fbpx

Tag: ประตู

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

แม้จะปิดบานประตูหน้าต่างอย่างดีแล้ว แต่อนุภาคเล็กๆ ที่มองไม่เห็นอย่าง PM2.5 ที่หนาแน่นจากนอกบ้านยังสามารถหลุดลอดเข้ามาภายในบ้านได้ผ่านช่องว่างที่เราอาจคาดไม่ถึง จากโจทย์เหล่านี้จึงนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์กรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็ม (TOSTEM) ที่จะต้องป้องกันมลภาวะจากนอกบ้าน ให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้อย่างอุ่นใจ สองส่วนประกอบที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันสมาชิกในบ้านจากฝุ่นตัวร้ายนั่นก็คือ กรอบบานประตูหน้าต่างที่ปิดสนิทอย่างมิดชิดแน่นหนา รวมทั้งประสิทธิภาพของวัสดุและการประกอบขึ้นเป็นกรอบบาน ทั้งสองส่วนที่จะช่วยผนึกกำลัง ป้องกันมลพิษตัวร้ายที่จะมาทำลายสุขภาพของสมาชิกครอบครัว

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ความจริงของ PM2.5  ( Fact about PM2.5 ) 

อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า อนุภาคฝุ่นของ PM2.5 มีขนาดเล็กกว่าฝุ่นปกติทั่วไปอย่างที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า แต่ความน่ากลัวจนทำให้เราชะล่าใจอยู่ที่ขนาดเล็กมากจนสามารถผ่านเข้าสู่ถุงลมปอด ซึมเข้าหลอดเลือด และใช้เวลาสะสมในร่างกายถึง 10-20 ปีจึงค่อยแสดงอาการ หลายคนจึงคิดว่า แค่ปิดหน้าต่าง ฝุ่นเหล่านี้ก็ไม่เข้ามาแล้ว แต่แท้จริงแล้ว ที่มาของฝุ่นครึ่งหนึ่งมาจากนอกบ้านก็จริง แต่อีกครึ่งหนึ่งก็มาจากของใช้ภายในบ้าน ทั้งเกาะกับเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ไรฝุ่นที่นอน เพราะฉะนั้นฝุ่นจึงอยู่ทุกที่ การปิดหน้าต่างจึงช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ใช้ชีวิตห่างไกลฝุ่น  ( Get Rid of Dust ) 

ฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ที่ต้องปัดกวาดทุกวัน หรือฝุ่นขนาดเล็กที่มองไม่เห็น ก็เป็นกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นต้องทำเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะช่วง PM2.5 เช่นนี้ ทางเลือกแรกสุดของทุกคนคือการใช้เครื่องฟอกอากาศ ร่วมกับการรักษาความสะอาดภายในบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับวัสดุกักฝุ่นจำพวกผ้าม่าน พรม เครื่องนอน และปลูกต้นไม้ช่วยฟอกอากาศ เป็นการเติมอากาศดีในบ้านแบบง่ายๆ  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

หน้าต่างกับ PM2.5  ( Windows & PM2.5 ) 

ทางเลือกที่ดีของการใช้ชีวิตในยุค PM2.5 ครองเมืองเช่นนี้ คือการใช้ชีวิตประจำวันในห้องที่มีหน้าต่างน้อยๆ พร้อมกับการตรวจเช็คกรอบบานประตูหน้าต่างทุกบานว่าปิดสนิททั้งหมด อาจเสริมด้วยสักหลาดกับขอบหน้าต่างเพื่อปิดร่อง หรือหากพบรอยรั่วระหว่างผนังหรือรอยต่อควรยาแนวปิดทั้งหมด ดังนั้น เพื่อให้บ้านกันฝุ่นได้อย่างยั่งยืน จึงควรเลือกกรอบบานประตูหน้าต่างที่มีปิดสนิทหนาแน่น และมีคุณภาพมาตรฐานป้องกันอากาศรั่วไหล หากอากาศนอกบ้านกลับมาดีเช่นเคยแล้ว ควรเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายในบ้าน เพื่อป้องกันการอับชื้น และเพิ่มการไหลเวียนอากาศที่ดีขึ้น  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

เสริมยางขอบประตู  ( Smart Rubber Designs ) 

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์รุ่นบานเฟี้ยมที่มีหน้าบานหน้าต่างแบบพับหลายบานของรุ่น WE70 ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทำให้มีการออกแบบการเสริมยางป้องกันอุบัติเหตุจากการถูกประตูหนีบ และข้อดีของกรอบบานที่เสริมขอบยางอีกประการคือ ทำให้หน้าต่างปิดสนิทแนบแน่นครบทุกบาน เช่นเดียวกับประตูบ้านรุ่น GIESTA ที่กรอบวงกบเป็นอะลูมิเนียมโปรไฟล์ยาง ที่ทำให้การปิดประตูเป็นไปอย่างนุ่มนวลและแน่นหนา พร้อมกับป้องกันอุบัติเหตุไปในตัว  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ระบบล็อกแน่นหนา  ( High Security Lock ) 

ความสำคัญของระบบล็อก นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยจากผู้บุกรุกแล้ว ยังเป็นเรื่องของความแน่นหนาของการปิดหน้าบาน เพื่อให้หน้าบานและกรอบบานปิดกันได้อย่างสนิทแน่นหนา ระบบล็อกสำหรับกรอบบานมีทั้งระบบล็อกแบบก้านโยกป้องกันการล็อกไม่สนิทในกรอบบานรุ่น WE Plus, WE70 ระบบ Sub-Lock ในกรอบบานรุ่น P7 เพิ่มความแน่นหนาในการปิดหน้าบาน  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

การป้องกันอากาศรั่วไหล  ( Air Tightness Performance ) 

รอยรั่วของกรอบบานประตูหน้าต่างส่วนใหญ่มาจากช่องว่างเล็กๆ ระหว่างวงกบกับหน้าบานประตูหน้าต่าง ผลิตภัณฑ์ของทอสเท็ม (TOSTEM) ทุกชิ้นทุกรุ่นให้ความสำคัญกับค่ามาตรฐานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการป้องกันอากาศรั่วไหล เพราะการที่กรอบบานปิดสนิท นอกจากจะช่วยป้องกันมลภาวะจากนอกบ้านแล้ว ยังช่วยเรื่องการควบคุมคุณภาพอากาศภายในห้องให้อยู่ในระดับที่ต้องการ จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า กรอบบานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตของการอยู่อาศัยให้เกิดผลสูงสุด  

ใช้ชีวิตอย่างไร ให้ห่างไกลจาก PM 2.5

ควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน  ( Air Quality ) 

การควบคุมคุณภาพอากาศภายในบ้าน นอกเหนือจากมลภาวะนอกบ้านอย่าง ฝุ่น ควัน โดยเฉพาะอนุภาค PM2.5 ที่เล็กกว่าตาเปล่ามองเห็น การที่บานประตูหน้าต่างปิดสนิทยังส่งผลต่อการป้องกันเสียง กลิ่น และความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป้องกันการรั่วไหลของความเย็นจากเครื่องปรับอากาศขณะเปิดใช้งานอยู่ ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนักเกินไป จึงช่วยประหยัดค่าไฟและประหยัดพลังงาน ช่วยโลกได้อีกทางหนึ่งด้วย  


วิธีอ่าน Shop Drawings

อ่านแบบ Shop Drawings ให้เป็น

หากคุณเคยลองพลิกชมแคตตาล็อกของทอสเท็มแล้วละก็ พอไปถึงหน้าหลังๆ ก็มีรายละเอียดลายเส้นอะไรมากมายเต็มไปหมด แต่ทั้งหมดนี้แหละ คือรายละเอียดของงานออกแบบกรอบบานประตูหน้าต่างของทอสเท็ม ที่เกิดจากพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้กรอบบานที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้งานทุกบ้านและทุกคน วันนี้ เราจึงอยากชวนคุณลงมาดูดีเทลจุดเล็กน้อยเหล่านี้ไปพร้อมกัน นอกจากจะเป็นความรู้สำหรับการหัดอ่าน Shop Drawings อื่นๆ แล้ว ยังช่วยให้คุณสามารถสเป็ครายละเอียดสำหรับงานออกแบบก่อสร้างในครั้งต่อไปได้ด้วย

Shop Drawings : พื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน  Shop Drawings คือรายละเอียดของชิ้นส่วน ส่วนประกอบ หรือโครงสร้างของงานก่อสร้างที่ถูกถอดแบบจากของจริง และเขียนขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างวิศวกร สถาปนิก และช่างผู้ดำเนินการ เพื่อให้สามารถอธิบายรายละเอียดส่วนเล็กส่วนน้อย ไปจนถึงวิธีการประกอบติดตั้งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

Section : Vertical & Horizontal จินตนาการว่าคุณนำกรอบบานสักกรอบหนึ่งมาตัดในแนวตรง เราจะมองเห็นส่วนประกอบภายในทั้งหมด การตัดแบบนี้เรียกว่า Section โดยแบ่งตามระนาบการตัดได้ในแบบ Vertical – แนวดิ่ง และ Horizontal – แนวขวาง ภาพทั้งหมดที่เห็นด้วยสายตาจะถูกเขียนลงใน Shop Drawings ไปพร้อมกับแนวของของกำแพงซึ่งเป็นพื้นที่ที่กรอบบานถูกติดตั้ง (สังเกตจากพื้นที่บน-ล่างของกรอบที่เป็นรูปจุดและขีดตามแนวทแยงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอิฐ)

วิธีอ่าน Shop Drawings

ระยะของการติดตั้ง นอกจากเราจะรับทราบถึงองค์ประกอบภายในทั้งหมดของกรอบบานหน้าต่างแล้ว การที่แจกแจงรายละเอียดทั้งหมดเช่นนี้ จะช่วยให้ช่างทราบว่ากรอบบานมีขนาดเท่าไร ระยะของการยึดติดกรอบบานกับผนัง ระยะของรอยต่อต่างๆ ระหว่างการปิด-เปิดใช้งาน จนถึงระยะของการขันสกรู สร้างมาตรฐานของกรอบบาน และสร้างการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิธีอ่าน Shop Drawings

ลงลึก จุดเชื่อมต่อ นอกจากนั้น ยังมีส่วนต่างๆ ของกรอบบานที่ถูกตัดเพื่อบอกเล่าเรื่องราวได้อีก เช่น ส่วนเชื่อมต่อระหว่างกรอบบานที่ต่อเนื่องกัน ส่วนเข้ามุม หรือส่วนที่ต้องประกอบสองส่วนเข้าด้วยกัน ภาพ Shop Drawings จะช่วยให้ช่างเห็นได้ชัดเจนว่า ระหว่างชิ้นส่วนสองชิ้น จะต้องติดตั้งส่วนใดในตำแหน่งใด ด้วยระยะเท่าใด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและถูกใช้งานอย่างเป็นสากล

วิธีอ่าน Shop Drawings

กรอบบานซ้อนชั้น  ภาพตัดขวางลงรายละเอียดของ Shop Drawings ยังเป็นประโยชน์ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งกรอบบานซ้อนชั้น เช่น หน้าต่างบานกระทุ้งกับมุ้งลวด เพราะช่างจะได้เห็นภาพของการติดตั้งจาก Shop Drawings ว่า จะต้องติดบานมุ้งลวดชิดกับขอบด้านในของผนัง และส่วนด้านนอกที่เป็นบานกระทุ้งจะต้องติดตั้งห่างจากกันด้วยระยะเท่าใด ความละเอียดในระดับมิลลิเมตรเช่นนี้ ก็ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน หมดห่วงกับปัญหาเล็กน้อยที่เกิดจากการใช้งาน


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!

ความแตกต่าง รั้วอะลูมิเนียม VS รั้วเหล็กกล่อง

ความแตกต่าง รั้วอะลูมิเนียม VS รั้วเหล็กกล่อง

ความแตกต่าง รั้วอะลูมิเนียม VS รั้วเหล็กกล่อง

การจะสร้างบ้านสักหลัง สิ่งที่ควรคำนึงถึงไม่ใช่แค่ดีไซน์ของตัวบ้านเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงด่านแรกของความปลอดภัยอย่าง “ประตูรั้ว” ด้วย ปัจจุบันรั้วบ้านนั้นสามารถรังสรรค์จากวัสดุได้หลากหลายชนิด แต่ถ้าพูดถึงวัสดุที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยรูปลักษณ์และฟังก์ชันที่เหมาะสม คงต้องยกให้รั้วอะลูมิเนียม และรั้วเหล็กกล่อง วันนี้ Tostem จึงขอพาคุณมาดูข้อเปรียบเทียบของรั้วทั้งสองชนิดนี้ จะได้เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานของคุณ

ความแตกต่าง รั้วอะลูมิเนียม VS รั้วเหล็กกล่อง

ความแข็งแรงทนทาน

ปัจจัยเรื่องความแข็งแรงทนทานมักเป็นปัจจัยอันดับแรกๆ เมื่อเราต้องเลือกซื้อประตูรั้ว เพราะรั้วบ้านเป็นสิ่งที่จะอยู่คู่บ้านของเราไปอีกหลายสิบปี เราจึงควรเลือกรั้วที่ใช้งานได้ยาวนาน

