างอุ่นใจไร้ความกังวลแล้ว ยังช่วยสะท้อนแนวคิดการออกแบบและตัวตนของคนในบ้านอย่าง  Providence Lane Ekkamai-Ramintra  ที่ตั้งใจออกแบบให้บ้านที่สะท้อนตัวตนของผู้อยู่อาศัย ผ่านความงามวัสดุและดีไซน์ที่เรียบง่าย

วันนี้เราจึงมาเล่า 5 สิ่งที่น่าสนใจจาก   TOSTEM  แบรนด์ผลิตภัณฑ์ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมคุณภาพสูงจากญี่ปุ่นที่มาเติมเต็มโครงการ Providence Lane Ekkamai-Ramintra บ้านเดี่ยวสไตล์ Luxury Modern ให้เป็นบ้านที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนรุ่นใหม่ โดย 2 ผู้บริหาร คุณวิชา วรสายัณห์ จากบริษัท LIXIL (Thailand) แบรนด์ TOSTEM และคุณณพน เจนธรรมนุกูล จากบริษัท   สัมมากร (Sammakorn)

OSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra
คุณวิชา วรสายัณห์ จากบริษัท LIXIL (Thailand) แบรนด์ TOSTEM
OSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra
คุณณพน เจนธรรมนุกูล จากบริษัทสัมมากร (Sammakorn)

OSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra

บ้านที่เป็นเหมือนผืนผ้าใบให้ผู้อยู่อาศัยได้มาแต่งแต้มสีสัน

Providence Lane Ekkamai-Ramintra  โครงการบ้านเดี่ยวระดับ Luxury บนเนื้อที่ 3 ไร่ ย่านเลียบด่วน เอกมัย – รามอินทรา เป็นย่าน Residential Area ด้วยสภาพแวดล้อมโดยรอบที่มีความคึกคักและใกล้สถานที่สิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทั้งห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และโรงเรียนนานาชาติ และยังเชื่อมต่อกับความเป็นเมืองอย่างพหลโยธิน-ลาดพร้าว พระรามเก้า–รามคำแหง รวมถึงย่านใจกลางเมืองที่มีสีสันอย่างเอกมัย -ทองหล่อ

ทางสัมมากรจึงมองว่าโครงการนี้เหมาะกับคนที่มีไลฟ์สไตล์ชอบทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตในเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการความสงบและเป็นส่วนตัวในชีวิตประจำวัน จึงนำมาสู่คอนเซ็ปต์การออกแบบ ‘Defining Me’    บ้านที่บ่งบอกตัวตนของผู้อยู่อาศัย สะท้อนความคิด ความชอบหรือเรื่องราวของแต่ละคนผ่านฟังก์ชันและดีไซน์ ออกมาบนสเปซที่ทางโครงการตั้งใจออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่น สามารถรองรับได้ทุกกิจกรรมและความต้องการ

TOSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra

โดยในพื้นที่บ้านมีทั้งหมด 3 ชั้น ถูกแบ่งออกเป็น 2 ปีก ในชั้นแรกจะเป็นส่วนพื้นที่นั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหาร ครัว สวนและสระว่ายน้ำ ชั้นสองเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่เน้นความเป็นส่วนตัวของเจ้าของบ้าน สามารถจัดเป็นพื้นที่ทำงาน พื้นที่นั่งเล่นแบบส่วนตัว หรือเติมเต็มด้วยกิจกรรมงานอดิเรกก็ได้ และในชั้นบนสุดจะเป็น Master Suite ที่เชื่อมสเปซเข้าหากันหมดทั้งชั้น สามารถออกแบบขนาดและฟังก์ชันในห้องนอนได้อย่างเต็มที่

