fbpx

Author Archives: GRANTScreativeWe40

เหตุผลที่ควรเลือกใช้กรอบบานอะลูมิเนียมทอสเท็ม

เหตุผลที่ควรเลือกใช้กรอบบานอะลูมิเนียมทอสเท็ม

เหตุผลสำคัญของการซื้อบ้านเป็นเรื่องความคุ้มค่าสูงสุด เพราะบ้านคือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ผู้คนใฝ่ฝันถึง และพร้อมลงทุนเพื่อการใช้งานได้อย่างยาวนาน ดังนั้น เมื่อได้เริ่มต้นสร้างสรรค์บ้านหลังที่ถูกใจแล้ว ควรพิจารณาทั้งเรื่องความงามและฟังก์ชั่นที่ถูกใจผู้อยู่ รวมไปถึงการเลือกวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรงทนทานตลอดอายุการใช้งาน รวมทั้งกรอบบานประตูหน้าต่างที่เป็นทั้งหน้าตาของบ้าน พร้อมกับเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างสิ่งแวดล้อมนอกบ้านและการใช้งานภายในบ้านเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย เหตุผลทั้งหมดนี้เป็นเรื่องทอสเท็มใส่ใจ ในครั้งนี้ เราจึงมาพร้อมกับเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงควรเลือกใช้กรอบบานอะลูมิเนียมของทอสเท็ม

ออกแบบลงรายละเอียด

หัวใจหลักของทอสเท็ม คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบบานอะลูมิเนียมซึ่งเป็นงานที่ทอสเท็มชำนาญ ด้วยการใช้งานออกแบบและวิศวกรรมเข้าร่วมตั้งแต่ในรายละเอียดเล็กๆ นั่นก็เพราะจุดเล็กๆ เหล่านี้เองที่ช่วยให้การใช้งานกรอบบานประตูหน้าต่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งเรื่องความสะดวกสบาย สมรรถนะการใช้งาน และความสวยงามของอาคาร  

ระบบพรีเอ็นจิเนียร์ของทอสเท็ม

ผลิตภัณฑ์ของทอสเท็มทุกชิ้นจำเป็นต้องมีมาตรฐานสม่ำเสมอกันทุกชุด ทอสเท็มจึงใช้งานออกแบบ ผลิต และประกอบเสร็จในโรงงานของทอสเท็มเอง ภายใต้การควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตแม่พิมพ์และบิลเล็ตอะลูมิเนียม การรีดขึ้นรูปอะลูมิเนียมเส้น การชุบสี การตัดอะลูมิเนียม ไปจนถึงการประกอบเป็นกรอบบานพร้อมการติดตั้งหน้างาน จนสำเร็จพร้อมให้ลูกค้าใช้งาน  

ปรับใช้งานได้หลากหลาย

ด้วยคุณภาพของทีมช่างและทีมฝ่ายขายผู้เชี่ยวชาญด้านกรอบบานประตูหน้าต่างโดยเฉพาะ ลูกค้าจึงสามารถเลือกรุ่นที่เหมาะกับพื้นที่ติดตั้ง ขนาดหรือรูปแบบของกรอบบานที่เหมาะสมกับช่องเปิดที่เจ้าของได้เลือกเอาไว้ รวมทั้งยังสามารถเลือกวิธีเปิดปิด ดีไซน์หน้าบาน ไปจนถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เช่น มือจับ L-Fit ที่ออกแบบให้ใช้งานได้ตามความสะดวก ระบบล็อก โปรไฟล์กรอบ ซอฟต์โคลส รางพื้น เป็นต้น ซึ่งสามารถรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากทีมงานของทอสเท็มได้อย่างสบายใจ  

ดีไซน์เหนือกาลเวลา

นอกจากความแข็งแรงทนทานของกรอบบานแล้ว ความงามก็เป็นเรื่องที่ทอสเท็มเชี่ยวชาญ ด้วยเทคโนโลยีการชุบสีแบบอะโนไดซ์ ทำให้ได้เนื้อสีที่สวยงามและทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก พร้อมทั้งยังสามารถเลือกเฉดสีได้หลากหลาย ตั้งแต่สีสว่างที่สุด อย่าง Natural White, Natural Silver, Ivory White ไปจนถึงโทนสีเข้มที่สุดอย่าง Shine Grey, Autumn Brown และ Natural Black เพื่อเสริมให้งานดีไซน์ของคุณตอบรับกับความต้องการให้ได้มากที่สุด  

