การเลือกใช้ประตูและหน้าต่างที่มีการออกแบบที่ประหยัดพลังงาน ไม่เพียงช่วยลดค่าใช้จ่าย แต่ยังช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนมากขึ้น บทความนี้ TOSTEM ขอรวบเอาทริคดีๆ เกี่ยวกับการเลือกหน้าต่างประหยัดพลังงานและประตูที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นอีกทางที่ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกอนาคตที่ยั่งยืนของโลกไปพร้อมกัน
ทริคติดตั้งประตูหน้าต่าง ให้ประหยัดพลังงาน
เมื่อเราพูดถึงการออกแบบที่มีประสิทธิภาพทางพลังงานสำหรับประตูและหน้าต่าง สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ การใช้วัสดุที่มีฉนวนที่ดี ด้วยการเลือกวัสดุที่มีการฉนวนที่ดี เช่น อะลูมิเนียมหรือพลาสติกที่ทนทานต่ออุณหภูมิ เพื่อช่วยในการรักษาอุณหภูมิในบ้าน ทำให้บ้านประหยัดพลังมากมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงคำนึงถึง การติดตั้งประตูหน้าต่างอย่างถูกต้อง จะช่วยทำให้ระบบประหยัดพลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ระบบล็อก ที่มีประสิทธิภาพ หนาแน่น เพื่อลดการสูญเสียพลังงานที่ไม่จำเป็น
ส่วนรูปแบบหน้าต่างที่ช่วยประหยัดพลังงานได้ดี คือ หน้าต่างบานติดตาย (fixed-pane window) หรือ หน้าต่างบานกระทุ้ง ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีเช่นเดียวกัน เนื่องจากช่วยลดการรั่วซึมของอากาศ แต่ทั้งนี้การติดตั้งหน้าต่างจะต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ สามารถติดตั้งให้ตรงมาตรฐาน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานที่สมบูรณ์
สำหรับประตู ควรเลือกเป็นประตูเหล็ก ประตูไฟเบอร์กลาส หรือประตูอะลูมิเนียม เพราะเป็นวัสดุที่แข็งแรง และช่วยประหยัดพลังงานได้ด้วย มากกว่านั้นคือประตูเหล่านี้จะไม่บิดงอหรือแตกร้าวง่าย ทำให้ป้องการรั่วไหลอากาศได้ดีนั่นเอง
วิธีการเลือกวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตประตูหน้าต่าง นับว่าเป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง เช่น อะลูมิเนียมหรือกระจก เพราะนอกจากจะช่วยลดการใช้วัสดุใหม่ ยังช่วยลดการสร้างขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ที่จะมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยวัสดุรีไซเคิลมีคุณสมบัติที่น่าสนใจ ดังนี้
1. ช่วยลดการใช้พลังงาน
การรีไซเคิล เป็นอีกวิธีในการช่วยลดการใช้พลังงานและวัตถุดิบในการผลิต ไม่สิ้นเปลืองทั้งน้ำมันและพลังงาน ส่งผลให้การใช้พลังของโลกเป็นไปอย่างคุ้มค่ามากขึ้น และช่วยเรื่องการจัดการขยะ เพราะยิ่งขยะถูกนำไปรีไซเคิลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยลดปริมาณขยะ รวมถึงมลพิษที่เกิดจากขยะ ก็จะลดลงตามไปนั่นเอง
2. มีความทนทาน
การรีไซเคิล เช่น รีไซเคิลวัสดุก่อสร้างนั้นต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดออกจากกันก่อนนำวัสดุชนิดเดียวกันไปหลอมรวมใหม่ หรือนำวัสดุต่างชนิดมาประกอบกัน เพื่อให้เกิดวัสดุใหม่ที่มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น เช่น การรีไซเคิลเศษแก้วกับวัสดุอื่นๆ อย่างหินปูนและสารต่างๆ เพื่อรีไซเคิลเป็นวัสดุใหม่ อย่าง ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
3. ช่วยลดการใช้สารเคมี
วัสดุรีไซเคิลไม่ต้องการการใช้สารเคมีมากมาย ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตได้
ฉะนั้นการเลือกใช้ประตูและหน้าต่างที่มีการออกแบบที่ประหยัดพลังงาน เป็นอีกการลงมือทำที่เห็นผลได้จริง ทั้งในแง่การลดการใช้พลังงาน และการลดรายจ่ายในการดูแลบ้านของเราเองในอนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยโลกตั้งเเต่ต้นทางการผลิตในอุตสาหกรรม เพราะตระหนักถึงสิ่งเเวดล้อมเกิดขึ้นมากมาย มากกว่านั้นยังใส่ใจไปถึงวัสดุในการนำมาใช้ ด้วยการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิล สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่าง PremiAL R100 จาก TOSTEM ที่ได้คิดค้นและผลิตวัสดุที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในเป้าหมายการมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนของ TOSTEM มาโดยตลอด
PremiAL R100 ทำจากอะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% ผลิตที่โรงงานทอสเท็มไทย ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนครได้รับการรับรองจากฉลากสิ่งแวดล้อม EcoLeaf และ JIC Quality Assurance Ltd. โดยมีการตรวจสอบกระบวนการผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 100% และไม่มีอะลูมิเนียมใหม่มาเจือปน ซึ่งการใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิลนี้ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 97% เมื่อเทียบกับการถลุงอะลูมิเนียมใหม่
นอกจากนี้ PremiAL R100 นวัตกรรมประตู-หน้าต่างรักษ์โลก โดย LIXIL HOUSING TECHNOLOGY ภายใต้แบรนด์ TOSTEM ยังสามารถเลือกสีได้ตามต้องการ ซึ่งมีคุณภาพเหมือนอะลูมิเนียมใหม่ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัมผัส สีสัน หรือรูปแบบต่างๆ ที่ถูกออกแบบอย่างตั้งใจ เพื่อผสานความลงตัวระหว่างการใช้งาน สไตล์ และความยั่งยืนเข้าหากันอย่างไร้เส้นแบ่ง
PremiAL R100 จึงไม่ใช่แค่อะลูมิเนียมรีไซเคิลทั่วไป แต่เป็นวัสดุแห่งอนาคต ด้วยคุณสมบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าการใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิลจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Scope 3 ลงได้ถึง 30% ภายในปี 2031 ซึ่งเป็นอีกก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน สำหรับผู้สนใจสินค้า สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์ท้ายบทความ