1. สร้างความเป็นส่วนตัวให้ใส่ความเป็นตัวเองได้อย่างเต็มที่

การออกแบบบ้านให้ผู้อยู่อาศัยสามารถแสดงความเป็นตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ แน่นอนว่าเรื่องแรกที่ต้องคำนึง คือ เรื่องความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นแง่ของการเชื่อมพื้นที่ถึงกัน การรับรู้ด้านการมองเห็น หรือการป้องกันเสียงรบกวน ดังนั้นแปลนบ้านของ Providence Lane Ekkamai-Ramintra จึงถูกออกแบบมาเพื่อเปิดสเปซเข้าหา Courtyard ในกลางบ้านแทนการเปิดออกไปนอกบ้าน โดยเชื่อมการมองเห็นของแต่ละฟังก์ชันทั้ง 3 ชั้นด้วยประตู-หน้าต่าง ทำให้คนในบ้านยังสามารถรู้สึกเชื่อมต่อกันได้แม้จะอยู่คนละส่วนของบ้าน ในขณะเดียวกันด้วยคุณสมบัติของกรอบประตู-หน้าต่าง TOSTEM ที่สามารถกันเสียงรบกวนจากด้านนอกได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้มีความเงียบสงบมากยิ่งขึ้น ทำให้บ้านกลายเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่มีความปลอดภัย ไร้กังวลของผู้อยู่อาศัย

2. ตอบโจทย์กับดีไซน์ DOUBLE VOLUME SPACE

อีกหนึ่งจุดเด่นดีไซน์ที่ Providence Lane Ekkamai-Ramintra ตั้งใจนำเสนอคือ Translucent Design ที่เน้นการเปิดช่องแสงเพื่อสร้างความโปร่งโล่งสบายให้กับตัวบ้าน ดังนั้นจึงมีการเลือกใช้ประตูหน้าต่างที่ค่อนข้างใหญ่เพื่อให้แสงและลมสามารถเข้ามาได้สะดวก โดยเฉพาะพื้นที่ Double Volume Space ที่มีช่องเปิดสูง 2 ชั้น เชื่อมต่อพื้นที่รับประทานอาหาร สระว่ายน้ำ สวนกลางบ้านเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสินค้าของ TOSTEM ก็สามารถตอบโจทย์กับดีไซน์นี้ได้เป็นอย่างดี เพราะเราสามารถสั่งผลิตขนาดประตู-หน้าต่างได้ตามดีไซน์ที่ต้องการ ซึ่งเป็นข้อดีที่ช่วยเปิดโอกาสให้เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบหรือแม้กระทั่งผู้อยู่อาศัยเองสามารถสร้างบ้านออกมาได้ตามแบบโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องวัสดุ ซึ่งหน้าต่างบานกระทุ้งและบานเลื่อนที่ใช้ในโครงการนี้จะเป็นรุ่น  P7, WE PLUS  และ  WE70  และประตูทางเข้าบ้านรุ่น  GIETSA  สี  Turin Pine ที่มีความเรียบง่ายและสวยงาม เข้ากับบ้านสไตล์โมเดิร์นได้เป็นอย่างดี

 

3. ขับเน้นความงามอย่างเรียบง่ายตรงไปตรงมาของ BAUHAUS

หากกล่าวถึงดีไซน์ของบ้านที่นี่ นอกจากสไตล์ ‘โมเดิร์น’ แล้ว ทางโครงการยังใส่ความงามแบบ ‘BAUHAUS’ เข้ามา ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้ Bauhaus มาจากคอนเซ็ปต์ Defining Me ที่ต้องการให้ความเป็นตัวเองของผู้อยู่อาศัยเด่นออกมามากกว่าตัวบ้าน ดังนั้นจึงกลายเป็นสไตล์โมเดิร์นที่มีความเรียบง่าย ดูอบอุ่น ไม่ฉูดฉาด สอดคล้องกับปรัชญาการออกแบบของ Bauhaus ที่ลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป คงเหลือไว้เพียงความงามที่เกิดการผสานดีไซน์และฟังก์ชันเข้าด้วยกันอย่างเรียบง่ายและปราณีต

‘อะลูมิเนียม’ ถือเป็นหนึ่งในวัสดุตัวแทนของดีไซน์ Bauhaus ที่เรามักเห็นมาคู่กันเสมอ ในโครงการนี้เองก็มีการเลือกใช้ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสี Shine Gray เพื่อสะท้อนนิยามความเป็น Luxury ในฉบับของโครงการเอง และด้วยนวัตกรรมการชุบสีพื้นผิวด้วยไฟฟ้าหรือเรียกว่า อะโนไดซ์ (Anodizing) พร้อมชั้นเคลือบ TEXGUARD ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ TOSTEM ให้สีอะลูมิเนียมที่มีความสวยงาม มีความทนทานต่อทุกสภาวะอากาศ และทำความสะอาดง่ายอีกด้วย

 

