fbpx

คุยกับคุณยู Co Temporary กับผู้ออกแบบพื้นที่ใหม่ จากรากฐานเดิม Baan 986

Baan 986 ตั้งอยู่บนพื้นที่ย่านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ภายใต้บรรยากาศอบอุ่น ด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมเรียบๆ แต่มีสไตล์จากการดีไซน์หลังคาที่ได้ซ่อนลูกเล่นของระแนงไม้ ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์แสงเงาอันน่าสนใจ รวมถึงการสร้างลวดลายลงบนผนัง โดยการพ่นสีเทกเจอร์ โทนน้ำตาล ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับบ้านได้เป็นอย่างดี

วันนี้ TOSTEM ขอพาไปสำรวจแนวคิดการออกแบบ กับ คุณยู – พิเศษ อิศรางกูร ณ อยุธยา จากบริษัท CO Temporary Architects สถาปนิกผู้เนรมิตพื้นที่ใหม่ จากฐานรากบ้านเดิมให้กลายเป็นสเปซสำหรับสมาชิกในครอบครัว ทั้งยังเติมเต็มดีไซน์ด้วยการใช้ประตูและหน้าต่างคุณภาพสูงรุ่น WE 70 จาก #TOSTEM ที่ช่วยให้การใช้งานไปเป็นอย่างสมบูรณ์แบบ

สำหรับพื้นที่ชั้นล่าง ทางสถาปนิกได้ออกแบบ โดยให้ความสำคัญกับการจัดความสัมพันธ์ของพื้นที่ภายใน เพื่อขยายพื้นที่ใช้สอย ลักษณะจะเป็นแบบเปิดโล่ง ทั้งโซนนั่งดูโทรทัศน์ โซนนั่งเล่นชั้นลอย หรือเดินไปยังห้องรับประทานอาหาร พื้นที่ก็เชื่อมโยงกันทั้งหมด หรือแม้เจ้าของบ้านอยู่ในห้องนอนชั้นบนก็สามารถมองเห็นบรรยากาศด้านล่างได้ด้วยเช่นกัน

รวมถึงได้เลือกใช้กรอบอะลูมิเนียมหน้าต่าง จาก TOSTEM ที่ผ่านกระบวนการชุบสีด้วยประจุไฟฟ้า พร้อมชั้นเคลือบพิเศษ TEXGUARD ซึ่งทำให้ผิวสัมผัสเรียบเนียน มีความคงทน และทำให้สีอะลูมิเนียมสวยงามอย่างมีมิติ ซึ่งเข้ากับบรรยากาศอันอบอุ่นของบ้านอย่างลงตัว

ในส่วนของห้องรับประทานอาหาร ถือว่าเป็นสเปซใหญ่ของบ้านทั้งสองหลัง ที่ทุกคนในบ้านสามารถมาใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งถูกออกแบบเชื่อมต่อพื้นที่ ด้วยประตูหน้าต่างบานเลื่อน รุ่น #WE70 ของ #TOSTEM ที่มาช่วยเพิ่มมิติของการมองเห็นที่กว้าง ช่วยให้พื้นที่สมูท และช่วยเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่นๆ ของบ้าน ให้ห้องมีกว้างขวางขึ้น ขณะเดียวกันก็สร้างความเป็นส่วนตัวได้เมื่อต้องการ 

คุณยู ยังได้บอกถึงหลักการการเลือกใช้ประตูหน้าต่างสำหรับ Baan 986 ให้ทราบว่า “การเลือกประตูหน้าต่างของบ้านหลังนี้ อันดับแรกคือการใช้งาน เพราะเจ้าของบ้านค่อนข้างมีอายุมาก และเป็นคนชอบเปิดหน้าต่าง แต่ประเด็นคือหน้าต่างเดิม เป็นบานเปิดธรรมดาทั่วไป ซึ่งเจ้าของบ้านเล่าว่ากว่าจะเปิดปิดใช้เวลานาน ทางเราก็เลยเลือกเป็นบานเลื่อน ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานของเจ้าของบ้านได้ดี ทั้งในแง่การใช้งานที่เปิดง่าย และมีน้ำหนักเบา”

นอกจากนี้ อีกมุมของผนังยังมีการออกแบบช่องแสงเพิ่มอีกบาน ทำให้ห้องดูไม่อึดอัด โดยความน่าสนใจ คือ #WE70 กรอบบานหน้าต่างแบบหล่อติดผนัง ถูกดีไซน์มาอย่างเรียบหรู พร้อมตัวล็อกแบบก้านโยกอันเป็นเอกลักษณ์ของ TOSTEM ที่ช่วยปิดหน้าต่างอย่างแนบสนิทกันเสียงรบกวนจากภายนอก และป้องกันอากาศรั่วไหล ตอบโจทย์กับพื้นที่และการใช้งานได้เป็นอย่างดี

บริเวณชั้นสองของบ้าน ประกอบไปด้วย โซนนั่งเล่น และห้องนอนขนาดใหญ่ที่มีห้องน้ำในตัว ซึ่งตลอดทางเดินของชั้นสอง จะมีช่องแสงเป็นระยะตลอดทาง รวมถึงในส่วนของห้องนอน ก็มีการออกแบบประตูหน้าต่าง ที่คำนึงถึงแสง การเปิดรับอากาศ และความปลอดภัย เพื่อรองรับการใช้งานของเจ้าของที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งทางสถาปนิกเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จาก #TOSTEM ที่ตอบโจทย์ทั้งแง่ดีไซน์ การใช้งานและความปลอดภัย


“จากโจทย์ที่เจ้าของบ้านอยากได้ห้องนอนใหญ่ และยังอยากเห็นความเคลื่อนไหวเมื่อมีคนเข้าออกบ้าน เราเลยออกแบบห้องนอนให้รายล้อมด้วยผนังกระจกกั้นทั้งหมด เพราะฉะนั้นจะสามารถมองเห็นคนในบ้าน”

“เรื่องประตูหน้าต่าง หรือช่องแสง ถือว่าเป็นไฮไลท์ของบ้าน โดยช่องแสงของบ้านที่เชื่อมต่อกับภายนอก เราใช้เป็นตัวหน้าต่างไซส์เดียวกันทั้งหมด แต่ออกแบบจัดวางแบบเว้นจังหวะ ซึ่งประเด็นก็คือจังหวะพวกนี้ถูกสอดแทรกอยู่ในสเปซทั้งหมดของบ้าน ตั้งแต่ ห้องนั่งเล่น ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนอนที่สอง รวมถึงไม่เฉพาะข้างหน้าบ้าน แต่ข้างหลังก็มีจังหวะของช่องแสง ที่เราออกแบบให้เชื่อมต่อกัน ฉะนั้นเรื่องของการเปิดรับอากาศ แสง ลม อากาศก็จะไหลลื่นมากขึ้น” คุณยู อธิบายถึงแนวคิดการออกแบบช่องแสงทั้งหมดภายในบ้าน 

“จากตอนแรกที่เราได้รับโจทย์มา คือห้อง Master Bedroom แต่หลังจากที่ทีมเข้ามาคุยกับเจ้าของบ้าน ทางเรามีใส่ความสัมพันธ์ของการมองเห็น เพราะว่าเจ้าของบ้านต้องการรับรู้ว่าใครอยู่ในบ้านบ้าง ใครไป ใครมา เพราะฉะนั้นหลักการออกแบบแรกของเราคือ Open Plan การจัดบ้านแบบเปิดโล่ง เชื่อมต่อพื้นที่ภายในบ้านเข้าไว้ด้วยกัน แล้วทำให้ทุกจุดของบ้านมองเห็นซึ่งกันและกัน รวมถึงเราพยายามทำให้ Master Bedroom มองเห็นจากส่วนอื่นด้วย” คุณยู Co Temporary Architects พูดถึงแนวคิดหลักของการออกแบบพื้นที่ภายใน

สำหรับโทนสีของบ้าน ถูกเติมเต็มด้วยเฟอร์นิเจอร์โทนสีอ่อนและสีเอิร์ธโทน พร้อมกับเพิ่มความน่าสนใจด้วยการเลือกใช้ผนังสีขาว ช่วยให้บรรยากาศดูเป็นกันเองมากขึ้น ทั้งยังช่วยให้พื้นที่ของบ้านดูแล้วอบอุ่น ละมุนตา ซึ่งเป็นรูปแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ

โดย คุณยู ได้เล่าถึงมู้ดแอนด์โทนของบ้านให้ฟังเพิ่มเติมว่า “เรื่องโทนสี อ้างอิงจากเจ้าของบ้านที่ชอบความเป็นไม้ แต่คุณป้าก็ยังไม่อยากใช้ไม้จริงขนาดนั้น เพราะไม้จริงดูแลรักษายาก เพราะฉะนั้นเราก็เลยเอาหลักการไม้เข้ามา แล้วพยายามแปลงเฉดของไม้ เป็นโทนสีน้ำตาล โดยเอามาไล่ผ่านเฉดสีต่างๆ เช่น ผนังเทกเจอร์หน้าบ้าน เราก็ใช้เป็นสีน้ำตาล หรืองานกระเบื้อง มู้ดแอนด์โทน ก็จะเป็นสีเทา สีน้ำตาล ก็คือยังเป็นเฉดใกล้ๆ กัน”

นอกจากที่สถาปนิกได้ออกแบบบ้าน Baan 986 โดยเน้นเรื่องการเชื่อมต่อทางพื้นที่เป็นหลัก ทางสถาปนิกยังออกแบบให้ฟอร์มของหลังคาบ้านสอดคล้องกับหลังคาเก่าอีกหลัง บวกกับออกแบบช่องแสงที่จะเข้ามาภายในบ้านจากหลังคานี้อีกด้วย ซึ่งจุดนี้นับว่าเป็นไฮไลท์สำคัญที่เพิ่มมิติให้กับตัวบ้านได้เป็นอย่างดี


สเปซที่ว่านี้จะอยู่บริเวณชั้นสอง ถูกออกแบบมาให้เป็นแหล่งรวมความสุข ด้วยการจัดวางพื้นที่เป็นโซนนั่งเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับความสวยงามของแสงเงาที่เกิดจากการเรียงตัวของระแนงไม้ที่เป็นจังหวะเดียวกัน เรียกว่าเป็นการเล่นแสงที่ทำให้บ้านดูโปร่งสบายและไม่อึดอัด แถมยังช่วยเปิดรับแสงธรรมชาติจากภายนอก ทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นจุดที่ทั้งน่าอยู่และน่าสนใจมากๆ เลยทีเดียว