โซลูชั่นที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์

แนวความคิดหลักของทอสเท็มที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาดในทั้งในประเทศญี่ปุ่นเองและทั่วทุกมุมโลก คือบริการโซลูชั่นครบวงจรในเรื่องกรอบบานอะลูมิเนียม จากประสบการณ์มากกว่าครึ่งทศวรรษ สู่การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิต และทำการตลาดให้หลากหลาย เหมาะสมครบกับทุกความต้องการของลูกค้าทุกรูปแบบ ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างยั่งยืนยาวนาน

เทรนด์พื้นที่ทำงานหลังวิกฤตการณ์ COVID-19

เทรนด์พื้นที่ทำงานหลังวิกฤตการณ์ COVID-19

ช่วงชีวิตหลังวิกฤตการณ์ Covid-19 เปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานของเราไปโดยสิ้นเชิง เทคโนโลยีถูกดึงศักยภาพอย่างเต็มที่เพื่อใช้ให้งานเดินอย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังจากที่ทุกคนต้องสร้างระยะห่างให้กันและกัน ไม่ว่าจะจากการกักตัวทำงานอยู่กับบ้าน หรือการจำกัดระยะห่างของพื้นที่หรือ Social Distancing ถึงทางแก้อย่างการทำงานอยู่กับบ้านจะพอช่วยได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ด้วยรูปแบบการทำงานในองค์กรที่ยังคงต้องการระดมสมอง หรือการทำงานร่วมกันในพื้นที่สำหรับทำงานโดยเฉพาะ นั่นเป็นโจทย์ท้าทายของนักออกแบบที่จะสร้างพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่ซึ่งตอบเรื่องสุขภาวะเป็นสำคัญ ทั้งในแง่ความสะดวกสบายเหมาะสมกับการทำงาน การสร้างสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานให้เกิดความสุข โดยยังคงต้องรักษาระยะห่าง ป้องกันการสัมผัสระหว่างกันและกันให้ได้มากที่สุด (เครดิตภาพ Photo by Austin Distel on Unsplash)  

Hygienic Station

สิ่งที่ต้องเพิ่มขึ้นมาหลังจากการระบาดของโรค คือพื้นที่เล็กๆ สำหรับการตรวจคัดกรอง หรือให้บริการการฆ่าเชื้อโรค เราอาจจะได้เห็นทางเข้าออฟฟิศที่ติดตั้งอ่างล้างมือสำหรับล้างมือให้สะอาดก่อนเข้าสู่พื้นที่ทำงาน โดยทั้งหมดร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Touchless อย่างการใช้อ่างล้างมือระบบเซ็นเซอร์ หัวจ่ายน้ำยาฆ่าเชื้ออัตโนมัติ หรือสเตชั่นเครื่องฆ่าเชื้ออุปกรณ์ด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต เป็นต้น (เครดิตภาพ Photo by Sanibell BV on Unsplash)  

Keep-Distancing Workspace

รูปแบบการจัดวางผังพื้นสำหรับโต๊ะทำงานแบบโอเพ่นแปลนยังอยู่ได้ โดยการสร้างระยะห่างให้มากขึ้น จากเดิมที่เคยนั่งเรียงกันเป็นแถวตามความยาวของโต๊ะ จะเกิดการคั่นกลางระหว่างผู้ทำงานสองคนด้วยสเตชั่นที่ช่วยฟิกซ์กำหนดระยะห่างระหว่างแต่ละโต๊ะทำงานให้คงที่ โดยยังคงสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน

(เครดิตภาพ Photo by Yolk CoWorking – Krakow on Unsplash)  

Microbial-Resistant Materials

นอกจากรูปแบบการจัดสรรพื้นที่แล้ว อีกส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญคือการเลือกใช้วัสดุสำหรับใช้งานและตกแต่งในพื้นที่ทำงาน จะเน้นเลือกวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่ถูกกัดกร่อนโดยสารเคมีสำหรับการฆ่าเชื้อ โดยจะต้องมีพื้นผิวลื่นเรียบเสมอกัน ไม่อมฝุ่นและไม่มีร่องรอยต่อมากนัก หรือหากเป็นผืนผ้า จะต้องมีคุณสมบัติในตัวที่ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย อย่างผ้าบุที่ผสมสารนาโนปลอดแบคทีเรีย

(เครดิตภาพ Photo by Alex Bachor on Unsplash)  

Graphic Design for Wayfinding

บทบาทของกราฟิกดีไซน์ในสำนักงาน นอกเหนือจากการใช้เป็นป้ายบอกทางหรือบอกห้องแล้ว งานออกแบบกราฟิกในออฟฟิศจะสนุกขึ้นด้วยงานดีไซน์ที่ช่วยกำหนดระยะห่างของการใช้งานพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นความท้าทายของกราฟิกดีไซเนอร์และอินทีเรียร์ดีไซเนอร์ที่จะออกแบบวิธีการบอกตำแหน่งอย่างสร้างสรรค์​ จากเดิมที่ใช้เป็นการติดสติ๊กเกอร์กับพื้นที่เพื่อบอกระยะยืน อาจจะถูกแทนที่ด้วยการสร้างสรรค์ป้ายบอกในแนวอื่นๆ เช่นบนผนัง หรือรูปแบบของพื้นที่ที่จำกัดจำนวนการใช้งานของคนในระยะเวลาสั้นๆ