4. สุนทรียะที่มาพร้อมกับความปลอดภัยในบ้าน

หลายคนเชื่อว่า ‘บ้านคือเซฟโซนของเรา’ และคำนี้ก็ดูจะใกล้เคียงกับบ้านใน Providence Lane Ekkamai-Ramintra นอกจากโครงการจะเน้นสอดแทรกความสุนทรียะให้อยู่ในทุกกิจกรรมแล้ว ในขณะเดียวกันก็ใส่ใจการออกแบบบ้านให้ผู้อยู่อาศัยสามารถอยู่บ้านได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นการเลือกวัสดุที่ดีมีคุณภาพก็ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยมั่นใจได้ว่าปัญหาต่าง ๆ ในบ้านจะไม่เกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลรักษามาก อย่างหน้าต่างของ TOSTEM นอกจากคุณสมบัติกันเสียงแล้ว ยังช่วยกันอากาศรั่วไหลและการรั่วซึมของน้ำ ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศในเมืองไทยเราที่อยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้มั่นใจได้ว่าไม่ว่ามีพายุฝนหรือแดดร้อนจัดก็ยังสามารถใช้ช่วงเวลาพักผ่อนในบ้านได้สบาย ๆ นอกจากนี้ประตู-หน้าต่างของ TOSTEM ที่ใช้ในโครงการยังมีระบบล็อกอย่างแน่นหนาปลอดภัย

 

TOSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra

5. มาตรฐานที่ควบคู่กันไประหว่างงานออกแบบและวัสดุ

ทุกองค์ประกอบการออกแบบ ทุกวัสดุที่ใช้ก่อร่างสร้างบ้านขึ้นมาล้วนสามารถบ่งบอกถึงระดับมาตรฐาน ความใส่ใจ รวมถึงคุณภาพการอยู่อาศัยที่เราจะได้รับจากโครงการนั้น ๆ ได้ ดังนั้น Providence Lane Ekkamai-Ramintra ต้องใส่ใจทุกรายละเอียดการออกแบบตั้งแต่โครงสร้างไปจนถึงการเลือกสรรวัสดุที่นำมาใช้ อย่าง TOSTEM ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมที่มีคุณภาพสูงที่ถูกพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้งานท่ามกลางสภาพอากาศอันรุนแรงของประเทศญี่ปุ่น ทั้งหนาวจัด ร้อนจัด รวมถึงต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ โดยมีการการันตีผ่านการทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานทั้ง JIS ของประเทศญี่ปุ่น และ ASTM ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อมอบความมั่นใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยและสะท้อนความเป็น Modern Luxury ของโครงการ

TOSTEM x Providence Lane Ekkamai-Ramintra

คุณณพน เจนธรรมนุกูล จากบริษัทสัมมากร Sammakorn (ซ้าย) และคุณวิชา วรสายัณห์ จากบริษัท LIXIL (Thailand) แบรนด์ TOSTEM (ขวา)

เมื่อการออกแบบสถาปัตยกรรมและวัสดุที่ดีมาผสานรวมกัน จึงทำให้บ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่เป็นพื้นที่ส่วนตัวที่สะท้อนตัวตนของเรา และพาเราหลีกหนีจากความวุ่นวายข้างนอก แล้วหันมาใช้ช่วงเวลากับตัวเองหรือครอบครัวได้อย่างเต็มที่

หากใครที่สนใจสินค้าผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมคุณภาพสูงของ  TOSTEM  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อี-แคตตาล็อก หรือสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ TOSTEM Thailand และหากสนใจเยี่ยมชมโครงการ  Providence Lane Ekkamai-Ramintra  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   http://bit.ly/3XFKoni

Facebook
Twitter
LinkedIn
Email

art4d X TOSTEM : TOSTEM Classroom ส่งต่อรอยยิ้มผ่านการดีไซน์ห้องเรียนเพื่ออนาคตของชาติ

วันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา โครงการ TOSTEM Classroom ก็แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์โดยมีพิธีการเปิดอาคารเรียนโดยได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญจากหลายภาค ส่วนมาร่วมกล่าวเปิดงาน รวมถึงคุณวิชา วรสายัณห์ ผู้จัดการทั่วไปบริษัท ลิกซิล ประเทศไทยและคุณฮิโรกาชุ โมโรคุมะ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและปฏิบัติการที่ร่วม เขียนคำอวยพรบนกระจกอาคารเรียนหลังใหม่ และร่วมกันปลูกต้นไม้และเพ้นท์กระถางต้นไม้ร่วมกับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนวัดเศวตศิลารามเพื่อสร้างบรรยากาศสดใสให้กับ อาคารเรียน

