fbpx

Tag: หน้าต่าง

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?

ทุกวันนี้การเลือกหน้าต่างอะลูมิเนียมให้กับบ้านหรืออาคาร ไม่ได้เน้นเพียงแค่เรื่องของฟังก์ชันการใช้งานเท่านั้น แต่ยังใส่ใจไปถึงเรื่องรูปลักษณ์หน้าตา รวมถึงสีสันที่ต้องมาควบคู่กันไปด้วย เพราะสีสันก็เป็นอีกสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ภาพจำของตัวบ้านมีความสวยงามโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เราจึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนวัตกรรมการทำสี 4 รูปแบบ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ให้เลือกกันดูว่า การทำสีแบบไหนจะตอบโจทย์และเหมาะสมลงตัวกับหน้าต่างของคุณมากที่สุด 

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
สีลายไม้ ให้ผิวสัมผัสธรรมชาติ

‘เทรนด์สีธรรมชาติ’ ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังเป็นที่นิยมในบ้านเราเป็นอย่างมาก สำหรับการนำมาใช้ตกแต่งภายในบ้าน เพราะทำให้บรรยากาศภายในดูอบอุ่น และผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้าหากเราต้องการเพิ่มกลิ่นอายธรรมชาติให้กับอาคารหรือที่อยู่อาศัย ก็สามารถที่จะเลือกหน้าต่างอะลูมิเนียมที่มีลวดลายดูเป็นธรรมชาติอย่างลายไม้ได้เช่นเดียวกัน ผ่านการใช้เทคนิคสีพ่น พร้อมเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มลายไม้ หลังจากนั้นจึงอบอะลูมิเนียมด้วยความร้อนเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเทคนิคนี้เรายังสามารถเลือกลายไม้ที่ต้องการได้อย่างหลากหลายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นลวดลายอย่างไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่า เป็นต้น นอกจากนี้การใช้อะลูมิเนียมลายไม้ยังสามารถให้ผิวสัมผัสที่คล้ายคลึงกับไม้จริง จนเรียกได้ว่า สามารถทดแทนบานหน้าต่างที่ใช้วัสดุไม้จริง ซึ่งมีราคาสูง ดูแลรักษายากกว่า และไม่แข็งแรงทนทานเท่าอะลูมิเนียม

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
สีพ่น (Powder Coat) สร้างสรรค์ไอเดียได้หลากหลาย

อุตสาหกรรมในหลายแห่งมักนิยมใช้สีพ่น (Powder Coat) ที่เป็นการใช้สีฝุ่นพ่นลงบนพื้นผิวของอะลูมิเนียม ซึ่งทำให้เราสามารถที่จะเลือกสีสันอะลูมิเนียมได้ตามความต้องการ หรือหากใครมีไอเดียในการออกแบบก็สามารถเพิ่มเติมกิมมิกผิวสัมผัสแบบพิเศษให้กับอะลูมิเนียม เพื่อให้ดูน่าสนใจมากขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การพ่นแบบซาฮาร่าที่ให้ผิวสัมผัสเหมือนกับเม็ดทราย หรือจะเป็นการพ่นผิวแบบผิวเงา หรือผิวด้านก็สามารถทำได้เช่นกัน

               ซึ่งข้อดีในการใช้สีพ่นคือ ความหลากลายของสี เนื้อสีไม่หลุดร่อนง่าย แถมยังทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แต่การเลือกใช้สีพ่นก็ยังมีข้อเสียตรงที่เนื้อสีบนอะลูมิเนียมอาจจะไม่มีมิติมากเท่าไหร่นัก และเมื่อใช้ไปในระยะเวลานานสีอาจจะซีดจางลงได้

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
สีพ่น (Powder Coat) และอบ ให้สีติดทนนานกว่าเดิม

หากต้องการสีอะลูมิเนียมที่มีความคงทนมากยิ่งขึ้นก็สามารถใช้เทคนิคการพ่นสีอะลูมิเนียม (Powder Coat) และเพิ่มเติมการอบด้วยความร้อนอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งนอกจากความคงทนของสีแล้ว ยังให้ให้มิติของสีสันมากกว่าสีพ่นแบบปกติ แถมยังสามารถออกแบบสีสันได้ตามความต้องการได้อีกด้วย แต่ด้วยเทคนิคที่มีความซับซ้อนจึงมีค่าใช้จ่ายในการทำค่อนข้างสูง และไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
การชุบสี (Anodized) นวัตกรรมที่ทำให้อะลูมิเนียมมีมิติมากยิ่งขึ้น

ด้วยนวัตกรรมด้านสีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน อีกรูปแบบของการทำสีอะลูมิเนียมที่น่าสนใจก็คือ การชุบสี (Anodized) ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยี Electrolytic Coloring หรือการทำสีด้วยระบบกระแสไฟฟ้าเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต โดยก่อนทำการชุบสีจะนำอะลูมิเนียมไปผ่านกระบวนการทางเคมีไฟฟ้าที่เรียกกว่า อะลูมิเนียมออกไซด์ (Aluminum Oxide) ลงไปบนชั้นผิวอะลูมิเนียมจนเกิดเป็นรูพรุนจำนวนมาก จากนั้นจึงเติมสีแบบโลหะด้วยประจุไฟฟ้าลงไปที่อะลูมิเนียม เนื้อสีจะเข้าไปตามรูพรุนต่างๆ จนเป็นเหมือนชั้นฟิล์มเคลือบอะลูมิเนียม จากนั้นจึงเข้ากระบวนการอบผิวอีกครั้งเพื่อให้สีทนทานมากยิ่งขึ้น
วิธีนี้ช่วยสร้างผลดีให้กับเนื้อสี และตัวอะลูมิเนียม เพราะไม่ทำให้เกิดการผุกร่อน ให้สีสันที่มีมิติสวยงาม ไม่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย คงทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ยังคงทนต่อรังสี UV และน้ำฝนที่เป็นสาเหตุให้สีซีดจาง รวมไปถึงยังคงผิวสัมผัสลื่น และความเรียบเนียน

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
เลือกใช้เทคนิคสีของหน้าต่างให้เหมาะสม เพื่อบ้านที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด

จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้การทำสีอะลูมิเนียมนั้นมีกระบวนการทำสีที่แตกต่างกัน จึงต้องดูว่าบานหน้าต่างอะลูมิเนียมของเรานำไปใช้ติดตั้งในพื้นที่ส่วนไหน หรือ ต้องการลวดลายและมิติของสีมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงเรื่องของงบประมาณด้วย

ซึ่งถ้าต้องการลวดลายที่เป็นธรรมชาติก็แนะนำให้ใช้วิธีการทำสีแบบลายไม้ แต่ถ้าต้องการทำเฉดสีสไตล์โมเดิร์นอย่างเฉดสีเทาจนถึงเฉดสีดำที่มีมิติ แข็งแรงทนทาน ดูแลรักษาง่าย และมีราคาถูก ก็แนะนำให้เลือกการชุบสี (Anodized) เพราะเป็นการเคลือบสีที่ลงลึกไปถึงด้านในของอะลูมิเนียม ที่มีคุณภาพกว่าการทำสีเทคนิควิธีอื่นๆ  

ทำสีหน้าต่างอะลูมิเนียมแบบไหนดีที่สุด?
e-Catalog สี DUSK GRAY

ซึ่งทาง TOSTEM ก็มีผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้วิธีชุบสีแบบ Anodized ให้กับกรอบหน้าต่าง ซึ่งให้มิติสีสันที่สวยงาม ไม่เกิดรอยขีดข่วนง่าย แถมยังคงทนต่อทุกสภาพอากาศ อย่าง Dusk Gray สีเทาเข้มเหลือบน้ำเงิน ที่ได้แรงบันดาลใจมาช่วงพระอาทิตย์ตกดินในยามพลบคล่ำของประเทศญี่ปุ่น เป็นการเชื่อมสีสันให้สีของหน้าต่างดูอบอุ่นเช่นเดียวกับเส้นของขอบฟ้าได้อย่างสวยงาม

หากใครที่กำลังวางแผนตกแต่งบ้านหรือสร้างบ้านใหม่ทาง TOSTEM ก็ยังมีหน้าต่างและประตู อะลูมิเนียมดีไซน์ทันสมัยอีกหลากหลายรุ่นให้ได้เลือกสรรกันว่าแบบไหนจะเหมาะสมกับสไตล์บ้านของเรามากกว่ากัน  

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี (uPVC) เลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาคารของเรา ?

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี (uPVC) เลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาคารของเรา?

Image

เมื่อพูดถึงส่วนประกอบที่สำคัญของบ้าน ‘หน้าต่าง’ ก็ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยเติมเต็มบ้านให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น เพราะไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นช่องเปิดที่ช่วยถ่ายเทอากาศและรับแสงแดดให้เข้ามาภายในบ้าน แต่ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่น่าจดจำและสวยงามให้กับตัวบ้านหรืออาคารของเราอีกด้วย

ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตหน้าต่างเพื่อการอยู่อาศัย ต่างก็มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุด เพื่อให้เราสามารถคัดสรรสิ่งที่ดีและเหมาะสมกับการใช้งานของเรามากที่สุด วันนี้เราจึงมี 2 วัสดุยอดนิยมที่มักนำใช้ในการทำหน้าต่างมาฝากกัน นั่นก็คือ อะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี (uPVC) เลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาคารของเรา ?

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) ผลิตมาจากอะไร ?

หากกำลังมองหาหน้าต่างอะลูมิเนียมมาติดตั้งให้กับตัวบ้าน ควรเลือกหน้าต่างอะลูมิเนียมเกรด 6063-T5 โดยตัวเลข 6063 มาจากการใช้อะลูมิเนียมอัลลอยด์ที่มีส่วนผสมของ ซิลิคอนกับแมกนีเซียม ทำให้การขึ้นรูปทรง เชื่อม แปรรูป ง่ายกว่าอะลูมิเนียมชนิดอื่นๆ แถมยังทนทานแข็งแรง ไม่เป็นสนิมได้ง่ายอีกด้วย ในส่วน T5 คือ กระบวนการขึ้นรูปร้อนและทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วด้วยการบ่มเทียมนั่นเอง โดยการผลิตหน้าต่างอะลูมิเนียมให้ออกมาสวยงาม ตรงตามความต้องการทุกตารางนิ้ว สามารถดีไซน์รูปแบบที่มีความซับซ้อน ให้รายละเอียดสูง วัสดุออกมาดูต่อเนื่องไร้รอยต่อ และมีหน้าตัดที่สม่ำเสมอกัน

อะลูมิเนียม ทนทาน สวยงาม

หน้าต่างอะลูมิเนียมคุณสมบัติที่ดี ประกอบไปด้วยการออกแบบรอยต่อ และการป้องการที่ดี จึงมีคุณสมบัติที่สามารถกันน้ำและฝนได้ดี รวมถึงยังป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ค่อนข้างมาก เรื่องฝุ่นและมลพิษก็เช่นกัน บานอะลูมิเนียมมีการปิดรอยต่อระหว่างวงกบและบานกรอบได้อย่างแนบชิด ทำให้ช่วยกันฝุ่นและลมพิษได้ดีมากๆ เช่นกัน และเมื่อใช้งานไปนานๆ ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการหดตัว งอ หรือแตกร้าวของบานอะลูมิเนียมเลย เพราะด้วยคุณสมบัติของอะลูมิเนียมจะมีความแข็งแรง แต่ยืดหยุ่น ไม่กระด้าง และทนทานต่อสภาพอากาศ แดด และมลภาวะ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกับประเทศไทยของเราที่มีแสงแดดจัดและมลภาวะที่รุนแรงตลอดปี เรื่องของน้ำหนักเบานั้นก็เป็นจุดเด่นของบานอะลูมิเนียม ที่จะมีน้ำหนักเบา แต่แข็งแรง ใช้แรงน้อยในการปิดเปิด การมีน้ำหนักนั้นเป็นการช่วยลดภาระให้กับบ้านหรืออาคารของเรา เมื่อออกแบบก็สามารถทำได้ในหลากหลายพื้นที่ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักที่เยอะเกินไป

ข้อจำกัดของหน้าต่างอะลูมิเนียม

ควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดด้วยน้ำยาที่เป็นกรด หรือด่าง เพราะหากใช้นำยาตามข้างต้นเช็ดถูก็อาจจะทำให้บานอะลูมิเนียมเกิดความเสียหายได้ หรือ การทำความสะอาดที่รุนแรงก็อาจจะทำให้บานอะลูมิเนียมเกิดรอยขีดข่วนขึ้นได้ง่ายเช่นกัน  จึงแนะนำว่าให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสะอาด บิดหมาดเช็ดทำความสะอาด เพียงปีละ1-2ครั้ง จะดีที่สุดและเพียงพอที่จะทำให้หน้าต่างยังคงความสวยงามอยู่ตลอดเวลา

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี (uPVC) เลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาคารของเรา ?

หน้าต่างยูพีวีซี (Unplastizide Poly Vinyl Choride) ผลิตมาจากอะไร ?

ยูพีวีซี (Unplastizide Poly Vinyl Choride) ที่ใช้ผลิตจากไม้สังเคราะห์ ที่อัดแน่นไปด้วย EPS-Foam (Expanded Polystyrene Foam) และปิดทับหน้าด้วยยูพีวีซี ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีการผสมสารเสริมสภาพ และสารเติมแต่งอื่นๆ เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับวัสดุมากยิ่งขึ้น นิยมใช้ทำเป็นหน้าต่าง และประตู เป็นต้น 
 

หน้าต่างยูพีวีซี ทนทาน ทำความสะอาดง่าย

วัสดุยูพีวีซีมีความทนทานไม่หดตัว งอ หรือแตกง่ายๆ และยังทนต่อความชื้น ไอเกลือ แมลง และปลวก ได้ดี อีกจุดเด่นหนึ่งคือเรื่องของการทำความสะอาด ที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย เพียงแค่ใช้ผ้ากับน้ำอุ่นเท่านั้น
 

ข้อเสียของหน้าต่างยูพีวีซี

ในเกรดของพีวีซีที่ไม่ได้มาตรฐานนัก ตัวบานจะไม่สามารถทนแดดและฝนได้ดีเท่าที่ควร จะมีการเปลี่ยนสีของตัวบานรวมถึงมีการแตก ร้าว และชำรุดในภายหลัง เพราะตัววัสดุยังคงมีพื้นฐานของพลาสติก จึงไม่ถูกกับแสงแดดหรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศที่รุนแรงแบบไทยนัก ส่วนเรื่องของการทาสีหรือซ่อมสี หากจะทำให้ได้มาตรฐานต้องทำหลายขั้นตอนด้วยกัน อาจจะเกิดความยุ่งยากในกรณีที่เจ้าของบ้านจะทำเอง อีกเรื่องสำคัญคือเรื่องของตัวบานที่มีกรอบที่หนา ใหญ่ ทำให้ต้องเสริมความแข็งแรงด้วยเหล็กไว้ภายใน บานจึงมีน้ำหนักมาก ต้องออกแรงในการปิดเปิด ดูไม่ทันสมัย ในแง่ของการออกแบบอาจเป็นข้อจำกัดให้ตัวบ้านหรืออาคารดูทึบตัน ไม่โปร่งสบายเท่าที่ควรนั่นเอง  
 

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี (uPVC) เลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาคารของเรา ?