(เครดิตภาพ Photo by Mak on Unsplash)

สรุปแนวคิดสำคัญในงาน TOSTEM Creative Talk Re-imagine The Living Space

สรุปแนวคิดสำคัญในงาน TOSTEM Creative Talk Re-imagine The Living Space

บรรยากาศการเปิดโชว์รูม TOSTEM Flagship Showroom ที่ Crystal Design Center (CDC) อย่างเป็นทางการ กับเย็นวันศุกร์แห่งความสุข ที่นอกจากกลุ่มเพื่อนรักนักออกแบบจะได้มาพบปะสังสรรค์กันแล้ว ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้กันกับงาน Creative Talk ที่ทอสเท็มจัดขึ้นเพื่อชวนทุกคนมาแชร์ประสบการณ์ออกแบบร่วมกัน ภายใต้หัวข้อ ‘Re-imagine The Living Space’ พื้นที่อยู่อาศัยจากอดีต ปัจจุบัน สู่อนาคต ถูกพัฒนาและเดินหน้าต่อไปในรูปแบบใดได้บ้าง นำโดย คุณโอ๋ ชนะ สัมพลัง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 เฮาส์ดีไซน์ จำกัด (A49HD) และคุณปอย ไพทยา บัญชากิติคุณ ผู้ก่อตั้ง ATOM Design มาร่วมเล่าเรื่องราวผ่านงานดีไซน์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์พื้นที่อยู่อาศัยที่ดีสำหรับทุกคน

หรือจริงๆ Normal ที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มันไม่ครบ

แล้ววันนี้เราจะสรรหา New Normal จริงๆ

มันไม่ใช่ New เราแค่ทำในสิ่งที่เราควรจะทำในอดีตไม่พอ”

– คุณชนะ สัมพลัง

Vernacular ถูกดีไซน์จากสิ่งที่เกิดตอนนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรค เรื่องสุขลักษณะ เราเดินขึ้นบ้าน ในอดีตเราต้องล้างเท้าก่อนเข้าบ้านเสมอ เพราะไม่มีใครจะป้องกันเราได้นอกจากตัวเราเอง การทำความรู้จักอาคารบ้านในอดีตมันสอนเราว่า Living Space ที่ดีมันควรเป็นอย่างไร ในเวลาตอนนั้น แต่ว่าวันนี้เมื่อเราพัฒนาเรือนของเรา เราพัฒนาสิ่งแวดล้อมเราให้มันดียิ่งขึ้น เราก็ลืมป้องกันตัวเอง ผมว่าโควิดมันสอนอะไรบางอย่างได้ ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา เราใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือไม่ก็มีห้องอาบน้ำก่อนเข้าบ้าน มันกลายเป็นสิ่งที่ผมก็ย้อนภาพว่า หรือจริงๆ Normal ที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มันไม่ครบ แล้ววันนี้เราจะสรรหา New Normal จริงๆ มันไม่ใช่ New เราแค่ทำในสิ่งที่เราควรจะทำในอดีตไม่พอ  

เวลาพูดถึงเรื่องสถาปัตยกรรม เราจะค้นหาว่า ทางเข้าคืออะไร

ห้องนั่งเล่นเราจะเล่นดีไซน์อะไร เล่นกับแสงหรือสเปซ

แต่จริงๆ แล้ว หลายอย่างที่เราจำเป็นต้องศึกษาจริงๆ ก็คือ เขาอยู่กันอย่างไร

– คุณชนะ สัมพลัง

หลายครั้งที่ผมทำบ้าน ผมก็จะต้องมีไดอะแกรมที่เปลี่ยนไปตามชีวิตของคนที่อยู่ในบ้านนั้นๆ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนใช้ไดอะแกรมเดียวกัน ทุกสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมมักจะต้องถามลูกค้าเสมอว่า เขาเข้าห้องน้ำอย่างไร เขาเก็บจานที่พึ่งทานข้าวเสร็จไปไว้ที่ไหน คนขี้เกียจอยู่บ้านอย่างไร คนเนี้ยบมากๆ อยู่บ้านอย่างไร นั่นคือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาอย่างยิ่งในการทำบ้าน ทุกครั้งที่ผมสัมภาษณ์ลูกค้า ผมเรียกมันว่าการรีเสิร์ช เรากำลังขุดสิ่งที่อยู่ในใจเขาออกมา แล้วกำลังขุดสิ่งที่เขาคุ้นเคยหรือไม่คุ้นเคย และสิ่งที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาของคนที่อยู่ในสถาปัตยกรรมของเรา  

ผมมองภาพว่าการทำให้อาคารที่เป็นมรดกของชาติอยู่ร่วมกับประเทศนี้ได้

ต้องทำให้เขาอยู่อย่างยั่งยืน และร่วมสมัยได้

– คุณชนะ สัมพลัง

ผมมองภาพว่าการทำให้อาคารที่เป็นมรดกของชาติ หรือโบราณสถานต่างๆ อยู่ร่วมกับประเทศนี้ได้ ต้องทำให้เขาอยู่อย่างยั่งยืน ทำให้เขาอยู่ร่วมสมัยได้ เขายังมีชีวิตแบบน่าภูมิใจได้มากกว่าการที่เขาอยู่เงียบๆ สต๊าฟเขาไว้ให้ทุกคนคอยชื่นชม เวลาถามใครว่า บ้านเก่าอยากให้เอาไปทำเป็นอะไร ทุกคนตอบว่าอยากให้ทำมิวเซียม สุดท้ายพอเป็นมิวเซียม ก็ไม่มีใครไปเดิน มันไม่สามารถอยู่ได้ในโลกวันนี้ เพราะว่าเขามีค่าเมื่อร้อยปีที่แล้ว ค่าของวันนี้มันปรับตัวเองเปลี่ยนไป นี่คือสิ่งที่ผมสนใจ  

ทุกโครงการที่ทำ หวังว่าจะทำให้เมืองดีขึ้นเท่าที่จะทำได้

– คุณไพทยา บัญชากิติคุณ

ในพื้นที่ห้องคอนโด 21 ตารางเมตร สิ่งที่ต้องคิดตามมาคือว่า จะทำอย่างไรให้คนอยู่ในสเปซที่ดีได้มากขึ้น เงื่อนไขเบสิคในการใช้ชีวิตดูไม่ได้ต่างจากเดิม ในแง่ของโปรเจ็คต์ เขาต้องการหาจุดขายพิเศษขึ้นมา เราก็พยายามก็จะหาสิ่งดีๆ ตอบให้คนอยู่ได้ดีจริงๆ อย่างพื้นที่สีเขียว พอเดเวล็อปเปอร์ต่างๆ เริ่มทำ กลับกลายเป็นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานให้กับคนอยู่ว่า ไลฟ์สไตล์ของฉันจะต้องเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นสิ่งที่นักออกแบบทำอยู่เป็นการเซ็ตเทรนด์ของไลฟ์สไตล์ ว่าเราอยู่ในสเปซที่เล็กได้ และก็มีส่วนกลางที่ใหญ่เพื่อให้ใช้ชีวิตได้จริง  

พอหลังจากโควิดแล้ว มีคนถามเยอะมากว่า Living Room ต้องใหญ่ขึ้นไหม

และกลายเป็นว่า ครัวคือสิ่งเยียวยาจิตใจ

– คุณไพทยา บัญชากิติคุณ

ตอนนี้กระแส New Normal มีผลระดับหนึ่งในแง่ของการเซ็ตกลยุทธ์ในการทำโปรดักต์ของปีหน้าและปีถัดๆ ไป ถึงแม้ทุกอย่างจะเริ่มดีขึ้น ตอนนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ว่า ก่อนหน้าโควิด ห้องเล็กๆ มักจะตัดแพนทรี่ออก พอหลังจากโควิดแล้ว มีคนถามเยอะมากว่า Living Room ต้องใหญ่ขึ้นไหม และกลายเป็นว่า ครัวคือสิ่งเยียวยาจิตใจ หรืออย่างเมื่อก่อน พื้นที่ทำงานในคอนโดจะนั่งทำงานบนโต๊ะรับประทานอาหาร พอต้อง Work From Home จริงๆ พบว่า เราเก็บของทุกครั้งที่กินข้าวไม่ได้ ตอนนี้ห้องในคอนโดจำเป็นต้องมีพื้นที่ทำงาน เราจึงต้องตั้งคำถามว่า ห้องต้องใหญ่ขึ้นอีกไหม หรือจากสภาพเศรษฐกิจอย่างในปัจจุบัน เงินมูลค่าเท่าเดิมสามารถซื้อห้องในบางทำเลได้ใหญ่ขึ้นถึง 25%  