TOSTEM Classroom เป็นโครงการที่ทุกฝ่ายทุ่มเทและใส่ใจกันอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การประกวดแบบ การพัฒนาแบบ การหาโรงเรียนที่เหมาะสม การก่อสร้าง หน้างานไปจนถึงการเลือกใช้วัสดุ ทุกรายละเอียดล้วนถูกผลักดันจากความตั้งใจอันดีที่จะมอบสิ่งที่ดีคืนสู่สังคม โดยเฉพาะกับการได้ออกแบบอาคารเรียนเพื่อเยาวชนให้ได้ มีบรรยากาศที่ดีที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างสมวัยและเหมาะสม โดย TOSTEM Thailand มุ่งหวังในระยะยาวให้เยาวชนของชาติที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ มีศักยภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่

ประตูบ้านคือทางเข้าหลักจากนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้าน จึงเป็นส่วนประกอบภายในบ้านที่จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญอยู่เสมอ ตั้งแต่การเลือกประตูที่แข็งแรงทนทานต่อการปิดเปิดใช้งานทุกวัน ความปลอดภัยเพื่อป้องกันการบุกรุกจากนอกบ้าน ไปจนถึงเรื่องความสวยงามตลอดอายุการใช้งาน แล้วเมื่อไหร่ที่เราควรจะเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว? คำถามที่ใครหลายคนอาจคาดไม่ถึง เพราะมักจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเกิดปัญหาเรียบร้อยแล้ว เราจึงชวนคุณมาเช็คสุขภาพประตูบ้าน เพื่อจะได้เปลี่ยนเป็นบานใหม่ก่อนปัญหาจะมาถึง หากพบปัญหาใดปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นกับประตูบ้านของคุณแล้วละก็ เตรียมพิจารณาเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้เลย

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

แสงลอดจากกรอบบานประตูไม้

สังเกตรอยต่อระหว่างขอบบานกับวงกบ หากกลางคืนหรือปิดแล้วมีแสงลอดผ่านได้ โดยเฉพาะหากบานประตูบ้านเป็นบานไม้ แสดงว่าประตูไม้เกิดการหดตัว อาจจะเนื่องจากการใช้งานมาอย่างยาวนาน หรือการเตรียมไม้ก่อนทำบานประตูที่ไม่ดีพอ อาจทำการแก้ไขชั่วคราวด้วยการติดเทปโฟมซีลกับขอบประตูโดยรอบ แต่หากใช้งานนานไปแล้ว ไม้เกิดการหดตัวเพิ่มขึ้นอีก อาจพิจารณาเปลี่ยนบานประตูใหม่

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

ประตูไม้ปิดไม่สนิท

ข้อจำกัดของประตูไม้จริงคือการหดหรือขยายตัวตามแต่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หากประตูปิดไม่สนิทหรือไม่แน่น พยายามดึงอย่างไรก็ไม่สนิทพอดีกับวงกบ นั่นอาจเป็นเพราะบานประตูที่บวมขยายตัวขึ้นจากความชื้น หรืออีกประการหนึ่งที่เห็นชัดคือ บานประตูโก่งหรือบิดร้าวจนประกบกับวงกบไม่สนิท ส่วนนี้เป็นจุดเร่งด่วนที่ควรเปลี่ยนบานประตูให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยทั้งกับการใช้งาน และความปลอดภัยภายในบ้าน

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

บานประตูตกจนลากกับพื้น

เป็นอาการที่เห็นได้บ่อยโดยเฉพาะกับบานประตูบ้าน เพราะประตูบ้านบานหลักมักเป็นบานใหญ่ น้ำหนักเยอะ สังเกตจากเวลาปิดประตูจะมีเสียงลากไปกับพื้น จนอาจทำให้เกิดความเสียหายกับพื้นได้ หรือหากจะต้องล็อกปิดประตูจะต้องยกประตูขึ้นจึงจะล็อกได้สนิท สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากบานพับที่ไม่ได้มาตรฐานหรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถรองรับน้ำหนักของบานประตูและแรงกระแทกจากการเปิดปิดได้ แนะนำให้เปลี่ยนหน้าบานและชุดอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