4 ทิปควรรู้ ก่อนเลือกบานหน้าต่าง

เมื่อเราทราบข้อดีข้อจำกัดของทั้ง 2 วัสดุแล้ว เรามีข้อควรรู้อีก 4 ข้อ ที่เราอยากบอก เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาเรื่องวัสดุในการทำบานหน้าต่างเพิ่มเติมกัน!

 

1. อะลูมิเนียมเบาแต่แข็งแรง จึงมีหน้าตัดที่บางได้

ด้วยเนื้อของวัสดุที่แข็งแรงกว่า ยูพีวีซี ทำให้สามารถออกแบบหน้าตัดของบานให้มีขนาดเล็ก บางได้ โดยที่ยังคงความแข็งแรงเช่นเดิม ส่งผลให้มีน้ำหนักเบา รวมไปถึงยังสามารถผลิตกรอบบานหน้าต่างขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องมีอะไรเสริม

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี (uPVC) เลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาคารของเรา ?

2. หน้าต่างอะลูเนียม และยูพีวีซีกันความร้อนได้

หากความร้อนคือเรื่องที่คุณสนใจ การเลือกใช้กระจกที่กันความร้อนได้ ช่วยให้บ้านของคุณเย็นขึ้น ไม่ว่าจะใช้บานอะลูมิเนียม หรือ ยูพีวีซี เพราะความร้อนที่เข้ามาส่วนใหญ่เข้าผ่านทางบานกระจก มากกว่าทางบานกรอบนั่นเอง

หน้าต่างอะลูมิเนียม (Aluminum) และ ยูพีวีซี (uPVC) เลือกแบบไหนให้เหมาะกับอาคารของเรา ?

3. หน้าต่างอะลูมิเนียม ป้องกันน้ำ ฝุ่นได้ดี

ด้วยลักษณะที่บางแต่แข็งแรงของอะลูมิเนียม ทำให้สามารถออกแบบรายละเอียดสำหรับการป้องกันน้ำ และฝุ่นจากภายนอกได้ดี รวมไปถึงยังได้ติดตั้งระบบล็อกและยาง ที่มีคุณภาพ การปิดที่สนิทแน่น ทำให้คลายกังวลเรื่องฝุ่น และน้ำรั่วไหลเข้ามาได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ควรตรวจสอบคุณภาพทุกครั้งไม่ว่าจะเลือกสรรหน้าต่างวัสดุใดเพื่อความมั่นใจ และปลอดภัยในการใช้งาน    

4. เลือกใช้หน้าต่างอะลูมิเนียม และยูพีวีซีให้เหมาะกับสไตล์อาคาร

สำหรับหน้าต่างอะลูมิเนียมจะมีลักษณะที่เรียบตรงสลิม แถมยังมีความคงทนทน และแข็งแรงเหมาะกับทุกสภาพอากาศ เมื่อเกิดความเสียหายสามารถซ่อมแซมได้ง่าย จึงเหมาะกับอาคารสไตล์โมเดิร์นที่ดูทันสมัย และมีความเรียบง่าย สำหรับหน้าต่างยูพีซี ที่มีลักษณะของกรอบที่ใหญ่ หนาทึบ จึงเหมาะกับอาคารสไตล์คลาสสิก หรือวินเทจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละคนด้วยเช่นกัน

 

หากใครสนใจหน้าต่าง และประตูอะลูมิเนียม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถึงรายละเอียด และคุณสมบัติต่างๆ กับทาง TOSTEM เพื่อให้ได้หน้าต่าง และประตูอะลูมิเนียมที่มีดีไซน์สวย พร้อมตอบโจทย์การใช้งาน เพื่อตัดสินใจก่อนจะนำเข้ามาติดตั้งภายในบ้านกัน 

TOSTEM ก้าวสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมสีใหม่ ‘DUSK GRAY’

TOSTEM ก้าวสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมสีใหม่ ‘DUSK GRAY’

จากประสบการณ์ที่สั่งสมมากว่าหนึ่งศตวรรษ หนึ่งศตวรรษแห่งความมุ่งมั่นตั้งใจ สู่หนึ่งศตวรรษแห่งความเชี่ยวชาญ ก้าวแรกสู่ศตวรรษถัดไป สีใหม่จากทอสเท็ม DUSK GRAY

 

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

หนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทอสเท็มไม่ได้ผลิตแค่เพียงประตูหน้าต่างเท่านั้นเพราะเป้าหมายของเราคือยกระดับคุณภาพของที่อยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ความรู้และนวัตกรรมที่เราคิดค้นมาอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทำให้เราก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมและเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับที่อยู่อาศัยเป็นเจ้าแรก

เป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษแล้วที่ทอสเท็มทุ่มเทให้กับการพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สินค้าของเราทำให้เราก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมและทอสเท็มกำลังมุ่งหน้าสู่ศตวรรษถัดไป พร้อมเปิดตัวสีใหม่ล่าสุดสู่วงการประตูหน้าต่าง สี Dusk Gray

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

ความลงตัวระหว่างพื้นผิวเมทาลิกและสีเข้ม การผสมผสานระหว่างพื้นผิวเมทาลิกและสีเข้ม ทอสเท็มให้ความสำคัญกับพื้นผิวของสินค้าเพราะเป็นส่วนที่สร้างความสวยงามให้กับตัวอาคาร โดยใช้เทคนิคการชุบสีอโนไดซ์เป็นชั้นๆ และเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าเพื่อให้ได้สี DUSK GRAY ที่มีความทึบแสงและไม่ทำลายเนื้ออะลูมิเนียม

 

แนะนำสีใหม่ TOSTEM - DUSK GRAY

Blends into your lifestyle 

ปัจจุบัน สีเทาเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากเป็นโทนสีที่เหมาะกับเปลือกของอาคาร และสีเทาเป็นสีที่เข้าได้กับเฉดสีที่อ่อนและเข้มกว่า นอกจากนี้ ยังเหมาะกับตัวอาคารดีไซน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมินิมอล โมเดิร์น คอนเทมโพรารี่ หรือดีไซน์ที่มีความซับซ้อน ทอสเท็มจึงเลือกออกสีใหม่เป็นสีเทา Dusk Gray เพื่อตอบสนองเทรนด์นี้โดยเฉพาะ เมื่อนำสินค้าพื้นผิวอะลูมิเนียมมาใช้กับตัวบ้านจะช่วยเพิ่มพื้นผิวที่มีความแตกต่างแต่เข้ากับตัวบ้านและกลมกลืนกับบริเวณโดยรอบได้อย่างลงตัวนอกจากนี้ วัสดุอะลูมิเนียมยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย

 

ชม e-Catalog สี DUSK GRAY คลิกที่นี่

 

ช่องทางการติดต่อ TOSTEM Thailand
สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

คลายข้อสงสัย สัญลักษณ์ประตูหน้าต่างแต่ละแบบ

สัญลักษณ์ของงานเขียนแบบสถาปัตยกรรมเป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านหลายคนพอจะเข้าใจในระดับเบื้องต้น อย่างตัวหน้าบานประตูหรือหน้าต่าง เห็นจากภาพจากผังพื้นก็พอจะนึกออกว่า สัญลักษณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจากมุมมองการมองในแบบ Bird’s Eye View หรือมุมมองจากด้านบนลงด้านล่างในแนวระนาบ หรือถ้ามองจากรูปข้างหรือรูปตัด ก็พอจะรู้อยู่ว่าเป็นบานประตู แล้วในส่วนที่มองไม่เห็นในรูปแบบเช่นนี้ อย่างฟังก์ชันที่เกิดขึ้นในแนวระนาบอย่างบานเลื่อนหรือบานกระทุ้งบนผังพื้น จะมีวิธีเขียนแบบอย่างไร หรือเส้นรอยประบนรูปประตูในรูปตัดมีไว้ทำไม จะมีวิธีเขียนแบบอย่างไร เราพาคุณมารู้จักกับสัญลักษณ์ของประตูหน้าต่างเพิ่มเติมให้แอดวานซ์ขึ้นไปอีก

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเปิด 

รูปสัญลักษณ์ประตูอย่างที่เราชินกัน คือรูปประตูบานเปิด ที่หากมองจากผังพื้นก็พอจะเดาออกว่ามาจากรูปแบบบานที่ถูกเปิดออก ซึ่งสัญลักษณ์การเปิดเข้าตัวบ้านหรือออกจากตัวบ้านก็เป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สถาปนิกให้ความสำคัญ ส่วนแบบรูปด้าน รอยประบนบานประตูมีไว้บอกจุดหมูนของการเปิดประตู โดยมุมที่บรรจบกันเป็นด้านที่ติดวงกบ และรูปแบบของบานประตูก็ถูกวาดลงไปบนหน้าบานสำหรับสเป็ควัสดุด้วยเช่นกัน  

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเลื่อน 

สำหรับบานเลื่อนในรูปผังพื้น ใช้ตำแหน่งของลูกศรในการบอกทิศทางการเลื่อนของหน้าบาน เช่น บานเลื่อนที่เลื่อนได้ข้างเดียวแล้วอีกข้างเป็นบานติดตาย หรือบานเลื่อนออก เป็นต้น ซึ่งลูกศรบอกทิศทางการเลื่อนนี้มีการใช้ในรูปด้านเพื่อบอกทิศของการเลื่อนเช่นกัน หากหน้าบานรูปไหนที่ไม่มีลูกศร แสดงว่าเป็นบานฟิกซ์ติดตาย  

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

ประตูบานเฟี้ยม 

ปัจจุบันประตูบานเฟี้ยมเป็นที่นิยมกันมากสำหรับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด เพราะใช้คุณสมบัติที่เปิดปิดได้เต็มหน้าบานในการจัดสรรพื้นที่ได้ตามความต้องการใช้งาน สัญลักษณ์ของบานเฟี้ยมจึงใช้รูปแบบซิกแซ็กตามการเปิดออกและปิดเข้าหากันของบานประตู โดยมีลูกศรบ่งบอกทิศทางของการสไลด์เลื่อน และบานที่มีคาดกลางบานด้วยเส้นทะแยงคือบานที่จุดเริ่มต้นของการเปิดออก ซึ่งมุมของเส้นคือด้านที่ติดตั้งบานพับสำหรับเชื่อมต่อกับบานถัดๆ มา

สัญลักษณ์ประตูหน้าต่าง คืออะไร

หน้าต่างบานเปิด

เมื่อมองจากมุมบนในผังพื้น หน้าต่างแบบเปิดมีหน้าตาที่บ่งบอกการเปิดออกเช่นเดียวกันกับประตู หากแต่หน้าต่างจะมีข้อแตกต่างตรงส่วนขอบของรูปวาดหน้าบานที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของผนัง สังเกตจากมีเส้นกลางพาดอยู่ระหว่างส่วนผนัง ต่างจากรูปประตูที่ระหว่างผนังสองด้านจะเป็นช่องว่างผ่านได้ทั้งหมด เปรียบเทียบเหมือนกับบนพื้นที่เราสามารถเดินผ่านประตูได้เพราะไม่มีวงกบล่างกีดขวาง แต่กับหน้าต่างมีกรอบวงกบล่างหรือผนังที่เราไม่สามารถเดินข้ามได้  

หน้าต่างบานกระทุ้ง 

ความพิเศษอีกอย่างของหน้าต่างคือการเขียนแบบหน้าต่างบานกระทุ้งที่สามารถเขียนได้ชัดเจนเห็นภาพในผังพื้น โดยจะใช้การลากเส้นประให้มุมของเส้นบรรจบกันในด้านที่ต้องติดวงกบเช่นเดียวกับหน้าบานทุกแบบ ซึ่งสำหรับบานกระทุ้งก็คือด้านที่ติดกับส่วนผนังนั่นเอง และในภาพรูปด้าน ก็คือการเปิดขึ้นด้านบนตามรูปแบบการเปิดของบานกระทุ้ง

หน้าต่างแบบอื่นๆ 

สำหรับหน้าต่างแบบอื่นๆ อย่างหน้าต่างบานฟิกซ์ ในรูปผังพื้นก็จะเขียนให้เห็นกรอบวงกบด้านข้าง โปรไฟล์ตรงกลาง และตัวบาน แล้วค่อยลงรายละเอียด เช่นวัสดุหน้าบานว่าเป็นไม้หรือกระจกได้จากส่วนขยายแบบ หรือบานเกล็ด ในรูปจากผังพื้นก็จะมองเห็นเหมือนบานเกล็ดกระจกตอนที่กำลังเปิดอยู่ ที่จะยื่นออกมาจากผนังเล็กน้อย และสามารถเห็นระบุได้ชัดเจนว่าเป็นหน้าต่างบานเกล็ดได้จากรูปด้านสำหรับดูประกอบกัน  


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

แม้จะปิดบานประตูหน้าต่างอย่างดีแล้ว แต่อนุภาคเล็กๆ ที่มองไม่เห็นอย่าง PM2.5 ที่หนาแน่นจากนอกบ้านยังสามารถหลุดลอดเข้ามาภายในบ้านได้ผ่านช่องว่างที่เราอาจคาดไม่ถึง จากโจทย์เหล่านี้จึงนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็ม (TOSTEM) ที่จะต้องป้องกันมลภาวะจากนอกบ้าน ให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้อย่างอุ่นใจ สองส่วนประกอบที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันสมาชิกในบ้านจากฝุ่นตัวร้ายนั่นก็คือ กรอบบานประตูหน้าต่างที่ปิดสนิทอย่างมิดชิดแน่นหนา รวมทั้งประสิทธิภาพของวัสดุและการประกอบขึ้นเป็นกรอบบาน ทั้งสองส่วนที่จะช่วยผนึกกำลัง ป้องกันมลพิษตัวร้ายที่จะมาทำลายสุขภาพของสมาชิกครอบครัว

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ความจริงของ PM2.5  ( Fact about PM2.5 ) 

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า อนุภาคฝุ่นของ PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าฝุ่นปกติทั่วไปอย่างที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ความน่ากลัวจนทำให้เราชะล่าใจอยู่ที่ขนาดเล็กมากจนสามารถผ่านเข้าสู่ถุงลมปอด ซึมเข้าหลอดเลือด และใช้เวลาสะสมในร่างกายถึง 10-20 ปีจึงค่อยแสดงอาการ หลายคนจึงคิดว่า แค่ปิดหน้าต่าง ฝุ่นเหล่านี้ก็ไม่เข้ามาแล้ว แต่แท้จริงแล้ว ที่มาของฝุ่นครึ่งหนึ่งมาจากนอกบ้านก็จริง แต่อีกครึ่งหนึ่งก็มาจากของใช้ภายในบ้าน ทั้งเกาะกับเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ไรฝุ่นที่นอน เพราะฉะนั้นฝุ่นจึงอยู่ทุกที่ การปิดหน้าต่างจึงช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตห่างไกลฝุ่น  ( Get Rid of Dust ) 

ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ที่ต้องปัดกวาดทุกวัน หรือฝุ่นขนาดเล็กที่มองไม่เห็น ก็เป็นกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นต้องทำเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะช่วง PM2.5 เช่นนี้ ทางเลือกแรกสุดของทุกคนคือการใช้เครื่องฟอกอากาศ ร่วมกับการรักษาความสะอาดภายในบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับวัสดุกักฝุ่นจำพวกผ้าม่าน พรม เครื่องนอน และปลูกต้นไม้ช่วยฟอกอากาศ เป็นการเติมอากาศดีในบ้านแบบง่ายๆ  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

หน้าต่างกับ PM2.5  ( Windows & PM2.5 ) 

ทางเลือกที่ดีของการใช้ชีวิตในยุค PM2.5 ครองเมืองเช่นนี้ คือการใช้ชีวิตประจำวันในห้องที่มีหน้าต่างน้อยๆ พร้อมกับการตรวจเช็คกรอบบานประตูหน้าต่างทุกบานว่าปิดสนิททั้งหมด อาจเสริมด้วยสักหลาดกับขอบหน้าต่างเพื่อปิดร่อง หรือหากพบรอยรั่วระหว่างผนังหรือรอยต่อควรยาแนวปิดทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้บ้านกันฝุ่นได้อย่างยั่งยืน จึงควรเลือกกรอบบานประตูหน้าต่างที่มีปิดสนิทหนาแน่น และมีคุณภาพมาตรฐานป้องกันอากาศรั่วไหล หากอากาศนอกบ้านกลับมาดีเช่นเคยแล้ว ควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายในบ้าน เพื่อป้องกันการอับชื้น และเพิ่มการไหลเวียนอากาศที่ดีขึ้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

เสริมยางขอบประตู  ( Smart Rubber Designs ) 

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์รุ่นบานเฟี้ยมที่มีหน้าบานหน้าต่างแบบพับหลายบานของรุ่น WE70 ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทำให้มีการออกแบบการเสริมยางป้องกันอุบัติเหตุจากการถูกประตูหนีบ และข้อดีของกรอบบานที่เสริมขอบยางอีกประการคือ ทำให้หน้าต่างปิดสนิทแนบแน่นครบทุกบาน เช่นเดียวกับประตูบ้านรุ่น GIESTA ที่กรอบวงกบเป็นอะลูมิเนียมโปรไฟล์ยาง ที่ทำให้การปิดประตูเป็นไปอย่างนุ่มนวลและแน่นหนา พร้อมกับป้องกันอุบัติเหตุไปในตัว  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ระบบล็อกแน่นหนา  ( High Security Lock ) 

ความสำคัญของระบบล็อก นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยจากผู้บุกรุกแล้ว ยังเป็นเรื่องของความแน่นหนาของการปิดหน้าบาน เพื่อให้หน้าบานและกรอบบานปิดกันได้อย่างสนิทแน่นหนา ระบบล็อกสำหรับกรอบบานมีทั้งระบบล็อกแบบก้านโยกป้องกันการล็อกไม่สนิทในกรอบบานรุ่น WE Plus, WE70 ระบบ Sub-Lock ในกรอบบานรุ่น P7 เพิ่มความแน่นหนาในการปิดหน้าบาน  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

การป้องกันอากาศรั่วไหล  ( Air Tightness Performance ) 

รอยรั่วของกรอบบานประตูหน้าต่างส่วนใหญ่มาจากช่องว่างเล็กๆ ระหว่างวงกบกับหน้าบานประตูหน้าต่าง ผลิตภัณฑ์ของทอสเท็ม (TOSTEM) ทุกชิ้นทุกรุ่นให้ความสำคัญกับค่ามาตรฐานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการป้องกันอากาศรั่วไหล เพราะการที่กรอบบานปิดสนิท นอกจากจะช่วยป้องกันมลภาวะจากนอกบ้านแล้ว ยังช่วยเรื่องการควบคุมคุณภาพอากาศภายในห้องให้อยู่ในระดับที่ต้องการ จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กรอบบานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตของการอยู่อาศัยให้เกิดผลสูงสุด  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน  ( Air Quality ) 

การควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน นอกเหนือจากมลภาวะนอกบ้านอย่าง ฝุ่น ควัน โดยเฉพาะอนุภาค PM2.5 ที่เล็กกว่าตาเปล่ามองเห็น การที่บานประตูหน้าต่างปิดสนิทยังส่งผลต่อการป้องกันเสียง กลิ่น และความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป้องกันการรั่วไหลของความเย็นจากเครื่องปรับอากาศขณะเปิดใช้งานอยู่ ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนักเกินไป จึงช่วยประหยัดค่าไฟและประหยัดพลังงาน ช่วยโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย  


วิธีอ่าน Shop Drawings

อ่านแบบ Shop Drawings ให้เป็น

หากคุณเคยลองพลิกชมแคตตาล็อกของทอสเท็มแล้วละก็ พอไปถึงหน้าหลังๆ ก็มีรายละเอียดลายเส้นอะไรมากมายเต็มไปหมด แต่ทั้งหมดนี้แหละ คือรายละเอียดของงานออกแบบกรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็ม ที่เกิดจากพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้กรอบบานที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานทุกบ้านและทุกคน วันนี้ เราจึงอยากชวนคุณลงมาดูดีเทลจุดเล็กน้อยเหล่านี้ไปพร้อมกัน นอกจากจะเป็นความรู้สำหรับการหัดอ่าน Shop Drawings อื่นๆ แล้ว ยังช่วยให้คุณสามารถสเป็ครายละเอียดสำหรับงานออกแบบก่อสร้างในครั้งต่อไปได้ด้วย

Shop Drawings : พื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน  Shop Drawings คือรายละเอียดของชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรือโครงสร้างของงานก่อสร้างที่ถูกถอดแบบจากของจริง และเขียนขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างวิศวกร สถาปนิก และช่างผู้ดำเนินการ เพื่อให้สามารถอธิบายรายละเอียดส่วนเล็กส่วนน้อย ไปจนถึงวิธีการประกอบติดตั้งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

Section : Vertical & Horizontal จินตนาการว่าคุณนำกรอบบานสักกรอบหนึ่งมาตัดในแนวตรง เราจะมองเห็นส่วนประกอบภายในทั้งหมด การตัดแบบนี้เรียกว่า Section โดยแบ่งตามระนาบการตัดได้ในแบบ Vertical – แนวดิ่ง และ Horizontal – แนวขวาง ภาพทั้งหมดที่เห็นด้วยสายตาจะถูกเขียนลงใน Shop Drawings ไปพร้อมกับแนวของของกำแพงซึ่งเป็นพื้นที่ที่กรอบบานถูกติดตั้ง (สังเกตจากพื้นที่บน-ล่างของกรอบที่เป็นรูปจุดและขีดตามแนวทแยงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอิฐ)

วิธีอ่าน Shop Drawings

ระยะของการติดตั้ง นอกจากเราจะรับทราบถึงองค์ประกอบภายในทั้งหมดของกรอบบานหน้าต่างแล้ว การที่แจกแจงรายละเอียดทั้งหมดเช่นนี้ จะช่วยให้ช่างทราบว่ากรอบบานมีขนาดเท่าไร ระยะของการยึดติดกรอบบานกับผนัง ระยะของรอยต่อต่างๆ ระหว่างการปิด-เปิดใช้งาน จนถึงระยะของการขันสกรู สร้างมาตรฐานของกรอบบาน และสร้างการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิธีอ่าน Shop Drawings

ลงลึก จุดเชื่อมต่อ นอกจากนั้น ยังมีส่วนต่างๆ ของกรอบบานที่ถูกตัดเพื่อบอกเล่าเรื่องราวได้อีก เช่น ส่วนเชื่อมต่อระหว่างกรอบบานที่ต่อเนื่องกัน ส่วนเข้ามุม หรือส่วนที่ต้องประกอบสองส่วนเข้าด้วยกัน ภาพ Shop Drawings จะช่วยให้ช่างเห็นได้ชัดเจนว่า ระหว่างชิ้นส่วนสองชิ้น จะต้องติดตั้งส่วนใดในตำแหน่งใด ด้วยระยะเท่าใด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและถูกใช้งานอย่างเป็นสากล

วิธีอ่าน Shop Drawings

กรอบบานซ้อนชั้น  ภาพตัดขวางลงรายละเอียดของ Shop Drawings ยังเป็นประโยชน์ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งกรอบบานซ้อนชั้น เช่น หน้าต่างบานกระทุ้งกับมุ้งลวด เพราะช่างจะได้เห็นภาพของการติดตั้งจาก Shop Drawings ว่า จะต้องติดบานมุ้งลวดชิดกับขอบด้านในของผนัง และส่วนด้านนอกที่เป็นบานกระทุ้งจะต้องติดตั้งห่างจากกันด้วยระยะเท่าใด ความละเอียดในระดับมิลลิเมตรเช่นนี้ ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน หมดห่วงกับปัญหาเล็กน้อยที่เกิดจากการใช้งาน


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!