ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

เมื่อก้าวเข้าสู่ฤดูฝนหลายๆ คนอาจกังวลความปลอดภัยของบ้าน โดยเฉพาะการรั่วซึมจากฝนที่นำมาสู่สารพัดปัญหาภายในบ้าน ทั้งทำให้ตัวอาคารเสียหาย ก่อให้เกิดความชื้นและเชื้อราสะสม ซึ่งส่งผลอันตรายต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัย รวมถึงความอยู่สบายของบ้าน วันนี้เราจึงชวนทุกคนมาแก้ต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ ด้วยไอเดียการออกแบบบ้านป้องกันฝนที่เรานำมาฝากกัน

ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

ยื่นระยะชายคาออกไปให้เพียงพอ

การจะรับมือกับฤดูฝนให้อยู่หมัดได้ต้องมีเกราะป้องกันที่ดี โดยเฉพาะ ‘หลังคาบ้าน’ ปราการด่านแรกที่เผชิญกับแดด ลม ฝนโดยตรง ซึ่งหลังจากที่เลือกรูปแบบหลังคาให้เหมาะสมกับสไตล์ของตัวบ้านเรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องคำนึงเสมอคือ ‘ระยะชายคา’ ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันฝนสาดและช่วยสร้างร่มเงาให้กับตัวบ้าน โดยระยะยื่นชายคาที่เหมาะสมสำหรับบ้านในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น คือ 1.00-1.20 เมตร ซึ่งเป็นระยะชายคาที่ป้องกันฝนได้ดี และโครงสร้างหลังคาทั่วไปสามารถรับน้ำหนักได้ โดยไม่ต้องเสริมโครงสร้างค้ำยันเพิ่ม แต่ในขณะเดียวกันการเสริมค้ำยัน เพื่อที่จะยื่นระยะชายคามากกว่า 1.20 เมตร ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฝนและแดดแล้ว เรายังสามารถออกแบบพื้นที่ใต้ชายคา ให้เป็นระเบียงสำหรับนั่งพักผ่อนหรือใช้สอยอเนกประสงค์ก็ได้

ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

ติดตั้งรางน้ำฝนบนหลังคา

‘รางน้ำฝน’ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะมาเสริมทัพให้ชายคาสามารถป้องกันฝนได้ดียิ่งขึ้น โดยรางน้ำฝนจะทำหน้าที่รองรับน้ำฝนจากแนวชายคา ให้ไหลลงตามท่อหรือโซ่ระบายน้ำฝนมายังจุดที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันรางน้ำฝนได้ถูกออกแบบด้วยหลากหลายวัสดุ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานและรูปแบบหลังคาที่แตกต่างกัน โดยแบ่งหลักๆ เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ‘รางน้ำฝนโลหะ’ ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทานสูง มีน้ำหนักเบา และมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวยาวต่อเนื่องไร้รอยต่อ ทำให้ช่วยลดปัญหารั่วซึมได้ และ ‘รางน้ำฝนวัสดุสังเคราะห์’ อย่างไฟเบอร์กลาสหรือไวนิล ซที่มีความคงทนสูง สวยงาม และมีอายุการใช้งานยาวนาน

ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

เสริมเกราะป้องกันอีกชั้นด้วยฟาซาดอาคาร

นอกจากจะป้องกันฝนจากด้านบนแล้ว ก็อย่าลืมป้องกันในบริเวณด้านข้างด้วย เพราะเมื่อมีแรงลมพัดปะทะมายังตัวบ้าน จะทำให้ทิศทางของฝนเกิดเบี่ยงเบนและสาดเข้ามายังผนังด้านข้างได้ ดังนั้นจึงควรออกแบบเปลือกอาคารหรือฟาซาด ให้มี Double-Skin เพื่อช่วยเสริมเกราะป้องกันอีกชั้น รวมถึงสร้างความสวยงามให้กับหน้าตาอาคารได้หลายรูปแบบ เช่น ระแนงไม้โปร่ง, ผนังอิฐบล็อกช่องลม หรือแผงอะลูมิเนียมฉลุลาย เป็นต้น

ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

เลือกประตู-หน้าต่างที่เหมาะสมกับทุกสภาพอากาศ

ประตู-หน้าต่าง ถือเป็นหัวใจสำคัญของบ้าน ที่นอกจากจะคำนึงถึงคุณสมบัติการเปิดรับลมธรรมชาติ, การระบายอากาศ, ความสวยงามของบานกรอบที่เข้ากับสไตล์บ้าน และการเชื่อมต่อบรรยากาศภายในบ้านกับธรรมชาติด้านนอกอย่างต่อเนื่องแล้ว อีกคุณสมบัติที่ต้องให้ความสำคัญคือ ‘ประสิทธิภาพการป้องกันรั่วซึมจากฝน’ ซึ่งประตู-หน้าต่างของ TOSTEM ก็ได้มีการออกแบบให้รับมือกับฤดูฝนได้อยู่หมัด ไม่ว่าจะมีพายุหรือฝนตกหนักก็สามารถปกป้องภายในบ้านได้อย่างปลอดภัย ด้วยประสิทธิภาพการต้านทานน้ำฝนที่เกิดจากแรงดันลม หรือ Water Tightness ที่ผ่านการทดสอบด้วยมาตรฐาน JIS จากญี่ปุ่นและมาตรฐาน ASTM จากสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญมีการออกแบบโปรไฟล์กรอบล่าง ให้มีวาล์วระบายน้ำติดตั้งในทุกรุ่น และมีระบบป้องกันน้ำ 2 ชั้นในรุ่น GRANTS ที่ช่วยให้น้ำฝนไม่เอ่อล้นและไหลรั่วซึมเข้ามาตามรอยต่อของบานกรอบประตู-หน้าต่าง

ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

ปลูกต้นไม้เป็นเกราะป้องกันอันแสนสบายตา

ไม่เพียงแค่องค์ประกอบของบ้านเท่านั้นที่จะรับมือกับฝนได้ แต่หากปลูกต้นไม้ให้ถูกวิธีก็สามารถป้องกันฝนได้เช่นกัน โดยการจะปลูกต้นไม้ที่ดีนั้น เราควรเลือกใช้พืชพรรณหลากหลายระดับ ทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่มสูง ไม้พุ่มเตี้ย และพืชคลุมดิน จัดวางประกอบกัน เพื่อทำให้สวนของเราสามารถรับมือกับฝนได้ทุกองศา ทุกทิศทาง พร้อมทั้งช่วยสร้างความหลากหลายในธรรมชาติ ทำให้บ้านดูร่มรื่นสบายตา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่น ปลูกต้นปีป ซึ่งเป็นไม้ยืนต้น ร่วมกับรั้วต้นไทรเกาหลี (ไม้พุ่มสูง), ต้นลิ้นมังกร (ไม้พุ่มเตี้ย) และหนวดปลาดุกแคระ (ไม้คลุมดิน) เป็นต้น

ออกแบบบ้านอย่างไรให้รับมือกับฝนได้อยู่หมัด

เพียงเท่านี้บ้านของเราก็สามารถผ่านฤดูฝนได้อย่างปลอดภัย และหากใครต้องการเสริมความมั่นใจให้กับบ้าน ด้วยประตู-หน้าต่าง TOSTEM ที่สามารถรับมือกับทุกวิกฤตสภาพอากาศ พร้อมตอบโจทย์การใช้งานและเข้าได้กับดีไซน์บ้านทุกสไตล์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่


หากใครสนใจสินค้า TOSTEM สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีปุ่มด้านบนเลย!