บานเลื่อนฝืด

สำหรับบางบ้านที่ใช้บานประตูแบบเลื่อนเปิดปิด หากเกิดอาการบานเลื่อนฝืด ขั้นแรกอาจใช้การหยอดน้ำมันหล่อลื่นก่อน แต่หากเป็นไปนานเข้า หรือสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าบานประตูตก อาจเกิดจากล้อเลื่อนไม่ได้มาตรฐาน หรือเสื่อมสภาพไม่สามารถรองรับน้ำหนักของหน้าบานได้อีกต่อไป แนะนำให้รีบเปลี่ยนบานประตูให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัย

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

สังเกตบานพับ เสียงดังออดแอด

หลายครั้งที่บานประตูบ้านอาจยังไม่แสดงอาการ การหมั่นสังเกตบานพับก็ช่วยให้เห็นความเสียหายได้ตั้งแต่เนิ่นๆ บานพับที่บางเกินไป ใช้ไปนานเข้าน้ำหนักของประตูจะกดทับลงจนเกิดเสียงดังออดแอด โดยเฉพาะบานพับด้านบนที่เสริมไม่เพียงพอสำหรับรับน้ำหนักของประตูเอาไว้ หรือบานพับที่ขึ้นสนิมก็ยิ่งส่งผลให้การใช้งานลดถอยลงอีก หากยังไม่อยากเปลี่ยนบานประตูทั้งบาน อาจแก้ไขเบื้องต้นด้วยการเปลี่ยนเป็นบานพับอะลูมิเนียม และเติมอุปกรณ์ประกอบ อย่างโช๊คอัพประตู เพื่อเสริมความแข็งแรงให้มากขึ้น หรือหากอายุการใช้งานประตูถึงควรแก่เวลาต้องเปลี่ยน ก็ถือโอกาสเปลี่ยนทั้งบานประตู​เสียเลย

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

ต้องเปลี่ยนหน้าต่างส่วนอื่นของบ้าน

หากประตูบ้านใช้งานมาในระยะหนึ่ง หรือจำเป็นจะต้องเปลี่ยนหน้าต่างส่วนอื่นของบ้านใหม่ เนื่องจากเริ่มผุพังหรือเสื่อมสภาพ โดยเฉพาะหากต้องเปลี่ยนทั้งหน้าบานและวงกบ ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลาและขั้นตอนในการทำงาน รวมทั้งต้องทำความสะอาดภายในบ้านหลังจากการติดตั้งใหม่ให้เรียบร้อย ก็ถือโอกาสนี้เปลี่ยนบานประตูบ้านใหม่เสียเลย จะได้ไม่ต้องเสียเวลาทำทีละอย่างตามปัญหาที่เกิด รวมทั้งเป็นการเมคโอเวอร์บ้านให้บานประตูและหน้าต่างเป็นดีไซน์เดียวกันไปในตัว

7 สัญญาณ ที่บอกว่าควรเปลี่ยนประตูบ้านบานใหม่ได้แล้ว

เก่าโทรม อายุการใช้งานยาวนาน

บางครั้งบานประตูบ้านอาจจะไม่ได้เกิดปัญหาใดๆ แต่ด้วยอายุการใช้งานที่ผ่านมายาวนานแล้ว เกิดอยากจะเปลี่ยนบานใหม่ขึ้นมา แนะนำให้เริ่มต้นสังเกตข้อจำกัดของวัสดุประตูบ้านเดิม ยกตัวอย่างบานประตูไม้ที่มีการหดขยายตัวตามสภาพอากาศ หรืออุปกรณ์ประกอบจากเหล็กที่มักขึ้นสนิมเมื่อโดนแดดฝนนานเข้า เน้นเลือกวัสดุที่ข้ามข้อจำกัดจากสภาพภูมิอากาศได้เพราะประตูบ้านจะต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงของอากาศตลอดทั้งวัน อย่างกรอบบานประตูอะลูมิเนียมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานว่าทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ปลอดปลวก ทนไฟ ป้องกันเสียง ป้องกันน้ำและอากาศที่รั่วซึม โดยเลือกที่ได้มาตรฐานรับรองตั้งแต่ตัวหน้าบาน มาตรฐานการติดตั้ง ไปจนถึงบริการหลังการขาย เพื่อให้การเปลี่ยนประตูบ้านครั้งใหม่คุ้มค่า และทนทานอย่างดีตลอดอายุการใช้งาน


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

คลายข้อสงสัย สัญลักษณ์ประตูหน้าต่างแต่ละแบบ

สัญลักษณ์ของงานเขียนแบบสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านหลายคนพอจะเข้าใจในระดับเบื้องต้น อย่างตัวหน้าบานประตูหรือหน้าต่าง เห็นจากภาพจากผังพื้นก็พอจะนึกออกว่า สัญลักษณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจากมุมมองการมองในแบบ Bird’s Eye View หรือมุมมองจากด้านบนลงด้านล่างในแนวระนาบ หรือถ้ามองจากรูปข้างหรือรูปตัด ก็พอจะรู้อยู่ว่าเป็นบานประตู แล้วในส่วนที่มองไม่เห็นในรูปแบบเช่นนี้ อย่างฟังก์ชันที่เกิดขึ้นในแนวระนาบอย่างบานเลื่อนหรือบานกระทุ้งบนผังพื้น จะมีวิธีเขียนแบบอย่างไร หรือเส้นรอยประบนรูปประตูในรูปตัดมีไว้ทำไม จะมีวิธีเขียนแบบอย่างไร เราพาคุณมารู้จักกับสัญลักษณ์ของประตูหน้าต่างเพิ่มเติมให้แอดวานซ์ขึ้นไปอีก

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเปิด 

รูปสัญลักษณ์ประตูอย่างที่เราชินกัน คือรูปประตูบานเปิด ที่หากมองจากผังพื้นก็พอจะเดาออกว่ามาจากรูปแบบบานที่ถูกเปิดออก ซึ่งสัญลักษณ์การเปิดเข้าตัวบ้านหรือออกจากตัวบ้านก็เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สถาปนิกให้ความสำคัญ ส่วนแบบรูปด้าน รอยประบนบานประตูมีไว้บอกจุดหมูนของการเปิดประตู โดยมุมที่บรรจบกันเป็นด้านที่ติดวงกบ และรูปแบบของบานประตูก็ถูกวาดลงไปบนหน้าบานสำหรับสเป็ควัสดุด้วยเช่นกัน  

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเลื่อน 

สำหรับบานเลื่อนในรูปผังพื้น ใช้ตำแหน่งของลูกศรในการบอกทิศทางการเลื่อนของหน้าบาน เช่น บานเลื่อนที่เลื่อนได้ข้างเดียวแล้วอีกข้างเป็นบานติดตาย หรือบานเลื่อนออก เป็นต้น ซึ่งลูกศรบอกทิศทางการเลื่อนนี้มีการใช้ในรูปด้านเพื่อบอกทิศของการเลื่อนเช่นกัน หากหน้าบานรูปไหนที่ไม่มีลูกศร แสดงว่าเป็นบานฟิกซ์ติดตาย  

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเฟี้ยม 

ปัจจุบันประตูบานเฟี้ยมเป็นที่นิยมกันมากสำหรับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด เพราะใช้คุณสมบัติที่เปิดปิดได้เต็มหน้าบานในการจัดสรรพื้นที่ได้ตามความต้องการใช้งาน สัญลักษณ์ของบานเฟี้ยมจึงใช้รูปแบบซิกแซ็กตามการเปิดออกและปิดเข้าหากันของบานประตู โดยมีลูกศรบ่งบอกทิศทางของการสไลด์เลื่อน และบานที่มีคาดกลางบานด้วยเส้นทะแยงคือบานที่จุดเริ่มต้นของการเปิดออก ซึ่งมุมของเส้นคือด้านที่ติดตั้งบานพับสำหรับเชื่อมต่อกับบานถัดๆ มา

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

หน้าต่างบานเปิด

เมื่อมองจากมุมบนในผังพื้น หน้าต่างแบบเปิดมีหน้าตาที่บ่งบอกการเปิดออกเช่นเดียวกันกับประตู หากแต่หน้าต่างจะมีข้อแตกต่างตรงส่วนขอบของรูปวาดหน้าบานที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของผนัง สังเกตจากมีเส้นกลางพาดอยู่ระหว่างส่วนผนัง ต่างจากรูปประตูที่ระหว่างผนังสองด้านจะเป็นช่องว่างผ่านได้ทั้งหมด เปรียบเทียบเหมือนกับบนพื้นที่เราสามารถเดินผ่านประตูได้เพราะไม่มีวงกบล่างกีดขวาง แต่กับหน้าต่างมีกรอบวงกบล่างหรือผนังที่เราไม่สามารถเดินข้ามได้  

หน้าต่างบานกระทุ้ง 

ความพิเศษอีกอย่างของหน้าต่างคือการเขียนแบบหน้าต่างบานกระทุ้งที่สามารถเขียนได้ชัดเจนเห็นภาพในผังพื้น โดยจะใช้การลากเส้นประให้มุมของเส้นบรรจบกันในด้านที่ต้องติดวงกบเช่นเดียวกับหน้าบานทุกแบบ ซึ่งสำหรับบานกระทุ้งก็คือด้านที่ติดกับส่วนผนังนั่นเอง และในภาพรูปด้าน ก็คือการเปิดขึ้นด้านบนตามรูปแบบการเปิดของบานกระทุ้ง

หน้าต่างแบบอื่นๆ 

สำหรับหน้าต่างแบบอื่นๆ อย่างหน้าต่างบานฟิกซ์ ในรูปผังพื้นก็จะเขียนให้เห็นกรอบวงกบด้านข้าง โปรไฟล์ตรงกลาง และตัวบาน แล้วค่อยลงรายละเอียด เช่นวัสดุหน้าบานว่าเป็นไม้หรือกระจกได้จากส่วนขยายแบบ หรือบานเกล็ด ในรูปจากผังพื้นก็จะมองเห็นเหมือนบานเกล็ดกระจกตอนที่กำลังเปิดอยู่ ที่จะยื่นออกมาจากผนังเล็กน้อย และสามารถเห็นระบุได้ชัดเจนว่าเป็นหน้าต่างบานเกล็ดได้จากรูปด้านสำหรับดูประกอบกัน  


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

แม้จะปิดบานประตูหน้าต่างอย่างดีแล้ว แต่อนุภาคเล็กๆ ที่มองไม่เห็นอย่าง PM2.5 ที่หนาแน่นจากนอกบ้านยังสามารถหลุดลอดเข้ามาภายในบ้านได้ผ่านช่องว่างที่เราอาจคาดไม่ถึง จากโจทย์เหล่านี้จึงนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็ม (TOSTEM) ที่จะต้องป้องกันมลภาวะจากนอกบ้าน ให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้อย่างอุ่นใจ สองส่วนประกอบที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันสมาชิกในบ้านจากฝุ่นตัวร้ายนั่นก็คือ กรอบบานประตูหน้าต่างที่ปิดสนิทอย่างมิดชิดแน่นหนา รวมทั้งประสิทธิภาพของวัสดุและการประกอบขึ้นเป็นกรอบบาน ทั้งสองส่วนที่จะช่วยผนึกกำลัง ป้องกันมลพิษตัวร้ายที่จะมาทำลายสุขภาพของสมาชิกครอบครัว

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ความจริงของ PM2.5  ( Fact about PM2.5 ) 

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า อนุภาคฝุ่นของ PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าฝุ่นปกติทั่วไปอย่างที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ความน่ากลัวจนทำให้เราชะล่าใจอยู่ที่ขนาดเล็กมากจนสามารถผ่านเข้าสู่ถุงลมปอด ซึมเข้าหลอดเลือด และใช้เวลาสะสมในร่างกายถึง 10-20 ปีจึงค่อยแสดงอาการ หลายคนจึงคิดว่า แค่ปิดหน้าต่าง ฝุ่นเหล่านี้ก็ไม่เข้ามาแล้ว แต่แท้จริงแล้ว ที่มาของฝุ่นครึ่งหนึ่งมาจากนอกบ้านก็จริง แต่อีกครึ่งหนึ่งก็มาจากของใช้ภายในบ้าน ทั้งเกาะกับเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ไรฝุ่นที่นอน เพราะฉะนั้นฝุ่นจึงอยู่ทุกที่ การปิดหน้าต่างจึงช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตห่างไกลฝุ่น  ( Get Rid of Dust ) 

ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ที่ต้องปัดกวาดทุกวัน หรือฝุ่นขนาดเล็กที่มองไม่เห็น ก็เป็นกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นต้องทำเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะช่วง PM2.5 เช่นนี้ ทางเลือกแรกสุดของทุกคนคือการใช้เครื่องฟอกอากาศ ร่วมกับการรักษาความสะอาดภายในบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับวัสดุกักฝุ่นจำพวกผ้าม่าน พรม เครื่องนอน และปลูกต้นไม้ช่วยฟอกอากาศ เป็นการเติมอากาศดีในบ้านแบบง่ายๆ  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

หน้าต่างกับ PM2.5  ( Windows & PM2.5 ) 

ทางเลือกที่ดีของการใช้ชีวิตในยุค PM2.5 ครองเมืองเช่นนี้ คือการใช้ชีวิตประจำวันในห้องที่มีหน้าต่างน้อยๆ พร้อมกับการตรวจเช็คกรอบบานประตูหน้าต่างทุกบานว่าปิดสนิททั้งหมด อาจเสริมด้วยสักหลาดกับขอบหน้าต่างเพื่อปิดร่อง หรือหากพบรอยรั่วระหว่างผนังหรือรอยต่อควรยาแนวปิดทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้บ้านกันฝุ่นได้อย่างยั่งยืน จึงควรเลือกกรอบบานประตูหน้าต่างที่มีปิดสนิทหนาแน่น และมีคุณภาพมาตรฐานป้องกันอากาศรั่วไหล หากอากาศนอกบ้านกลับมาดีเช่นเคยแล้ว ควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายในบ้าน เพื่อป้องกันการอับชื้น และเพิ่มการไหลเวียนอากาศที่ดีขึ้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

เสริมยางขอบประตู  ( Smart Rubber Designs ) 

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์รุ่นบานเฟี้ยมที่มีหน้าบานหน้าต่างแบบพับหลายบานของรุ่น WE70 ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทำให้มีการออกแบบการเสริมยางป้องกันอุบัติเหตุจากการถูกประตูหนีบ และข้อดีของกรอบบานที่เสริมขอบยางอีกประการคือ ทำให้หน้าต่างปิดสนิทแนบแน่นครบทุกบาน เช่นเดียวกับประตูบ้านรุ่น GIESTA ที่กรอบวงกบเป็นอะลูมิเนียมโปรไฟล์ยาง ที่ทำให้การปิดประตูเป็นไปอย่างนุ่มนวลและแน่นหนา พร้อมกับป้องกันอุบัติเหตุไปในตัว  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ระบบล็อกแน่นหนา  ( High Security Lock ) 

ความสำคัญของระบบล็อก นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยจากผู้บุกรุกแล้ว ยังเป็นเรื่องของความแน่นหนาของการปิดหน้าบาน เพื่อให้หน้าบานและกรอบบานปิดกันได้อย่างสนิทแน่นหนา ระบบล็อกสำหรับกรอบบานมีทั้งระบบล็อกแบบก้านโยกป้องกันการล็อกไม่สนิทในกรอบบานรุ่น WE Plus, WE70 ระบบ Sub-Lock ในกรอบบานรุ่น P7 เพิ่มความแน่นหนาในการปิดหน้าบาน  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

การป้องกันอากาศรั่วไหล  ( Air Tightness Performance ) 

รอยรั่วของกรอบบานประตูหน้าต่างส่วนใหญ่มาจากช่องว่างเล็กๆ ระหว่างวงกบกับหน้าบานประตูหน้าต่าง ผลิตภัณฑ์ของทอสเท็ม (TOSTEM) ทุกชิ้นทุกรุ่นให้ความสำคัญกับค่ามาตรฐานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการป้องกันอากาศรั่วไหล เพราะการที่กรอบบานปิดสนิท นอกจากจะช่วยป้องกันมลภาวะจากนอกบ้านแล้ว ยังช่วยเรื่องการควบคุมคุณภาพอากาศภายในห้องให้อยู่ในระดับที่ต้องการ จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กรอบบานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตของการอยู่อาศัยให้เกิดผลสูงสุด  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน  ( Air Quality ) 

การควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน นอกเหนือจากมลภาวะนอกบ้านอย่าง ฝุ่น ควัน โดยเฉพาะอนุภาค PM2.5 ที่เล็กกว่าตาเปล่ามองเห็น การที่บานประตูหน้าต่างปิดสนิทยังส่งผลต่อการป้องกันเสียง กลิ่น และความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป้องกันการรั่วไหลของความเย็นจากเครื่องปรับอากาศขณะเปิดใช้งานอยู่ ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนักเกินไป จึงช่วยประหยัดค่าไฟและประหยัดพลังงาน ช่วยโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย