Tag: สถาปัตยกรรม

รู้จักกฎหมาย ‘ระยะร่นอาคารและส่วนที่เว้นว่าง’ ที่ช่วยให้สร้างบ้านห่างจากเขตที่ดินอย่างเหมาะสม

ก่อนที่สถาปนิกจะลงมือวาดเขียนแบบ นอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับโจทย์จากเจ้าของบ้านแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือการสำรวจพื้นที่ไซต์ก่อสร้างจริง เพื่อหาระดับความสูงของพื้นดิน สังเกตบริบทรอบข้าง และวัดระยะจากเขตที่ดิน เพื่อนำไปคำนวณพื้นที่ใช้สอย และเขียนแปลนบ้านได้อย่างแม่นยำ สำหรับใครที่อยากทราบว่า ควรสร้างบ้านห่างจากเขตที่ดินเท่าไรถึงจะเหมาะสม ไม่มีปัญหากับเพื่อนข้างบ้าน วันนี้เราจะชวนมารู้จักกับกฎหมาย ‘ระยะร่นอาคารและส่วนที่เว้นว่าง’ ที่จะเป็นตัวกำหนดระยะห่างในการก่อสร้างกัน

กฎหมายระยะร่นอาคารและส่วนที่เว้นว่าง สำหรับอาคาร Low Rise และ High Rise

ระยะร่นอาคารและส่วนที่เว้นว่าง เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกระยะห่างระหว่างตัวอาคารกับพื้นที่รอบๆ โดย ‘ระยะร่นอาคาร’ คือ ระยะห่างที่วัดจากถนนสาธารณะจนถึงแนวอาคาร และ ‘ส่วนที่เว้นว่าง’ คือ ระยะห่างที่วัดจากแนวเขตที่ดินจนถึงแนวตัวอาคาร ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ซึ่งระยะร่นอาคารและส่วนที่เว้นว่าง จะถูกกำหนดให้มีระยะห่างแตกต่างกันไป ตามความสูงของอาคารในกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2543 โดยมีการจำแนกดังนี้

  • อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร (ประมาณ 1-2 ชั้น) และมีช่องเปิดอาคาร อย่างประตู, หน้าต่าง, ช่องแสง, ช่องระบายอากาศ หรือระเบียง จะต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 2 เมตร
  • อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร (ประมาณ 3-8 ชั้น) และมีช่องเปิดอาคาร จะต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตร
  • อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะต้องเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 6 เมตร
  • อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร และด้านไหนที่ไม่มีช่องเปิดอาคาร ด้านนั้นสามารถสร้างห่างเขตที่ดินได้น้อยกว่า 1 เมตร แต่หากต้องการเว้นระยะห่างจากเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตร จะต้องได้รับหนังสือความยินยอมจากเจ้าของที่ดินที่ติดกันด้วย

สำหรับการเว้นระยะร่นจากถนนสาธารณะนั้น จะพิจารณาจากความกว้างของถนน แทนความสูงของอาคาร โดยถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 3 เมตร, ถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนอย่างน้อย 6 เมตร, ถนนสาธารณะที่มีความกว้าง 10-20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนน และถนนสาธารณะที่มีความกว้างมากกว่า 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร

หากที่ดินของเราติดกับแหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ, คู, คลอง, ลำน้ำ และแหล่งน้ำนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากแหล่งน้ำอย่างต่ำ 3 เมตร แต่หากแหล่งน้ำนั้นมีความกว้างมากกว่า 10 เมตรขึ้นไป จะต้องร่นแนวอาคารห่างจากแหล่งน้ำอย่างต่ำ 6 เมตร 

หากต้องการสร้างอาคารใกล้ชิดกับเขตที่ดิน มีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ?

หากใครที่ต้องการสร้างอาคารใกล้ชิดกับเขตที่ดิน น้อยกว่าระยะห่างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ก็สามารถทำได้ 2 วิธี โดยวิธีแรกคือ การทำเป็นผนังทึบทั้งหมด ไม่มีช่องเปิด ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ได้รับแสงจากช่องเปิดด้านอื่นเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีช่องแสงในด้านนั้น หรือเป็นด้านที่ต้องการโชว์ความสวยงามของลวดลายผนัง หรือมีงานศิลปะติดตั้งบนผนัง 

วิธีที่สองคือ ใช้บล็อกแก้วสำหรับเป็นช่องแสง ตามที่กฎกระทรวงฉบับที่ 68 พ.ศ. 2563 ได้กำหนดไว้ให้รวมเป็น ‘ผนังทึบ’ โดยจะต้องมีลักษณะความหนาของบล็อกแก้ว ไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร ก่อสูงจากระดับพื้นของห้อง 1.8 เมตรขึ้นไป และบล็อกแก้วจะต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผนังในด้านนั้นๆ 

เลือกหน้าต่างอย่างไร ให้ตอบโจทย์กับกฎหมายและการใช้งาน ?

แม้ว่าจะมีระยะห่างจากเขตที่ดินเพียงพอในการติดตั้งประตู-หน้าต่างถูกตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบานเปิดทุกชนิดจะเหมาะสมกับการใช้งานเสมอไป ในกรณีที่มีทางเดินข้างบ้านใกล้ชิดติดกับผนังอาคารชั้นล่าง หน้าต่างบานเปิดหรือบานกระทุ้งอาจจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไร เพราะเมื่อเปิดบานออกไปแล้ว อาจชนกับผู้ที่อยู่นอกบ้านจนได้รับบาดเจ็บ ดังนั้นหน้าต่างบานเลื่อนและบานฟิกซ์จึงมีความเหมาะสมมากกว่า

ซึ่งหลายคนมักเลือกหน้าต่างบานเลื่อนมากกว่าบานฟิกซ์ เนื่องจากบานฟิกซ์ไม่สามารถเปิดรับลมธรรมชาติข้างนอกได้ เหมือนบานหน้าต่างชนิดอื่นๆ จึงทำให้หลายคนมองข้ามไป แต่ความจริงแล้วบานฟิกซ์ เป็นหน้าต่างที่ตอบโจทย์กับข้อจำกัดของดีไซน์ ฟังก์ชัน และบริบทรอบอาคารได้ดี เพราะสามารถเป็นได้ทั้งช่องแสงสำหรับผนังที่อยู่สูง ไม่สามารถเอื้อมไปเปิด-ปิดได้, สามารถนำมาออกแบบประกอบกับหน้าต่างชนิดอื่นๆ หรือเป็นเสมือนผนังโปร่งใส ที่สามารถสั่งทำเป็นผืนขนาดใหญ่ เปิดรับทัศนียภาพแบบพาโรนามา โดยไม่มีเส้นกรอบของหน้าต่างบดบัง ในขณะที่สามารถป้องกันการเข้าถึงจากข้างนอกได้ในเวลาเดียวกัน

มากไปกว่านั้นด้วยคุณสมบัติของบานหน้าต่างอะลูมิเนียม TOSTEM ที่ทนทานต่อสภาพอากาศทุกรูปแบบ สามารถป้องกันรังสียูวีและความร้อน, ต้านทานแรงลมได้สูงถึง 2000 Pascal, มีระบบป้องกันน้ำฝนในโปรไฟล์กรอบล่าง หมดกังวลเรื่องน้ำฝนรั่วซึม, สามารถลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ถึง 25 เดซิเบล และมาพร้อมกับหลากหลายโทนสีอะลูมิเนียม ที่เข้าได้กับงานออกแบบอาคารทุกสไตล์ ยิ่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยสามารถดื่มด่ำกับบรรยากาศรอบๆ บ้าน ผ่านกระจกบานฟิกซ์ได้อย่างปลอดภัยและรู้สึกถึงความเป็นส่วนตัวสูงสุด 

กฎหมายกำหนดระยะร่นอาคารและส่วนที่เว้นว่างไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารและผู้ใช้ถนนสาธารณะ รวมถึงเพื่อความสวยงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน ระยะร่นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของอาคารและบริบทของพื้นที่

หากสนใจสินค้าประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมจาก TOSTEM ที่มีหลากหลายดีไซน์ ตอบโจทย์กับทุกข้อจำกัดของพื้นที่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลย

สูตร 60-30-10 คุมโทนห้องให้ลงตัว ไม่กลัวตกเทรนด์

เคยสงสัยไหมว่าบ้านที่มีสีสันสวยงามลงตัว จะมีเคล็ดลับการออกแบบอย่างไรบ้าง ?

ในความจริงแล้วทุกสีสันล้วนมีเสน่ห์ในตัวเอง โดยแต่ละสีสามารถส่งผลต่อความรู้สึกแตกต่างกันออกไป ตามหลักจิตวิทยาของสี (Color Psychology) เช่น สีแดง เป็นสีที่สามารถดึงดูดความสนใจมากที่สุด บ่งบอกถึงความมีอำนาจ ความน่าตื่นเต้นเร้าใจ, สีเหลือง บ่งบอกถึงความสนุกสนาน ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์, สีน้ำเงิน แสดงถึงความสุขุม น่าเชื่อถือ ซึ่งการจะเลือกสีเหล่านี้มาตกแต่งบ้านให้เหมาะสม นอกจากจะคำนึงเรื่องอารมณ์ของสีแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับ ‘สัดส่วนของสี’ ที่เป็นคีย์สำคัญในการจัดสีบ้านให้ดูสวยงามราวกับมืออาชีพ   

จะเฉดสีไหน สูตร 60-30-10 ก็เอาอยู่ !

เมื่อไหร่ที่ต้องการเลือกสี ให้นึกถึงทฤษฎี 60-30-10 เสมอ ! เพราะทฏษฎีนี้จะช่วยในการควบคุมสัดส่วนสีให้สมดุล ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกเฉดสี ไม่ว่าคุณจะชอบโทนสีเรียบง่าย ดูโปร่งโล่งสบายตา หรือโทนสีจัดจ้าน โดดเด่นไม่เหมือนใคร ก็สามารถมิกซ์แอนด์แมทช์สีให้ออกมาลงตัวได้อย่างมีมิติ โดยขั้นตอนแรกเริ่มจากเลือกสีที่ชื่นชอบอย่างน้อย 3 สี ที่มีโทนสีใกล้เคียงกันหรือตรงข้ามกันก็ได้ นำมาแบ่งอัตราส่วน ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • สีหลัก 60% เป็นกลุ่มสีที่ครอบคลุมพื้นที่ภายในห้องมากที่สุด มักใช้กับพื้น, ผนัง, ฝ้าเพดาน หรือวัตถุที่มีขนาดใหญ่ จึงเหมาะกับการตกแต่งด้วยสีโทนอ่อนหรือสีขาว เพื่อทำให้แสงกระจายภายในห้องอย่างทั่วถึง ทำให้รู้สึกโปร่งโล่ง สบาย
  • สีรอง 30% เป็นกลุ่มสีที่ช่วยสร้างมิติให้กับดีไซน์ ทำให้บ้านดูไม่เรียบแบนเกินไป มักใช้กับบานกรอบประตู-หน้าต่าง, ผ้าม่าน, พรม, เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ โดยสามารถใช้สีโทนเดียวกับสีหลัก แต่มีความเข้มมากกว่า หรือจะใช้สีโทนคู่ตรงข้ามก็ได้เช่นกัน
  • สีไฮไลต์ 10% เป็นกลุ่มสีที่ใช้สำหรับสร้างความโดดเด่นให้กับวัตถุหรือพื้นที่ ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่มักใช้กับของตกแต่งบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีดีไซน์สะดุดตา เช่น งานศิลปะ, แจกัน, หมอน, โคมไฟ เป็นต้น เพื่อทำให้ภาพรวมของห้องมีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น หลายคนจึงนิยมใช้สีคู่ตรงข้าม หรือสีที่มีโทนเข้มสูง เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างบรรยากาศโดยรวมอย่างชัดเจน

ในกรณีที่ต้องการเลือกใช้มากกว่า 3 สี ควรจัดสีที่มีโทนใกล้เคียงกันไว้ในหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามหลักทฤษฎี 60-30-10  เช่น หากต้องการตกแต่งด้วยสีน้ำตาล-สีดำ-สีเทาอ่อน-สีขาว ก็สามารถจัดสีขาวและเทาอ่อนเป็นสีหลัก ใช้สีดำเป็นสีรอง และสีน้ำตาลเป็นสีไฮไลต์ หรือจะสลับสีให้สีน้ำตาลเป็นสีรอง และสีดำเป็นสีไฮไลต์ก็ได้เช่นกัน

สร้างบรรยากาศให้ละมุนด้วยสีโมโนโทน

สำหรับใครที่ชื่นชอบความเรียบง่าย แต่ไม่อยากให้ดีไซน์ดูเรียบแบน เราขอแนะนำให้เลือกใช้สีโมโนโทน (Monotone color) ซึ่งเป็นสีที่มีโทนใกล้เคียงกัน หรือเป็นสีโทนเดียวที่มีความเข้มหลายระดับ ในการตกแต่งห้องให้มีบรรยากาศผ่อนคลาย สว่าง สดใส และดูกว้างขวางยิ่งขึ้น เหมาะกับการใช้ในทุกส่วนของบ้าน โดยเฉพาะห้องที่มีพื้นที่แคบ อย่างการใช้สีขาวและสีครีมอ่อนเป็นสีหลัก ในการตกแต่งพื้น ผนังและฝ้าเพดาน เพื่อทำให้ห้องดูโปร่งโล่ง ใช้สีเบจและสีเทาสำหรับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ เพื่อเสริมมิติให้กับความสวยงาม ปิดท้ายด้วยการใช้สีดำสำหรับประตู-หน้าต่าง เพื่อขับเน้นดีไซน์ของบานกรอบให้เป็นจุดเด่นของบ้าน ทั้งยังช่วยดึงความน่าสนใจของวิวทิวทัศน์รอบบ้าน ให้ชวนสะดุดตามากขึ้นในเวลาเดียวกัน

เพิ่มลูกเล่นให้บ้านดูมีชีวิตชีวาด้วยสีคู่ตรงข้าม

หลายคนอาจคิดว่าการตกแต่งบ้านด้วยสีที่จัดจ้านหรือสีโทนคู่ตรงข้ามนั้นเป็นเรื่องยาก แต่หากใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสมก็สามารถทำให้บ้านสวยงามได้เช่นกัน ส่วนใหญ่แล้วสีที่โดดเด่นหรือมีความเข้มมากที่สุดมักถูกใช้เป็นสีไฮไลต์ สำหรับสีคู่ตรงข้ามของสีไฮไลต์จะถูกใช้เป็นสีรอง และจะใช้สีที่อ่อนที่สุดเป็นสีหลัก สาเหตุที่เราควรใช้สีคู่ตรงข้ามในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากป้องกันการเกิดความรู้สึกขัดแย้งของสี ที่จะนำมาสู่บรรยากาศน่าอึดอัดและรู้สึกไม่สบายตา โดยสีที่นำมาจับคู่กัน ไม่จำเป็นต้องใช้สีคู่ตรงข้ามเสมอไป อาจจะเลือกจากสีที่ชื่นชอบจากโทนร้อน-โทนเย็น ให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนก็เพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น การจับคู่สีน้ำเงินกับวัสดุโทนสีเหลือง อย่างไม้เมเปิ้ลหรือโอ๊ค แทนการใช้สีส้มซึ่งเป็นสีคู่ตรงข้ามของสีน้ำเงิน

Anodized Color สีอะลูมิเนียมที่อยู่คู่บ้านอย่างยาวนาน

นอกจากการเลือกโทนสีและจัดสัดส่วนอย่างเหมาะสมแล้ว การเลือกวัสดุพรีเมียมที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่หลุดร่อนหรือผุกร่อนง่าย ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงควบคู่อยู่เสมอ อย่างผลิตภัณฑ์ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมของ TOSTEM ที่ผ่านกระบวนการทำสีอะโนไดซ์ (Anodized) ซึ่งเป็นการนำอะลูมิเนียมไปชุบสีด้วยประจุไฟฟ้า จนเกิดเป็นชั้นฟิล์มอะลูมิเนียมออกไซด์ พร้อมเคลือบอีกชั้นด้วย TEXGUARD ทำให้พื้นผิวมีความแข็งแรง ทนทานต่อการขูดขีด และมีสีติดทนนานกว่าการทำสีทั่วไป สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างอยู่หมัด

ปัจจุบันประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมของ TOSTEM มีสีให้เลือกทั้งหมด 6 สี ได้แก่ NATURAL WHITE, NATURAL SILVER, SHINE GRAY, AUTUMN BROWN, DUSK GRAY และ NATURAL BLACK ซึ่งสามารถเข้ากันกับดีไซน์บ้านและอาคารได้ทุกสไตล์ ทุกเฉดสี มาพร้อมกับผิวสัมผัสอะลูมิเนียมที่เนียนเรียบ ไร้ตำหนิ ส่งผลให้ทำความสะอาดได้ง่าย ช่วยลดการสะสมของคราบฝุ่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมจาก TOSTEM ที่ตอบโจทย์ทั้งดีไซน์และฟังก์ชันการอยู่อาศัยได้อย่างสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว

หากสนใจสินค้าประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมจาก TOSTEM ที่เหมาะสมกับ การใช้งานของเด็ก และอยู่คู่กับการเติบโตของครอบครัวได้อย่างยาวนาน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลย

ทอสเท็ม ยกทัพความรู้สู่อีสาน เสริมทักษะ วัสดุศาสตร์ ออกแบบ กรอบหน้าต่างอะลูมิเนียม

ทอสเท็ม เดินหน้าต่อเนื่องกับโครงการ TOSTEM Knowledge Sharing ส่งเสริมทักษะ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์และการออกแบบกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป ให้นักศึกษามหาวิทยาชั้นนำของไทย ล่าสุดตะลุยถิ่นอีสาน จัดกิจกรรมบรรยายพิเศษให้กับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

TOSTEM Knowledge Sharing
นายวิชา วรสายัณห์ ลีดเดอร์ กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่งเทคโนโลยี บริษัท แอล เอช ที เอเซีย เซลส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

นายวิชา วรสายัณห์ ลีดเดอร์ กลุ่มธุรกิจเฮาส์ซิ่งเทคโนโลยี บริษัท แอล เอช ที เอเซีย เซลส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้ผลิตประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมแบรนด์ ทอสเท็ม (TOSTEM) เปิดเผยว่า สำหรับโครงการ TOSTEM Knowledge Sharing ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยในครั้งนี้ทาง TOSTEM ได้มาเยือนถิ่นอีสาน จัดกิจกรรมให้กับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยจัดให้มีการบรรยายพิเศษในวิชาวัสดุและการก่อสร้างประยุกต์ (Applied Construction Materials)  พร้อมจัดกิจกรรม Work Shop ในกิจกรรม TOSTEM Knowledge Sharing at KKU ในหัวข้อเรื่อง “ระบบวัสดุประเภทประตูหน้าต่าง และการออกแบบวัสดุประเภทอะลูมิเนียม” พร้อมเนื้อหาที่ทาง TOSTEM เตรียมมาให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบไปด้วย

  1. ประวัติ และความเป็นมาของระบบประตู หน้าต่างอะลูมิเนียม
  2. ชนิดของประตู หน้าต่างอะลูมิเนียม
  3. ประสิทธิภาพขั้นพื้นฐานของประตู หน้าต่างอะลูมิเนียม
  4. การทำสีเคลือบผิวอะลูมิเนียม
  5. ดีไซน์ และการออกแบบรายละเอียด curtainwall ของ TOSTEM
  6. ระบบพรีเอ็นจิเนียร์ของทอสเท็ม (TOSTEM Pre Engineered)
  7. วัสดุอะลูมิเนียม นวัตกรรมและเทคโนโลยีของ TOSTEM

และกิจกรรม Product Assembling Workshop ให้นักศึกษาได้ทดลองประกอบชิ้นงานผลิตภัณฑ์จริง

โครงการ TOSTEM Knowledge Sharing ตั้งเป้าที่จะดำเนินการจัดกิจกรรมให้กับมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษาที่สนใจทั่วประเทศ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับการทำงานของนักออกแบบ และสถาปนิก รุ่นใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ ทักษะต่างๆ และเทคโนโลยี ของ TOSTEM ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียมสำเร็จรูป ให้กับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย  เพื่อนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต เป็นการยกระดับการทำงาน เพิ่มพูนองค์ความรู้ ทักษะ รวมถึงเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในท้องตลาด ทั้งในเรื่องของการออกแบบดีไซน์ และการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องพบเจอในชีวิตการทำงานจริงในสายอาชีพของ นักออกแบบ หรือสถาปนิก 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรสวัสดิ์ พิริยะศรัทธา รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สำหรับการจัดกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในโครงการ TOSTEM Knowledge Sharing #2 at KKU ในครั้งนี้ เป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ เนื่องจากได้เรียนรู้ เสริมทักษะ ความเข้าใจต่างๆ และเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ ในงานกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม ที่ทาง TOSTEM ได้นำมาถ่ายทอด ได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการทำงานจริง ได้เรียนรู้ทั้งเชิงวิชาการ และเชิงภาคปฏิบัติได้ทดสอบกับตัวผลิตภัณฑ์จริง และสามารถนำไปต่อยอดในการเรียน และไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานจริงได้ในอนาคต    

นางสาวปัญจภรณ์ คงสำโรง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมหลัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในโครงการ TOSTEM Knowledge Sharing #2 at KKU ในครั้งนี้ เป็นประโยชน์กับนักศึกษามากๆ สามารถนำความรู้ และทักษะ ที่ได้จากกิจกรรมในครั้งนี้มาปรับใช้ในวิชาเรียน สาขาสถาปัตยกรรมหลักที่ตน และเพื่อนๆ กำลังศึกษาอยู่ และรู้สึกประทับใจกับช่วงกิจกรรม Workshop ที่ได้ลงมือทำ ได้ลองประกอบสินค้าจริง และยังได้ได้เรียนรู้ในเรื่องงานกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม ทั้งในเรื่องของสเปคประตูหน้าต่าง โซลูชั่นการใช้งานของตัวอุปกรณ์ ดีไซน์ การออกแบบ และเรื่องของนวัตกรรมเทคโนโลยีของงานกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม ซึ่งอยากให้มีกิจกรรมดีๆ แบบนี้อีกเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มาทดลอง ได้เรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ต้องขอบคุณทางอาจารย์ และทางทีม TOSTEM ที่ได้มาจัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้ด้วยค่ะ  

TOSTEM Knowledge Sharing พร้อมเปิดโอกาสให้กับน้องๆ นักศึกษา และสถาปนิกรุ่นใหม่ที่สนใจ เรียนรู้ เสริมทักษะเรื่องกรอบประตู-หน้าต่างอะลูมิเนียม โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมนสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณธารารัตน์ เงินชารี ฝ่ายการตลาด TOSTEM เบอร์โทร 02-901-4455 ต่อ 4221, 098-991-4692


หากสนใจสินค้าประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมจาก TOSTEM ที่ช่วยปกป้องบ้านจากความร้อน ทนทานต่อทุกสภาพอากาศได้ดี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ด้านล่างเลย

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

Yellow House ซ่อนธรรมชาติไว้ภายในบ้าน ผ่านคอร์ทยาร์ด 4 ทิศ

การได้พักผ่อนท่ามกลาง ‘ธรรมชาติ’ เป็นเหมือนยาวิเศษที่ช่วยรักษาใจจากความเหนื่อยล้าสะสมทั้งวัน ในขณะเดียวกันก็ช่วยชาร์จทั้งพลังกายและใจให้มีแรงทำงานต่อในวันพรุ่งนี้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจหากใครหลายๆ คนฝันจะอยากมีบ้านที่เปิดโอกาสให้สัมผัสธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดดที่อบอุ่นหรือสายลมเย็นๆ เช่นเดียวกับเจ้าของ Yellow House ที่ไม่เพียงแค่เลือกสร้างบ้านท่ามกลางเหล่าต้นไม้น้อยใหญ่ แต่ยังนำธรรมชาติเหล่านั้นมาเก็บไว้ภายในบ้านอีกด้วย

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

บ้านหลังนี้มีจุดเริ่มต้นที่ทางเจ้าของต้องการสร้างบ้านอยู่ท่ามกลางสวนต้นไม้โดยไม่มีรั้วกั้น เสมือนได้อาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติจริงๆ สถาปนิก JOYS Architect ผู้ออกแบบ จึงได้นำโจทย์นี้มาต่อยอด ออกแบบให้ผนังบ้านกลายเป็นรั้วและล้อมธรรมชาติไว้ภายในนั้นแทน เพื่อเปิดรับแสงแดด สายลม และวิวธรรมชาติเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างทั่วถึง ภายใต้ความปลอดภัยของการอยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงในการสร้างบ้านเสมอ จึงนำมาสู่การสร้างคอร์ทยาร์ดภายในบ้านทั้งในทิศเหนือ ใต้ ตะวันออกและตะวันตก ครบทั้ง 4 ด้าน

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

การวางฟังก์ชันจากเอกลักษณ์ของคอร์ทยาร์ด

จากความตั้งใจของสถาปนิกที่ต้องการคงสภาพเดิมของพื้นที่ไว้ให้ได้มากที่สุด จึงทำให้แต่ละคอร์ทมีเอกลักษณ์ของบรรยากาศและการใช้สอยแตกต่างกันไป ซึ่งนำมาสู่คีย์หลักของการออกแบบภายในบ้าน ที่ใช้คอร์ทเหล่านี้เป็นตัวกำหนดฟังก์ชันทั้งหมดอีกด้วย โดยคอร์ทแรกได้ถูกวางไว้บริเวณด้านหน้า เพื่อทำหน้าที่คอยต้อนรับผู้มาเยือนก่อนจะเข้าสู่ตัวบ้าน รวมถึงเป็นส่วนที่ถูกเซ็ตออกมา เพื่อทำให้พื้นที่ฟังก์ชันภายในบ้านมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

เมื่อผ่านประตูเข้ามาเราจะพบกับห้องนั่งเล่นกลางบ้าน ที่ถูกออกแบบให้เปิดโล่ง สามารถเชื่อมต่อกับห้องรับประทานอาหารและครัวทางด้านขวา รวมถึงมีหน้าต่างบานใหญ่ที่ทั้งกว้างและสูง เพื่อเปิดรับแสงและลมจากคอร์ด้านหน้าและด้านซ้ายได้อย่างเต็มที่

จากห้องรับประทานอาหารและครัว เราจะสามารถมองเห็นคอร์ทที่สอง ทะลุไปยังห้องทำงาน อ่านหนังสือฝั่งตรงข้ามด้านใน และบันไดที่เชื่อมต่อไปยังดาดฟ้าด้านบน ซึ่งคอร์ทนี้ถูกออกแบบมาสำหรับโชว์บรรยากาศของธรรมชาติ แต่ไม่สามารถเข้าไปใช้สอยพื้นที่ได้ เนื่องจากบริบทเดิมของพื้นที่ที่มีระดับพื้นดินไม่สม่ำเสมอและมีขนาดไม่กว้างมากนัก ดังนั้นคอร์ทนี้จึงทำหน้าที่แยกโซนฟังก์ชันระหว่างด้านหน้าและด้านหลังออกจากกันแทน

เนื่องจากบริเวณคอร์ทที่สามไม่มีต้นไม้เดิม ทำให้สามารถออกแบบให้มีความพิเศษแตกต่างจากคอร์ทอื่นๆ ได้ สถาปนิกจึงเลือกที่จะออกแบบให้เป็นสระว่ายน้ำส่วนตัวสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ที่สามารถเดินเข้าถึงได้ทั้งจากห้องทำงาน อ่านหนังสือ และห้องอาบน้ำ รวมถึงยังสามารถมองวิวนี้ผ่านหน้าต่างของห้องนอนได้เช่นกัน

สำหรับคอร์ทสุดท้ายถูกวางเชื่อมระหว่างห้องน้ำและห้องนอนแขก ซึ่งใช้สำหรับเป็นเซอร์วิสคอร์ท ที่มีระดับพื้นดินเท่ากับตัวบ้าน ทำให้สามารถออกไปใช้งานทำกิจกรรมต่างๆ ได้

ความลงตัวระหว่างคอนกรีต หิน และอะลูมิเนียม

อีกหนึ่งจุดเด่นของบ้านคือ ‘ผนังคอนกรีต’ ที่อาจเรียกได้ว่ามีเฉพาะที่นี่ที่เดียวเลยก็ว่าได้ ด้วยเทคนิคการหล่อเทปูนแบบพิเศษ ที่ผ่านการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนได้ผลลัพธ์ผิวสัมผัสและลวดลายไม่เหมือนกันแต่ละแผ่น และเมื่อทุกแผ่นถูกนำมาประกอบกัน จึงเกิดแพทเทิร์นผนังแบบใหม่ที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน และสำหรับวัสดุของพื้นทั้งหมดนั้น สถาปนิกก็ได้เลือกใช้หินสีเข้มมาตัด เพื่อสร้างความแตกต่างกับผนังเล็กน้อย

เสริมผนังคอนกรีตให้โดดเด่นด้วยบานกรอบอะลูมิเนียม

‘บานกรอบอะลูมิเนียม’ เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยเสริมทำให้ผนังคอนกรีตดูโดดเด่นยิ่งขึ้น ด้วยสีและดีไซน์ของประตูหน้าต่างรุ่น ATIS สี Natural silver ที่ดูเรียบอย่างมีมิติ และประกอบกับผนังคอนกรีตอย่างกลมกลืนลงตัว ทำให้ลวดลายจากเทคนิคพิเศษของผนังถูกขับเน้นให้ดึงดูดสายตายิ่งขึ้น

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

ความโปร่ง โล่ง สบาย ที่มาพร้อมกับความปลอดภัย

แสงและลมธรรมชาติ เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยสำหรับบ้านหลังนี้ และการมีคอร์ทยาร์ดและประตูหน้าต่างที่ตอบโจทย์กับเรื่องสภาพอากาศ จึงมีส่วนอย่างมากในการสร้าง ‘ความอยู่สบาย’ ภายในบ้าน โดยเฉพาะบ้านที่ไม่มีชายคายื่นยาว คอยปกป้องจากแสงแดดและพายุฝน ยิ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นพิเศษ และด้วยคุณสมบัติของประตูหน้าต่าง TOSTEM ที่แข็งแรง ทนทานต่อแรงดันลม รวมถึงยังสามารถป้องกันน้ำรั่วซึม ด้วยวาล์วระบายน้ำที่มาพร้อมกับตัวบานกรอบ ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถดื่มด่ำกับภาพบรรยากาศธรรมชาติรอบตัวได้ในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะผ่านสภาพอากาศในวันที่ฟ้าแจ่มใส หรือวันที่อากาศไม่เป็นใจก็ตาม

Yellow House บ้านที่ใช้ประตู+หน้าต่าง+ทอสเท็ม+TOSTEM

Yellow House ถือเป็นบ้านอีกหนึ่งหลังที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ไม่เหมือนใคร แม้ภายนอกจะดูแข็งแกร่ง อยู่อย่างสันโดษ ท่ามกลางธรรมชาติอันเงียบสงบ แต่เมื่อเข้าไปภายในบ้านแล้ว กลับรู้สึกสบายและปลอดภัย อย่างที่ใครๆ หลายคนบอกว่า “บ้านจะเป็นพื้นที่เซฟโซนของเราเสมอ”

หากสนใจสินค้าประตูหน้าต่าง TOSTEM หลายหลายดีไซน์ที่เข้าได้กับบ้านทุกสไตล์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้า “ผลิตภัณฑ์” บนเว็บไซต์ได้เลย 

|

ขอขอบคุณ

Architect : JOYS Architect


หากสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!

C+I House บ้านที่ใช้สินค้า TOSTEM

House C+I การออกแบบบ้านกะทัดรัด ให้โปร่ง โล่ง สบาย

หากเป็นเมื่อก่อนเราอาจอยากได้บ้านที่ใหญ่โต กว้างขวาง อยู่กันได้หลายคน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ไลฟ์สไตล์ของคนก็เปลี่ยนแปลงตาม บ้านในฝันของคนรุ่นใหม่หลายคนจึงไม่ได้จำกัดอยู่เรื่องขนาดที่ต้องใหญ่เพียงเท่านั้น แต่ทว่าอยู่แล้วสบายทั้งกายและใจแม้จะมีพื้นที่เล็กๆ หรือขนาดกะทัดรัดก็ตาม เช่นเดียวกับ House C+I ที่ถูกออกแบบตามไลฟ์สไตล์เจ้าของบ้าน และความต้องการสำหรับครอบครัวขนาดเล็กอย่างพอดิบพอดี

C+I House บ้านที่ใช้สินค้า TOSTEM

‘มินิมอล เรียบง่าย กะทัดรัด และมีพื้นที่สีเขียว’ คือโจทย์แรกที่สถาปนิก blankstudio ได้รับ ด้วยไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านที่ค่อนข้างมีระเบียบ เรียบร้อย และเป็นคนที่ชอบธรรมชาติ ชอบต้นไม้ บวกกับข้อจำกัดของลักษณะผืนที่ดิน ที่มีหน้าแคบแต่ลึก ซึ่งกว้าง 10 เมตร ยาว 34 เมตร จึงเป็นที่มาของหน้าตาบ้านโมเดิร์น รูปทรงเหลี่ยม เน้นสีขาว ดูคลีนๆ หลังนี้

C+I House บ้านที่ใช้สินค้า TOSTEM

ธรรมชาติบนพื้นที่กะทัดรัด

พื้นที่หน้าบ้านซึ่งหันออกทางทิศตะวันตก ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ป้องกันความร้อนจากแสงแดดให้กับตัวบ้าน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองช่วง ได้แก่ ช่วงแรกที่ติดกับถนน ส่วนนี้สถาปนิกออกแบบให้เป็นโรงจอดรถที่เข้า-ออกได้สะดวก พร้อมคอร์ทยาร์ดเล็กๆ สำหรับปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างร่มเงาและสร้างเอกลักษณ์ให้กับบ้านจากมุมมองข้างนอก

C+I House บ้านที่ใช้สินค้า TOSTEM

ช่วงที่สองจะถูกกั้นด้วยประตูระแนง ที่สามารถเลือกเปิดเพื่อเชื่อมพื้นที่สวนให้ต่อเนื่องกัน หรือเลือกปิดเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวอีกชั้นก็ได้ ซึ่งพื้นที่นี้เป็นถูกออกแบบให้เป็นสวนพักผ่อนย่อนใจ ที่มีทั้งสนามหญ้า และกระบะต้นไม้แนวยาวขนานไปกับทางเดินเข้าบ้าน ให้สามารถมานั่งเล่น หรือทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับฟังเสียงน้ำไหลแสนผ่อนคลายจากผนังน้ำตกได้

การวางฟังก์ชันสำหรับบ้านหน้าแคบ

สถาปนิกออกแบบฟังก์ชันภายในบ้านในรูปแบบ Open Plan เพื่อทำให้บ้านขนาดกะทัดรัดดูกว้างขึ้น ทั้งพื้นที่นั่งเล่น รับประทานอาหาร และครัวที่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างโปร่งโล่ง มีการเลือกใช้สี ดีไซน์ของเฟอร์นิเจอร์และวัสดุประตูหน้าต่างที่เรียบง่าย เข้ากับสีผนังและภาพรวมของบ้าน รวมถึงมีคอร์ทเล็กๆ สำหรับโชว์พืชอวบน้ำ และคอร์ทหลังบ้านสำหรับปลูกไม้ยืนต้นที่มีเรือนยอดสูงชะลูดขึ้นไปถึงชั้น 2

C+I House บ้านที่ใช้สินค้า TOSTEM

สำหรับพื้นที่ชั้น 2 นั้นถูกแบ่งให้เป็นห้องนอน ห้องแต่งตัว และห้องน้ำ ที่มีความเป็นส่วนตัวสูง แต่ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถมองเห็นพื้นที่ชั้นล่าง และบรรยากาศธรรมชาติรอบๆ ผ่านบานประตูหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ซึ่งตอบโจทย์กับความต้องการของเจ้าของบ้าน ที่อยากพักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติ และมองเห็นต้นไม้ตลอดเวลาในทุกๆ วัน

C+I House บ้านที่ใช้สินค้า TOSTEM

การออกแบบช่องว่าง เพื่อสร้างบรรยากาศน่าสบาย

‘ช่องว่าง หรือ Void’ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้บ้านรูปทรงกล่อง ไม่ดูทึบตัน ดังนั้นเราจึงเห็นว่าทั้งภายในและภายนอกของบ้าน มีการเปิดช่องว่างทั้งประตูหน้าต่าง และ Skylight เพื่อเปิดรับแสงและลมธรรมชาติ ให้เข้ามาไหลเวียนผ่านทุกพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง

ซึ่งบ้านหลังนี้ก็ได้มีการเลือกใช้บานประตูหน้าต่างของ TOSTEM รุ่น WE40 และ WE70 หลากหลายบาน ได้แก่ บานฟิกซ์ เพื่อเปิดรับแสงแต่ไม่รับลม เหมาะกับพื้นที่โถง Double Volume Space, บานเลื่อนสไลด์ ที่ถูกใช้กับพื้นที่เกือบทั้งหมดของบ้าน และหน้าต่างบานเปิด สะดวกต่อการใช้งานในห้องน้ำ นอกจากนี้ยังมีประตูหน้าบ้านรุ่น GIESTA ที่มาพร้อมกับระบบตัวล็อคแน่นหนา และประตูรุ่น AIRFLOW DOOR ที่ถูกออกแบบพิเศษเพื่อการระบายอากาศโดยเฉพาะ ทำให้บ้านทั้งปลอดโปร่งและปลอดภัยในเวลาเดียวกัน

สีอะลูมิเนียมก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมตัวบ้านให้ดูคลีนขึ้น ซึ่งสีที่ใช้ในบ้านหลังนี้ คือ สี SHINE GRAY ที่มีเสน่ห์โดดเด่นในตัวเอง ในขณะเดียวกันก็สามารถเข้ากับผนังสีขาวได้อย่างลงตัว และด้วยคุณสมบัติของการชุบสีอะโนไดซ์ ทำให้สีเกาะตัวกับอะลูมิเนียมได้ยาวนาน ไม่ซีดจาง แม้จะผ่านสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในทุกๆ วัน

เราจะเห็นได้ว่าแม้ขนาดพื้นที่จะมีข้อจำกัด แต่การออกแบบพื้นที่ให้เชื่อมถึงกัน มีการเจาะช่องว่างให้เหมาะสม และเลือกใช้สีที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้สว่างขึ้น ก็สามารถสร้าง ‘ความน่าอยู่สบาย’ ให้เกิดขึ้นได้ภายในพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตร ไม่แพ้กับบ้านหลังใหญ่เลยทีเดียว

หากสนใจสินค้าประตูหน้าต่าง TOSTEM ที่สามารถเชื่อมต่อธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกๆ วัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ขอขอบคุณ

  • Owner: คุณพีโรรส เปลี่ยนเชาว์ และคุณพุดตาน มิตรานันท์ (ที่ดิน 85 ตารางวา | พื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตร)
  • Architect: blankstudio
  • Photograph: Panoramic Studio

หากสนใจต้องการบานประตูหรือหน้าต่างสามารถคลิกดูแบบที่ต้องการได้เลย


The Inspiring of Black & White บ้านดีไซน์ขาว-ดำ เรียบเท่ลงตัว

The Inspiring of Black & White บ้านดีไซน์ขาว-ดำ เรียบเท่ลงตัว

โทนสีขาว-ดำ เป็นอีกหนึ่งคู่สีที่นิยมในการแต่งบ้านอย่างมาก ด้วยความเรียบง่าย แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเท่มีสไตล์ ก็ทำให้คนยุคใหม่หันมาเทใจให้เทรนด์ “Black & White” กันมากขึ้น

สำหรับนักออกแบบที่กำลังมองหาตัวอย่างสำหรับการดีไซน์บ้านโทนขาวดำอยู่ วันนี้ทอสเท็ม (TOSTEM) ก็มีมุมต่างๆ ในบ้าน ที่ตกแต่งเฉดขาว-ดำมาฝากกัน ลองมาเก็บไอเดียดีๆ ด้านการออกแบบ พร้อมเลือกดีไซน์กรอบประตูหน้าต่างให้สวยงามลงตัวกันเลย

The Inspiring of Black & White บ้านดีไซน์ขาว-ดำ เรียบเท่ลงตัว

Smart Bedroom
คุมโทนเข้มแต่แฝงความนุ่มนวล

ห้องนอนเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่เจ้าของห้องอยากใช้เวลาในการพักผ่อนให้ได้มากที่สุด หลายๆ บ้านจึงเลือกตกแต่งเป็นโทนสีเข้มๆ อย่างสีดำเกือบ 100% เพราะสีโทนเข้มช่วยรักษาบรรยากาศของความสงบ ปราศจากความสว่าง แต่การใช้สี

สำหรับห้องนอนโทนเข้มแบบนี้ สามารถเลือกแมตช์กับประตูบานเลื่อน TOSTEM พร้อมกรอบประตูสี Natural Black ให้ Mood ไปด้วยกันกับภาพรวมทั้งหมดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

The Inspiring of Black & White บ้านดีไซน์ขาว-ดำ เรียบเท่ลงตัว

Modern Loft Bathroom
เพิ่มมิติด้วยเฉดสีสามน้ำหนัก

สำหรับห้องน้ำในบ้านที่มีการใช้งานกันหลายคน อาจเลือกใช้เฉดสีที่ดรอปลงมาจากสีดำ เป็นสีเทาคอนกรีตสไตล์ลอฟต์ แต่ยกระดับความหรูหราและเนี้ยบขึ้นด้วยการปูกระเบื้อง พร้อมเติมเฟอร์นิเจอร์ที่ให้ลุคโมเดิร์นสีขาว-ดำ ก็ช่วยทำให้บรรยากาศในห้องน้ำไม่มืดทึบเกินไป แถมยังมีเลเยอร์ของน้ำหนักสีตั้งแต่สีสว่าง สีกลาง ไปจนถึงสีเข้ม ให้รู้สึกมีมิติไม่น่าเบื่อ

และอย่าลืมเพิ่มความปลอดโปร่งให้ห้องน้ำ ด้วยหน้าต่างบานช่องแสงจาก TOSTEM ที่ช่วยรับแสงเข้ามาโดยไม่ต้องเปิดหน้าต่าง ทำให้ห้องน้ำสว่างขึ้น แมตช์กับกรอบสี Natural White ช่วยเติมเต็มลุคแบบ Modern Loft ได้ลงตัว

The Inspiring of Black & White บ้านดีไซน์ขาว-ดำ เรียบเท่ลงตัว

Natural Living Room
เปิดรับธรรมชาติให้พื้นที่หลักของบ้าน

มาถึงพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นจุดพบปะของครอบครัวอย่างห้องนั่งเล่น สำหรับห้องนี้หลายๆ บ้านมักใช้เป็นห้อง Multi-Function ทั้งนั่งเล่น พักผ่อน ทานอาหาร การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นส่วนใหญ่ พร้อมออกแบบให้เปิดรับแสงธรรมชาติและวิวภายนอกได้มาก จะช่วยเสริมสร้างพื้นที่ที่ใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยใช้เฟอร์นิเจอร์หลักชิ้นใหญ่เป็นสีดำเข้ม อย่างโซฟาและโต๊ะทานข้าว จะช่วยให้โทนของห้องยังดูเรียบเท่สไตล์ Black & White อยู่

ซึ่งสามารถเลือกใช้ประตูเลื่อนบานสูงจาก TOSTEM เพื่อเปิดมุมมองให้ห้องดูกว้างขึ้น โดยเลือกกรอบสีโทนกลางเช่น Autumn Brown ที่ให้ความเป็นธรรมชาติ เข้ากับโทนของห้องมากขึ้น


หากสนใจต้องการบานประตูหรือหน้าต่างสามารถคลิกดูแบบที่ต้องการได้เลย