หลายที่ยังทำงานแบบ Work From Home

ตรงนี้ก็เหมือนเป็นการทดลองการทำงาน

และแปลว่า คนจะต้องอยู่ในพื้นที่อยู่อาศัยมากขึ้น

– คุณไพทยา บัญชากิติคุณ

คำว่า Decentralization (การกระจายออกจากเมือง) มันเริ่มเห็นจริงๆ เพราะบริษัทที่ผมทำงานด้วยหลายเจ้าก็ยัง Work From Home อยู่เลย ดังนั้นตรงนี้ก็เริ่มเหมือนเป็นการทดลองว่า การทำงานแบบนี้ยังได้ประสิทธิภาพการทำงานสูงเหมือนเดิมไหม ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี แปลว่าคอนโดมิเนียมอาจจะมีโอกาสทำให้คนต้องอยู่ที่พักมากขึ้น ถึงแม้จะหมดจากโควิดแล้ว คนก็ยังพร้อมที่จะอยู่บ้านทำงาน และพื้นที่อย่างส่วน Co-Working Space ก็มีความพยายามสร้างความเข้าใจที่ว่า หลังจาก Decentralize แล้ว ควรจะเป็นไปในทิศทางใด นั่นคือสิ่งที่ต้องหาคำตอบด้วยการสังเกต ซึ่งน่าจะมีความเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร

หน้าบานแข็งแรง ด้วยระบบล็อกดีไซน์พิเศษจากทอสเท็ม

หน้าบานแข็งแรง ด้วยระบบล็อกดีไซน์พิเศษจากทอสเท็ม

เพราะประตูหน้าต่างคือพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างภายในและภายนอกบ้าน นอกเหนือจากฟังก์ชั่นเรื่องความงาม มอบบรรยากาศดีให้กับบ้าน พร้อมกับการระบายอากาศเพื่อให้การอยู่อาศัยเกิดสุขลักษณะที่ดี หัวใจสำคัญของบานประตูหน้าต่างสำหรับทุกบ้านคือเรื่องความปลอดภัย ที่เป็นหัวเรื่องใหญ่ทุกคนต้องการเป็นอันดับแรก ระบบล็อกที่ทำงานร่วมกันหลายส่วนอย่างแน่นหนา ออกแบบพิเศษจากทอสเท็มในบานประตูหน้าต่างทุกรุ่น จึงเป็นอีกส่วนที่ช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้งานบานหน้าต่างได้อย่างมั่นใจตลอดการอยู่อาศัยภายในบ้านหลังนี้ ตอบโจทย์ “โซลูชั่นที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์” อันเป็นปณิธานของทอสเท็ม

Security Lock

ตัวล็อกพื้นฐานมักติดตั้งบริเวณมือจับ แต่ความพิเศษของกรอบบานหน้าต่างของทอสเท็มนั่นคือการออกแบบระบบล็อกที่แน่นหนาขึ้นกว่าที่เคยด้วย Security Lock  สำหรับล็อกแบบก้านโยก ป้องกันการล็อกไม่สนิทได้อย่างสมบูรณ์ อุ่นใจทุกครั้งที่บิดล็อกเรียบร้อยแล้ว Security Lock อยู่ในกรอบประตูหน้าต่างของทอสเท็มรุ่น WE Plus, P7, WE70

Multi-locking System

ระบบมัลติล็อก ล็อกหลายตำแหน่งที่ช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยและความแข็งแรง ที่ทอสเท็มออกแบบให้ติดตั้งกับตัวกรอบบานกับการล็อกบานหลากหลายวิธี พร้อมกับตัวมือจับมัลติล็อก ซึ่งการล็อกหลายระดับทำให้การล็อกบานแน่นหนาตลอดตามแนวหน้าบาน Multi-Lock System อยู่ในกรอบประตูหน้าต่างของทอสเท็มรุ่น WE Plus และ GRANTS

Outer-Panel Lock

หลายครั้งที่ยังรู้สึกไม่มั่นใจถึงจะล็อกกรอบบานหน้าต่างเรียบร้อยแล้ว ทอสเท็มออกแบบตัวล็อกบาน เพื่อป้องกันการงัดเปิดบานจากฝั่งนอกบ้านเพิ่มอีกขั้น สามารถปรับระดับตัวล็อกได้ง่าย เสริมความปลอดภัยให้กับการอยู่อาศัยอย่างสบายใจขึ้นอีกระดับ ติดตั้งกับบานเลื่อนประตูและหน้าต่างของทอสเท็มทุกรุ่น

High Security Sub-Lock

ล็อกเสริมเพิ่มความมั่นใจกับกรอบบานหน้าต่าง ด้วยระบบล็อกเสริมระหว่างหน้าบานกับกรอบโปรไฟล์แนวตั้ง ช่วยเสริมให้การล็อกกรอบบานแน่นหนาขึ้นโดยทำงานร่วมกันกับระบบล็อกหลายส่วนร่วมกันที่ออกแบบพิเศษจากทอสเท็ม High Security Sub-Lock อยู่ในกรอบประตูหน้าต่างของทอสเท็มรุ่น P7

เทคนิคกั้นห้องด้วยกรอบบานอย่างมีชั้นเชิง

เทคนิคกั้นห้องด้วยกรอบบานอย่างมีชั้นเชิง

หนึ่งในคำถามยอดฮิตของคนทำบ้านคือ จะกั้นห้องอย่างไรให้ทั้งสวยงามและเหมาะกับรูปแบบการใช้งาน ทอสเท็มจึงขอนำเสนอไอเดียการกั้นห้องภายในบ้าน ด้วยรูปแบบหลากหลายที่คำนึงถึงทั้งฟังก์ชั่นเฉพาะของแต่ละห้อง และเพิ่มพูนความสุขจากการใช้พื้นที่ให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว

แบ่งห้องคอนโด

สำหรับห้องคอนโดไซส์เล็ก เจ้าของมักกังวลว่าการกั้นห้องจะทำให้แคบหรืออึดอัดไหม? เปลี่ยนความคิดการกั้นห้องแบบใหม่ ด้วยการใช้กรอบกระจกที่มองทะลุได้ทั่วบริเวณห้อง นอกจากจะช่วยเรื่องการรับแสงธรรมชาติให้เข้ามาสร้างสุขภาวะที่ดีภายในห้องแล้ว ยังกั้นแบ่งการใช้งานภายในห้องได้อย่างเป็นสัดส่วนและสวยงาม

ระหว่างห้องครัว-ห้องรับประทานอาหาร

ระหว่างการประกอบอาหารย่อมมีกลิ่นมากมายที่ฟุ้งกระจายไปติดตามเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยผ้าอย่างโซฟา หรือผ้าม่าน การกั้นแบ่งระหว่างห้องครัวและห้องรับประทานอาหารด้วยบานเลื่อนจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยแก้ปัญหาไปพร้อมกับเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน หลังจากประกอบอาหารเสร็จ เพียงเลื่อนหน้าบานก็สามารถส่งอาหารมายังห้องรับประทานอาหารได้เลย แล้วกั้นปิดในขณะใช้งานทำอาหาร ควันและกลิ่นก็ไม่ฟุ้งรบกวนทั่วทั้งบริเวณบ้าน

ห้องนอนของดูเพล็กซ์

สำหรับห้องแบบดูเพล็กซ์ สเปซที่เปิดโล่งทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่งเป็นข้อดีตรงที่สามารถเชื่อมทุกพื้นที่เข้าหากันได้ แต่ยังมีพื้นที่บางส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวอย่างห้องนอน การกั้นส่วนห้องนอนด้วยกรอบบานกระจกแบบฟิกซ์ก็ช่วยตอบทุกฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการ โดยที่ความโปร่งโล่งในแบบห้องดูเพล็กซ์ยังคงอยู่

กั้นห้องด้วยบานเฟี้ยม

หนึ่งในรูปแบบการกั้นห้องยอดนิยมของเมืองไทย คือการใช้บานเฟี้ยม เพราะสามารถเปิดเชื่อมพื้นที่ได้แบบเปิดกว้างขวาง ใช้งานพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ หากต้องการปิดกั้นก็สามารถทำได้อย่างเป็นส่วนตัว หรือการกั้นแอร์ก็เป็นจุดประสงค์อีกประการของการกั้นพื้นที่ ทางเลือกอีกอย่างที่แนะนำคือการใช้บานเฟี้ยมแบบกระจก เพื่อเปิดรับบรรยากาศแสงธรรมชาติ เติมความงามให้กับห้อง ไปพร้อมกับฟังก์ชั่นในแง่การใช้พื้นที่อย่างที่ต้องการ

บานเลื่อน-บานเฟี้ยม เชื่อมพื้นสองห้อง

สำหรับการกั้นห้องยอดนิยมอย่างการกั้นด้วยบานเลื่อนหรือบานเฟี้ยม การเลือกระบบรางที่มีประสิทธิภาพก็ช่วยให้การกั้นห้องสวยงามยิ่งขึ้นอีก ตัวอย่างการใช้รางล่างแบบฝังพื้น หรือหน้าบานแบบไร้รางล่าง เพื่อช่วยเชื่อมทั้งสองพื้นที่เข้าหากันได้อย่างแนบเนียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบ้านที่ต้องใช้รถเข็นหรือวีลแชร์ที่พื้นเรียบเสมอกันช่วยลดอุบัติเหตุ โดยจำเป็นต้องเลือกกรอบบานที่มีระบบรางบนที่แข็งแรงเช่นของทอสเท็ม ที่มีระบบเสริมที่ช่วยให้เลื่อนเปิดปิดได้อย่างสะดวก และมีมาตรฐานรับรอง เพื่อให้กรอบบานอยู่คู่กับบ้านไปได้นานเท่านาน

หลากไอเดียบานหน้าต่างในห้องครัว เพื่อการระบายอากาศที่ดี

หลากไอเดียบานหน้าต่างในห้องครัว เพื่อการระบายอากาศที่ดี

ห้องครัวเป็นอีกหนึ่งห้องที่สำคัญของบ้าน เพราะเป็นห้องที่เกี่ยวข้องกับหลายฟังก์ชัน ตั้งแต่ความปลอดภัย การใช้แสงสว่าง และที่สำคัญที่สุด คือ การระบายอากาศ โดยเฉพาะครัวไทยที่เต็มไปด้วยกลิ่น ควัน และความร้อน เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบหรือปรับปรุงห้องครัว วันนี้เราจึงนำหลากหลายไอเดียจากทั่วโลก ที่จะทำให้ห้องครัว(ห้องใหม่)ของคุณ สวยงาม น่าใช้พร้อมกับสร้างฟังก์ชันคุณลักษณะที่ดี โดยเฉพาะในเรื่องการระบายอากาศ มาทำให้ห้องครัวห้องนี้เป็นห้องที่ปลุกจิตวิญญาณเชฟในตัวคุณกันเถอะ!

01 Open-All Ventilation

Da House

Architects : Gerira Architects

Location : Vietnam

Photo : Hoang Le

จุดเด่นของบ้านหลังนี้ คือ บริเวณกว้างขวางและจัดวางผังพื้นที่แบบโอเพ่น ห้องครัวที่หลบมุมเข้ามาอีกนิด แต่เปิดบริเวณได้กว้างขวางเหมือนเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นหน้าตาให้กับบ้าน ใช้บานเฟี้ยมกระจกแบบเต็มบานเสมือนเป็นห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก หากอยากได้ห้องครัวแบบนี้ เรื่องที่ต้องคำนึงถึงคือ การทำชายคาที่ป้องกันแดดและฝนในแต่ละฤดูซึ่งมีทิศทางแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ดีของบ้านหลังนี้ คือ การใช้ฝ้าเพดานเป็นกระจกที่เชื่อมต่อไปยังห้องด้านบน โดยที่กลิ่นและควันจากห้องครัวไม่ไปรบกวนชั้นอื่น ๆ แต่อย่างใด และช่วยเปิดห้องให้ดูกว้างโอ่โถงทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

02 Loft Kitchen

Hayloft

Architects : loft buro

Location : Ukraine

Photo : Andrey Avdeenko Photographer

สำหรับบ้านแบบลอฟต์ กั้นพื้นที่ห้องครัวให้เป็นห้องส่วนตัวด้วยการใช้ผนังกระจกโดยรอบเพื่อยังคงเชื่อมต่อกับห้องอื่น ๆ ประตูทางเข้าใช้ประตูบานเฟี้ยมเพื่อเชื่อมต่อกับบริเวณส่วนใหญ่ของบ้าน เมื่อเปิดก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของบ้านแบบลอฟต์ที่โอ่โถงและกว้างขวางตามต้องการ ในส่วนการระบายอากาศมีการใช้ประตูกระจก โดยผนังด้านที่เชื่อมต่อกับสวนธรรมชาติใช้กระจกแบบบานเลื่อน สามารถเลือกเปิดบานเลื่อนออกในส่วนที่ต่อเนื่องกับเตาเพื่อให้ระบายอากาศทำได้ พร้อมกับติดมู่ลี่ เพื่อเปิดออกสำหรับระบายอากาศไปพร้อมกับกรองแสงจากภายนอก

03 Space-Limit Kitchen

Portobello House

Architects : Scullion Architects

Location : Ireland

Photo : Fionn McCann

สำหรับห้องครัวที่มีพื้นที่จำกัด การจัดการระบายอากาศอาจจะทำได้ยาก ตัวอย่างที่ดีของครัวห้องนี้ คือ การจัดฟังก์ชันที่ครบครันไว้ระนาบกับพื้น แล้วใช้ตัวช่วยระบายอากาศอย่างหน้าต่างรูปทรงเท่เป็นเหมือน stack ventilation สำหรับระบายอากาศจากภายในสู่ภายนอก เคล็ดลับของห้องครัวแบบนี้คือ การใช้โถงเพดานสูงกว่าปกติ เพื่อให้การระบายอากาศทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการสร้างสเปซให้ห้องดูโปร่งโล่งขึ้น ไม่ทึบตัน

04 Ventilation Block for Kitchen

Aláfia Apartment

Architects : Semerene Arquitetura Interior

Location : Brazil

Photo : Joana Franca

ทำห้องครัวให้เป็นพื้นที่อินดอร์ที่รับธรรมชาติจากภายนอกด้วยผนังบล็อกช่องลมเต็มผืน ช่วยเรื่องการระบายอากาศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังสามารถเพิ่มลูกเล่นกับแพตเทิร์นของบล็อกช่องลมล้อไปกับพื้นผิวส่วนอื่น ๆ ของห้องครัว อย่างพื้นกระเบื้องแพตเทิร์นเดียวกัน และการใช้สีเขียวของเฟอร์นิเจอร์ครัวที่ช่วยสร้างชีวิตชีวา การใช้แพตเทิร์นและสีสันที่แตกต่างและโดดเด่นช่วยในการแบ่งฟังก์ชันส่วนนี้ออกจากพื้นที่ส่วนอื่นของบ้านได้ โดยไม่ต้องกั้นห้องอย่างที่เคย

05 Ventilation Block with Sliding Doors

45 House

Architects : Green Concept

Location : Vietnam

Photo : Phan Duy Hao

สำหรับประเทศในเขตร้อนอย่างบ้านเรา หรือเวียดนาม ลมฝนรุนแรงคือปัญหาสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อบ้านและชีวิตความเป็นอยู่ การใช้ผนังบล็อกช่องลมเพียงอย่างเดียวอาจส่งผลดีเฉพาะกับฤดูร้อนหรือฤดูหนาว การติดตั้งบานเลื่อนก็เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานบล็อกช่องลม โดยการติดตั้งกรอบบานเลื่อนไว้ภายในเพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน พร้อมกับสร้างความสวยงามของพื้นที่และบ้านทั้งหลัง แม้ในฤดูที่ไม่มีลมฝนก็สามารถเปิดบานเลื่อนไว้เพื่อรับลมและระบายอากาศผ่านบล็อกช่องลมได้ตลอดทั้งวัน

06 Multi Window Ventilation

Studio Nencini

Architects : Alder Brisco

Location : United Kingdom

Photo : Nick Dearden

แทนที่การติดตั้งหน้าต่างจะจำกัดอยู่เพียงแค่แบบเดียว ลองมิกซ์แอนด์แมทช์ด้วยการใช้หน้าต่างหลากหลายรูปแบบสร้างลูกเล่นที่ทั้งแตกต่างและสนุก ทั้งหน้าต่างแบบบานเปิด บานเลื่อนแบบเปิดขึ้น หรือจะเปิดเป็นกรอบหน้าต่างแบบไม่ปิดหน้าบานในส่วนที่เป็นมุมอับ เพื่อให้การระบายอากาศภายในห้องทำได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด

07 Ventilation Door with Sliding Window

88 Hillside

Location : Thailand

Photo : Beersingnoi Archphoto

ห้องครัวที่ขนานไปตามแนวยาวของบ้านมีข้อดีตรงที่มีส่วนเชื่อมต่อกับภายนอกสำหรับการระบายอากาศได้มากกว่า การติดตั้งกรอบบานหน้าต่างสำหรับการระบายอากาศจึงไม่ได้จำกัดแค่เพียงบานเลื่อนอย่างที่นิยมกัน ยังสามารถติดตั้งเป็นบานเลื่อนบนกรอบบานฟิกซ์เพื่อเพิ่มแสงธรรมชาติได้อีก ร่วมกับการใช้บานประตูแบบ Ventilation Door เพื่อเติมให้การระบายอากาศให้มีประสิทธิภาพไปพร้อมกับเสริมสร้างความปลอดภัย ข้อดีของบานประตูแบบนี้ คือสามารถปรับความกว้างของการเปิดระบายอากาศได้ จะเปิดระบายอากาศหนัก ๆ ขณะทำอาหาร หรือเปิดเพียงเล็กน้อยสำหรับระบายอากาศระหว่างวันก็ได้เช่นกัน

08 Ventilation Doors with Awning Windows

Master Home

Location : Thailand

Photo : Beersingnoi Archphoto

เพราะครัวมักจะตั้งอยู่หลังบ้าน ความปลอดภัยจากการบุกรุกจึงเป็นสิ่งสำคัญ บ้านบางหลังยังมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเปิดหน้าต่างหรือประตูออกอย่างเต็มที่ ทางเลือกที่ดีคือการใช้หน้าต่างแบบบานกระทุ้งร่วมกับการใช้ประตูระบายอากาศ (Ventilation door) ข้อดีของหน้าต่างบานกระทุ้งในเรื่องของการระบายอากาศเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เพราะสามารถเปิดออกได้ในพื้นที่จำกัด โดยยังกันแดดฝนได้อย่างดี เมื่อใช้งานร่วมกับประตูระบายอากาศจึงทำให้ห้องครัวไทยสามารถระบายกลิ่น ควัน และความร้อนออกสู่นอกบ้านได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