หลายคนอาจเข้าใจว่า เหล็กนั้นทนทานกว่าอะลูมิเนียม แต่จริงๆ แล้วอะลูมิเนียมสามารถรับน้ำหนักได้สูง ไม่โก่งงอ และที่สำคัญคือไม่เป็นสนิม เพราะทนต่อการกัดกร่อน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสนิมเหล็ก

ในขณะที่เหล็กนั้น หากใช้ไปนานๆ เหล็กจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ซึ่งจะทำให้เกิดสนิม จึงจำเป็นต้องทาน้ำยากันสนิม ซึ่งอาจไม่มีประสิทธิภาพ และยังมีโอกาสเกิดสนิมได้อยู่ โดยรวมแล้ว รั้วอะลูมิเนียมจึงดีกว่าทั้งด้านความแข็งแรงและทนทาน

ความแตกต่าง รั้วอะลูมิเนียม VS รั้วเหล็กกล่อง

น้ำหนัก

การเลือกวัสดุประตูรั้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของ น้ำหนัก ซึ่งวัสดุต่างๆ ก็มีน้ำหนักที่แตกต่างกัน หากประตูรั้วที่ต้องใช้การเลื่อนเปิดปิด อาจต้องพิจารณาถึงขนาดของประตูด้วย เพราะถ้าหากเราเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักมากก็อาจใช้งานยาก สำหรับอะลูมิเนียม ถือเป็นโลหะที่มีความหนาแน่นน้อย น้ำหนักเบา หากเปรียบเทียบกับเหล็กแล้ว อะลูมิเนียมมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของเหล็กเท่านั้น

ในขณะที่เหล็กจะมีน้ำหนักมาก ซึ่งหากบ้านไหนทำประตูที่มีขนาดใหญ่ ก็ควรเลือกใช้อะลูมิเนียมมากกว่า เพราะสะดวกต่อการใช้งานของทุกคนในครอบครัว

ความแตกต่าง รั้วอะลูมิเนียม VS รั้วเหล็กกล่อง

ความปลอดภัย

ประตูรั้วที่ดีจะต้องป้องกันอันตรายจากภายนอกบ้าน และยังต้องปลอดภัยต่อการใช้งานของคนในบ้านด้วย เพราะบ้านหนึ่งหลังอาจมีสมาชิกอยู่กันหลายคน ตั้งแต่เด็กน้อยไปจนถึงผู้สูงอายุ หากประตูรั้วไม่มั่นคงแข็งแรง หรือใช้งานยาก ก็อาจเกิดอันตรายได้

อย่างที่ได้กล่าวถึงเรื่องความแข็งแรงทนทานและน้ำหนักของวัสดุไปแล้ว จะเห็นว่า รั้วอะลูมิเนียมจะมีน้ำหนักเบากว่า จึงสะดวกในการใช้งานมากกว่าราคา

ความแตกต่าง รั้วอะลูมิเนียม VS รั้วเหล็กกล่อง

ราคา

ส่วนสุดท้ายคือเรื่องของราคา ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญสำหรับเจ้าของบ้าน เพราะใครๆ ก็อยากได้สินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม สำหรับอะลูมิเนียมนั้นมีราคาสูงกว่าเหล็กพอสมควร ด้วยคุณสมบัติที่ทนทาน ไม่เป็นสนิม และน้ำหนักที่เบา ซึ่งเกิดจากกรรมวิธีที่ซับซ้อน อะลูมิเนียมจึงมีราคาสูง แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาในส่วนของการป้องกันสนิม และยังให้อายุการใช้งานที่ยาวนาน

ในขณะที่เหล็กนั้นแม้จะมีราคาถูก แต่ก็ต้องเสียค่าป้องกันสนิม และค่าบำรุงรักษาเมื่อใช้ไปนานๆ ดังนั้น หากเปรียบเทียบกับราคาแล้วก็ถือว่าอะลูมิเนียมเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง

ยิ่งถ้าหากประตูรั้วอะลูมิเนียมมีการเสริมความปลอดภัยด้วยฟังก์ชันต่างๆ เช่น การเลือกใช้ลูกล้อและรางสเตนเลสสตีลที่มีความทนทาน, มีตัวหยุด (Stopper) บานเลื่อน และมีตัวประคองบานสำหรับบังคับบานให้ตั้งตรงและป้องกันการล้ม อย่างรั้วและประตูรั้วจากทอสเท็ม ก็จะยิ่งปลอดภัยมากขึ้นด้วย


หากใครสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย